3. ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ และให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
คณะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการบริหารความเสี่ยง (5.2 – 3(1)) ประกอบด้วยคณบดี รองคณบดี ประธานหลักสูตร ตัวแทนอาจารย์ หัวหน้าสำนักงาน และเจ้าหน้าที่ คณะ ทำหน้าที่วิเคราะห์และระบุความเสี่ยง ประเมินโอกาสและผลกระทบ โดยมีการประชุมเพื่อทำการวิเคราะห์ความเสี่ยง ตามรูปแบบการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จำแนกปัจจัย ความเสี่ยงตามเป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัย จากนั้น คณะมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรมควบคุมความเสี่ยง (รอบ 6 เดือน) มาจัดทำรายงานนำเสนอ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะในการประชุมครั้งต่อไป เพื่อนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำคณะ มาปรับใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงคณะ ในปีต่อไป
ตามมติที่ประชุมเห็นชอบประเด็นความเสี่ยง จำนวน 5 ประเด็น ซึ่งได้ดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในดังนี้
3.1 ปัจจัยภายนอก ได้แก่ จำนวนนักศึกษามีแนวโน้มลดลงและไม่เป็นไปตามแผนการรับสมัครนักศึกษาที่วางไว้
3.2 ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) บทความวิจัยบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 มีน้อย 2) นักวิจัยหน้าใหม่ขาดความชำนาญในการยืนขอทุนวิจัยภายนอกและการตีพิมพ์ 3) บุคลากรขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. 4) งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรลดลง
จากการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ ดังนี้
3.1 ปัจจัยภายนอก ได้แก่ จำนวนนักศึกษามีแนวโน้มลดลงและไม่เป็นไปตามแผนการรับสมัครนักศึกษาที่วางไว้
เป้าหมาย
ปัจจัยเสี่ยงด้านจำนวนนักศึกษามีแนวโน้มลดลงและไม่เป็นไปตามแผนการรับสมัครนักศึกษาที่วางไว้ มีระดับความเสี่ยงลดลง
ตัวชี้วัด
จำนวนนักศึกษาเป็นไปตามแผนการรับสมัครนักศึกษาที่วางไว้
ระบบและกลไก
คณะกรรมการบริหารคณะฯ ได้พิจารณาดำเนินการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาตามระบบและกลไกตามประกาศของมหาวิทยาลัย ซึ่งคณะฯ มีระบบและกลไกในการประชาสัมพันธ์ในการรับนักศึกษา ดังนี้
1. คณะฯ มีการประชุมเพื่อแจ้งให้แต่ละหลักสูตรกำหนดเป้าหมายการรับนักศึกษา โดยให้แต่ละหลักสูตรพิจารณาตามข้อกำหนดใน มคอ.2 และข้อกำหนดอื่น ๆ ได้แก่ ความต้องการของตลาดแรงงาน สัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษา และคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ
2. คณะฯ มอบหมายให้แต่ละหลักสูตรเสนอกลุ่มนักศึกษาเป้าหมาย โรงเรียนเป้าหมาย ให้กับคณะกรรมการบริหารคณะฯ โดยให้พิจารณาผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2561 มาปรับใช้
3. คณะฯ ร่วมกับแต่ละหลักสูตรและมหาวิทยาลัย ดำเนินการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษา รายละเอียดของหลักสูตร ให้มีการระบุรายละเอียดการรับสมัคร ซึ่งคณะฯ และหลักสูตรทำการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ โดยคณะฯ ทำการดูแลกำกับและติดตามผล
4. คณะฯ มอบหมายให้แต่ละหลักสูตรสำรวจความพึงพอใจและข้อคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อระบบการรับนักศึกษาและการประชาสัมพันธ์ โดยคณะฯ ทำการดูแลกำกับและติดตามผล
5. คณะฯ มอบหมายให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทบทวน/ประเมินกระบวนการรับนักศึกษา การประชาสัมพันธ์ เปรียบเทียบผลที่ได้กับแผนการรับนักศึกษาและคุณสมบัติที่หลักสูตรกำหนด โดยคณะฯ ทำการดูแลกำกับและติดตามผล
6. คณะฯ มอบหมายให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนำผลการทบทวนการดำเนินงานมาพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการรับนักศึกษา พร้อมทั้งเสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะฯ เพื่อทำการร่วมกันพัฒนาปรับปรุงต่อไป
จากการทบทวนกระบวนการรับนักศึกษาในปี การศึกษา 2561 ที่ผ่านมา พบว่า จำนวนนักศึกษาที่รายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2562 นั้นมีจำนวน 285 คน จากแผนรับทั้งหมด 490 คน คิดเป็นร้อยละ 58.16 ตามหลักฐานที่ 5.2 – 3(2) ซึ่งไม่เป็นไปตามแผนการรับนักศึกษา จึงได้ปรับกลยุทธ์ในการรับนักศึกษาใหม่ ดังนี้
การนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2562 ได้ดำเนินการตามแผนและกระบวนการประชาสัมพันธ์การรับนักศึกษาโดยมีการนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้
1. คณะฯ เสนอแผนรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 ต่อสภามหาวิทยาลัย ซึ่งมีแผนรับ จำนวน 320 คน (5.2 – 3(3))
2. คณะฯ ร่วมกับแต่ละหลักสูตรและมหาวิทยาลัย ดำเนินการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษา รายละเอียดของหลักสูตร ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่
1) การแนะแนวการศึกษายังสถานศึกษา หมู่บ้าน และชุมชนเป้าหมาย โดยให้ทุกสาขาวิชามีส่วนร่วม โดยเชิญอาจารย์และนักเรียนเข้าร่วม เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัย (5.2 – 3(4))
2) การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ เช่น Facebook Fanpage คณะฯ / สาขาวิชา LINE เป็นต้น
3) การสร้างเครือข่ายครูแนะแนวให้เข้มแข็ง โดยให้แต่ละหลักสูตรดำเนินการติดต่อครูแนะแนว อย่างน้อยสาขาละ 2 คน
4) จัดโครงการ/กิจกรรม: เปิดบ้านเพื่อการศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (OPEN HOUSE) เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร
5) จัดโครงการบริการวิชาการให้กับโรงเรียนและชุมชน เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สาขาวิชา คณะ มหาวิทยาลัย
3. คณะฯ กำกับ ติดตามแต่ละหลักสูตร โดยให้หลักสูตรเสนอผลสำรวจความพึงพอใจและข้อคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อระบบการรับนักศึกษาและการประชาสัมพันธ์ ต่อคณะกรรมการบริหารคณะฯ เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงต่อไป
4. คณะฯ กำกับ ติดตามแต่ละหลักสูตร ให้ทบทวน/ประเมินกระบวนการรับนักศึกษา การประชาสัมพันธ์ เปรียบเทียบผลที่ได้กับแผนการรับนักศึกษาและคุณสมบัติที่หลักสูตรกำหนด
5. คณะกรรมการบริหารคณะฯ นำผลการทบทวนการดำเนินงานมาพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการประชาสัมพันธ์การรับนักศึกษา เพื่อทำการร่วมกันพัฒนาปรับปรุงต่อไป
การประเมินกระบวนการ
จากการที่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เชิงรุก การจัดกิจกรรมบริการวิชาการ และการกิจกรรมร่วมกับนักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายแล้วนั้นยังส่งผลให้จำนวนนักศึกษาในปีการศึกษา 2563 มีจำนวน 208 คน จากแผนรับทั้งหมด 320 คน คิดเป็นร้อยละ 65 ตามหลักฐานที่ 5.2 – 3(2) มีสัดส่วนร้อยละความสำเร็จที่มากขึ้น เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2562 (5.2 – 3(5)) แต่หากพิจารณาจากจำนวนนักศึกษาใหม่ก็ถือว่าลดลง สาเหตุอาจเกิดจากจำนวนประชากรในวัยเรียนมีจำนวนที่ลดลง และมีสถาบันการศึกษาในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่คณะไม่สามารถควบคุมได้
การปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ
จากการสอบถามนักศึกษาใหม่ พบว่า การตัดสินใจมาเรียนในสาขาต่าง ๆ นั้น ส่วนใหญ่ได้รับคำแนะนำจากรุ่นพี่ ผู้ปกครอง และครูแนะแนว ดังนั้นในปีการศึกษา 2562 คณะฯ จึงได้ทำการแนะแนว โดยมีการนำรุ่นพี่ที่จบจากโรงเรียนนั้น ๆ ทำการแนะแนวในโรงเรียนที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา นอกจากนี้ ในการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ได้ทำการเลือกกลุ่มเป้าหมาย ในช่วงอายุ 15 – 60 ปี เพื่อให้ผู้ปกครองมองเห็นโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้มากขึ้น
3.2 ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) บทความวิจัยบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 มีน้อย 2) นักวิจัยหน้าใหม่ขาดความชำนาญในการยืนขอทุนวิจัยภายนอกและการตีพิมพ์ 3) บุคลากรขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. 4) งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรลดลง 5) จำนวนงบประมาณสนับสนุนการวิจัยไม่เพียงพอ 6) บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนในกฎระเบียบ ข้อบังคับได้ทันตามกำหนดระยะเวลา
1) บทความวิจัยบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 มีน้อย
เป้าหมาย
ปัจจัยเสี่ยงด้านบทความวิจัยบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 มีน้อย มีระดับความเสี่ยงลดลง
ตัวชี้วัด
จำนวนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ในฐาน TCI 1 และ TCI 2 ร้อยละ 10
ระบบและกลไก
คณะกรรมการบริหารคณะฯ ได้พิจารณา จำนวนบทความวิจัยบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 ซึ่งคณะฯ มีระบบและกลไก ดังนี้
1. คณะกรรมการบริหารคณะฯ มีการประชุมเพื่อสำรวจจำนวนบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 รวมถึงมีการวางแผนการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยนำคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิมาปรับใช้
2. คณะกรรมการบริหารคณะฯ มีการประชุมเพื่อแจ้งให้อาจารย์ประจำหลักสูตรต้องมีผลงานทางวิชาการภายใน 5 ปี ย้อนหลังอย่างน้อย 1 รายการ
3. คณะฯ มีการจัดโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2
4. คณะฯ มีการประสานงาน จัดหาเครือข่าย วารสาร ต่าง สำหรับตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการ และดำเนินการประชาสัมพันธ์ต่อคณาจารย์ผ่านช่องทางต่าง ๆ
5. คณะฯ มีการส่งเสริมและให้รางวัลกับนักวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
6. คณะฯ มีการส่งเสริมให้มีพี่เลี้ยงในการคัดกรองบทความวิจัยและเสนอแนะในการเขียนบทความทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
7.คณะฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัย จัดสรรงบประมาณสำหรับนักวิจัยที่ต้องการตีพิมพ์
การนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2562 ได้ดำเนินการตามแผน โดยมีการนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้
1. คณะฯ จัดทำแบบสำรวจจำนวนบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 ผ่าน Google Sheet ซึ่งพบว่าในปี 2561 มีบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 จำนวน 15 คน (5.2 – 3(6))
2. คณะกรรมการบริหารคณะฯ มีการประชุมเพื่อแจ้งให้อาจารย์ประจำหลักสูตรต้องมีผลงานทางวิชาการภายใน 5 ปี ย้อนหลังอย่างน้อย 1 รายการ
3. คณะฯ มีการจัดโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 โดยจัดโครงการดังนี้
1) โครงการพัฒนาบุคลากร (การพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐาน ระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558) (5.2 – 3(7))
2) โครงการการจัดการความรู้ การเสริมสร้างสมรรถภาพด้านการวิจัย (5.2 – 3(8))
3) โครงการการจัดการเรียนรู้ (KM) แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการและงานวิจัย เกณฑ์ใหม่ (5.2 – 3(9))
4. คณะฯ มีการประสานงาน จัดหาเครือข่าย วารสาร ต่าง สำหรับตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการ และดำเนินการประชาสัมพันธ์ต่อคณาจารย์ผ่านช่องทางต่าง ๆ
5. คณะฯ มีการส่งเสริมและให้รางวัลกับนักวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ (5.2 – 3(10)) ประจำปีงบประมาณ 2562 คือ
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยฉัตร ทองแพง
2) อาจารย์ดรุณวรรณ แมดจ่อง
6. คณะฯ มีการส่งเสริมให้มีพี่เลี้ยงในการคัดกรองบทความวิจัยและเสนอแนะในการเขียนบทความทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยให้ผู้ที่ต้องการคำแนะนำ สามารถปรึกษากับผู้มีประสบการณ์ได้โดยตรง
7. คณะฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัย จัดสรรงบประมาณสำหรับนักวิจัยที่ต้องการตีพิมพ์
การประเมินกระบวนการ
จากการที่ได้ดำเนินการสนับสนุน เพื่อให้มีจำนวนบทความบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 มีบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 เพิ่มขึ้น จำนวน 27 คน (5.2 – 3(11)) ซึ่งหากคำนวณเปรียบเทียบกับปี 2561 พบว่า จำนวนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ในฐาน TCI 1 และ TCI 2 มีการเพิ่มขึ้น เท่ากับ ร้อยละ 80
การปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ
จำนวนบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 ที่เพิ่มขึ้น ในปี 2562 ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับปี 2561 จากการสอบถามคณาจารย์ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเสนอความคิดเห็นในโครงการต่างๆ ของปี 2561 ได้มีการเสนอให้มีการส่งเสริมและให้รางวัลกับนักวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งได้นำมาปรับใช้ในปี 2562 แล้ว นอกจากนี้ ในการจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการพัฒนาบุคลากรต่าง ๆ ของปี 2562 คณาจารย์ได้มีข้อเสนอแนะให้คณะฯ จัดสรรงบประมาณสำหรับนักวิจัยที่ต้องการตีพิมพ์ผลงาน ซึ่งทางคณะฯ ได้นำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ต่อไป
ผลการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
จากการปรับปรุงกระบวนการ พบว่า การส่งเสริมและให้รางวัลกับนักวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ ช่วยให้มีจำนวนบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 เพิ่มขึ้น
2) นักวิจัยหน้าใหม่ขาดความชำนาญในการยืนขอทุนวิจัยภายนอกและการตีพิมพ์
เป้าหมาย
ปัจจัยเสี่ยงด้านนักวิจัยหน้าใหม่ขาดความชำนาญในการยืนขอทุนวิจัยภายนอกและการตีพิมพ์ มีระดับความเสี่ยงลดลง
ตัวชี้วัด
จำนวนนักวิจัยหน้าใหม่ที่ขอทุนวิจัยภายนอกและการตีพิมพ์ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5
ระบบและกลไก
คณะกรรมการบริหารคณะฯ ได้พิจารณา จำนวนนักวิจัยหน้าใหม่ที่ขอทุนวิจัยภายนอก และการตีพิมพ์ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งคณะฯ มีระบบและกลไก ดังนี้
1. คณะกรรมการบริหารคณะฯ มีการประชุมเพื่อสำรวจจำนวนนักวิจัยหน้าใหม่ที่ขอทุนวิจัยภายนอกและนำไปตีพิมพ์ มีจำนวนเพิ่มขึ้น
2. คณะกรรมการบริหารคณะฯ มีการประชุมเพื่อแจ้งให้อาจารย์ประจำหลักสูตรขอทุนวิจัยภายนอกและนำไปตีพิมพ์ ให้มากขึ้น
3. คณะฯ มีการจัดโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ขอทุนวิจัยภายนอกและนำไปตีพิมพ์ ให้มากขึ้น
4. คณะฯ มีการประสานงาน จัดหาเครือข่าย วารสาร ต่าง สำหรับขอทุนภายนอก ตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการ และดำเนินการประชาสัมพันธ์ต่อคณาจารย์ผ่านช่องทางต่าง ๆ
5. คณะฯ มีการส่งเสริมและให้รางวัลกับนักวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
6. คณะฯ มีการส่งเสริมให้มีพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำ คัดกรอง วิจัย สำหรับขอทุน และตีพิมพ์บทความวิจัย ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
การนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2562 ได้ดำเนินการตามแผน โดยมีการนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้
1. คณะฯ จัดทำแบบสำรวจจำนวนนักวิจัยหน้าใหม่ที่ขอทุนวิจัยภายนอก และการตีพิมพ์ซึ่งพบว่าในปี 2561 มีนักวิจัยหน้าใหม่ที่ขอทุนวิจัยภายนอก จำนวน 1 ทุน ส่วนบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 จำนวน 15 คน (5.2 – 3(6))
2. คณะกรรมการบริหารคณะฯ มีการประชุมเพื่อแจ้งให้อาจารย์ประจำหลักสูตรขอทุนวิจัยภายนอกและนำไปตีพิมพ์ ให้มากขึ้น
3. คณะฯ มีการจัดโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ขอทุนวิจัยภายนอกและนำไปตีพิมพ์ ให้มากขึ้น คือ
1) โครงการการจัดการความรู้ การเสริมสร้างสมรรถภาพด้านการวิจัย (5.2 – 3(8))
2) โครงการการจัดการเรียนรู้(KM) แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการและงานวิจัย เกณฑ์ใหม่ (5.2 – 3(9))
4. คณะฯ มีการประสานงาน จัดหาเครือข่าย วารสาร ต่าง สำหรับขอทุนภายนอก ตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการ และดำเนินการประชาสัมพันธ์ต่อคณาจารย์ผ่านช่องทางต่าง ๆ
5. คณะฯ มีการส่งเสริมและให้รางวัลกับนักวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
6. คณะฯ มีการส่งเสริมให้มีพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำ คัดกรอง วิจัย สำหรับขอทุน และตีพิมพ์บทความวิจัย ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
การประเมินกระบวนการ
จากการดำเนินการสนับสนุน เพื่อให้มีจำนวนนักวิจัยหน้าใหม่ที่ขอทุนวิจัยภายนอกและตีพิมพ์ ในปี 2561 มีนักวิจัยหน้าใหม่ที่ขอทุนวิจัยภายนอก จำนวน 1 ทุน ส่วนบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ จำนวน 15 คน ซึ่งในปี 2562 พบว่า นักวิจัยหน้าใหม่ที่ขอทุนวิจัยภายนอก จำนวน 2 ทุน (5.2 – 3(12))ส่วนบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ จำนวน 27 คน
การปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ
จากการที่จำนวน นักวิจัยหน้าใหม่ที่ขอทุนวิจัยภายนอกเพิ่มขึ้น จำนวน 2 ทุน และบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ เพิ่มขึ้น จำนวน 27 คน คณะฯ ได้มีการสอบถามคณาจารย์ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเสนอความคิดเห็นในโครงการต่างๆ ได้มีการเสนอให้มีการจัดอบรมแนวทางการเขียนขอทุนภายนอก ซึ่งได้นำมาปรับใช้ในปี 2562 แล้ว
ผลการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
จากการปรับปรุงกระบวนการ พบว่า การส่งเสริมให้นักวิจัยหน้าใหม่ขอทุนวิจัยภายนอก มีจำนวนเพิ่มขึ้น และมีจำนวนบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ฐาน TCI 1 และ TCI 2 เพิ่มขึ้น
3) บุคลากรขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ.
เป้าหมาย
ปัจจัยเสี่ยงด้านบุคลากรขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. มีระดับความเสี่ยงลดลง
ตัวชี้วัด
จำนวนบุคลากรผ่านเกณฑ์ทดสอบ ร้อยละ 5
ระบบและกลไก
คณะกรรมการบริหารคณะฯ ได้พิจารณา จำนวนบุคลากรผ่านทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. ซึ่งคณะฯ มีระบบและกลไก ดังนี้
1. คณะกรรมการบริหารคณะฯ มีการประชุมเพื่อสำรวจจำนวนบุคลากรผ่านทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. รวมถึงมีการวางแผนการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยนำคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิมาปรับใช้
2. คณะกรรมการบริหารคณะฯ มีการประชุมเพื่อแจ้งให้อาจารย์ประจำหลักสูตรต้องผ่านทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ.
3. คณะฯ มีการจัดโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ.
4. คณะฯ มีการประสานงาน จัดหาเครือข่าย วารสาร ต่าง สำหรับการอบรม การทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ และดำเนินการประชาสัมพันธ์ต่อคณาจารย์ผ่านช่องทางต่าง ๆ
5. คณะฯ มีงบสนับสนุนให้อาจารย์เข้ารับการอบรมภาษาอังกฤษ
การนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2562 ได้ดำเนินการตามแผน โดยมีการนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้
1. คณะฯ จัดทำแบบสำรวจจำนวนบุคลากรผ่านทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ.
2. คณะกรรมการบริหารคณะฯ มีการประชุมเพื่อแจ้งให้อาจารย์ประจำหลักสูตรต้องผ่านทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ.
3. คณะฯ มีการจัดโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. โดยจัดโครงการพัฒนาบุคลากร (5.2 – 3(7)) นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ โดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อเข้ารับการทดสอบและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
4. คณะฯ มีการประสานงาน จัดหาเครือข่าย วารสาร ต่าง สำหรับการอบรม การทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ และดำเนินการประชาสัมพันธ์ต่อคณาจารย์ผ่านช่องทางต่าง ๆ
5. คณะฯ มีงบสนับสนุนให้อาจารย์เข้ารับการอบรมภาษาอังกฤษ
การประเมินกระบวนการ
จากการที่คณะฯ ได้ดำเนินการสนับสนุน เพื่อให้มีอาจารย์มีการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตลอดจนผ่านทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. พบว่า อาจารย์มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น ซึ่งมีอาจารย์เข้ารับการทดสอบ Pre – Test จำนวน 8 คน ซึ่งขณะนี้ กำลังเข้ารับการอบรม และจะเข้ารับการทดสอบ Post – Test ต่อไป
การปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ
จากจำนวนอาจารย์ที่เข้ารับการทดสอบ เป็นปีแรก จำนวน 8 คน คณะฯ มีการให้อาจารย์ที่เคยเข้ารับการทดสอบร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ ทำให้อาจารย์ท่านอื่นๆ สนใจที่จะเข้าร่วมการทดสอบภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น
4) งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรลดลง
เป้าหมาย
ปัจจัยเสี่ยงด้านงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรลดลง มีระดับความเสี่ยงลดลง
ตัวชี้วัด
จำนวนโครงการที่ได้รับจากทุนด้านนอกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ระบบและกลไก
คณะกรรมการบริหารคณะฯ ได้พิจารณา จำนวนโครงการ ตามแผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งคณะฯ มีระบบและกลไก ดังนี้
1. คณะกรรมการบริหารคณะฯ มีการประชุมเพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปเขียนโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี โดยนำคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิมาปรับใช้
2. คณะกรรมการบริหารคณะฯ มีการประชุมเพื่อแจ้งให้อาจารย์ประจำหลักสูตรดำเนินการเขียนแผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของหลักสูตร และส่งให้คณะกรรมการบริหารคณะฯ ร่วมกันพิจารณา อีกทั้งร่วมกันพิจารณาว่าโครงการใดสามารถขอทุน หรือมีทุนสนับสนุนจากแหล่งงบประมาณภายนอก
3. คณะฯ รวบรวมแผนจากทุกหลักสูตร เพื่อดำเนินการทำแผนปฏิบัติการประจำปีของคณะ เพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัย
4. คณะฯ รับผลการพิจารณาจากมหาวิทยาลัย นำมาปรับลด-เพิ่ม งบประมาณตามความเหมาะสมในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ
5. คณะฯ รวบรวมแผนจากทุกหลักสูตร เพื่อดำเนินการทำแผนปฏิบัติการประจำปีของคณะ เพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัย
6. คณะฯ นำผลการพิจารณาจากมหาวิทยาลัยมาใช้ หรือปรับ-ลดตามความเหมาะสม
การนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2562 ได้ดำเนินการตามแผน โดยมีการนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้
1. คณะกรรมการบริหารคณะฯ ประชุมเพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปเขียนโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี โดยนำคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิมาปรับใช้
2. คณะกรรมการบริหารคณะฯ มีการประชุมเพื่อแจ้งให้อาจารย์ประจำหลักสูตรดำเนินการเขียนแผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของหลักสูตร และส่งให้คณะกรรมการบริหารคณะฯ ร่วมกันพิจารณา อีกทั้งร่วมกันพิจารณาว่าโครงการใดสามารถขอทุน หรือมีทุนสนับสนุนจากแหล่งงบประมาณภายนอก
3. คณะฯ รวบรวมแผนจากทุกหลักสูตร เพื่อดำเนินการทำแผนปฏิบัติการประจำปีของคณะ เพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัย
4. คณะฯ รับผลการพิจารณาจากมหาวิทยาลัย นำมาปรับลด-เพิ่ม งบประมาณตามความเหมาะสมในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ
5. คณะฯ รวบรวมแผนจากทุกหลักสูตร เพื่อดำเนินการทำแผนปฏิบัติการประจำปีของคณะ เพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัย
6. คณะฯ นำผลการพิจารณาจากมหาวิทยาลัยมาใช้ หรือปรับ-ลดตามความเหมาะสม
การประเมินกระบวนการ
จากการที่ได้ดำเนินงานลดความเสี่ยงด้านงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรลดลง (5.2 – 3(13-15)) เพื่อให้หลักสูตร และคณะฯ มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ พบว่า คณะฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก มากกว่างบประมาณที่ได้รับการจัดสรรภายใน ถึงร้อยละ 33.43 (133.43)
การปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ
ในปีงบประมาณ 2562 คณะฯ ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก และมีการดำเนินการโดยการรวมศูนย์กลางงบประมาณไว้ที่คณะฯ โดยให้หลักสูตรส่งตัวแทนมาเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากงบประมาณที่จำกัด แต่ผลการจัดการบริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ในปีงบประมาณ 2563 คณะฯ ได้รับงบประมาณมากกว่าปี 2562 มากกว่างบประมาณที่ได้รับการจัดสรรภายใน ส่งผลให้คณะฯ สามารถจัดสรรงบประมาณและดำเนินการได้อย่างทั่วถึง
ผลการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
ในปีงบประมาณ 2562 คณะฯ ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก และมีผลการจัดการบริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ในปีงบประมาณ 2563 คณะฯ ได้รับงบประมาณมากกว่าปี 2562 มากกว่างบประมาณที่ได้รับการจัดสรรภายใน ส่งผลให้คณะฯ สามารถจัดสรรงบประมาณและดำเนินการได้อย่างทั่วถึง
|