ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ณัฐวัฒน์ บัวทอง , ธัญยธรณ์ พิพัฒนมงคลชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

หลักสูตรต้องให้ความสำคัญกับการวางระบบผู้สอนในแต่ละรายวิชา โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน และเป็นความรู้ที่ทันสมัยของอาจารย์ที่มอบหมายให้สอนในวิชานั้นๆ เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ประสบการณ์ และได้รับการพัฒนาความสามารถจากผู้รู้จริง สำหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ การกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ที่เหมาะสมกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ และลักษณะของนักศึกษา ให้นักศึกษาได้รับโอกาสและการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ต้องสามารถให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ตั้งแต่กระบวนการพัฒนาหัวข้อจนถึงการทำวิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ การสอบป้องกัน และการเผยแพร่ผลงานวิจัยจนสำเร็จการศึกษา

กระบวนการเรียนการสอนสำหรับยุคศตวรรษที่ 21 ต้องเน้นการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ตามโครงสร้างหลักสูตรที่กำหนด และได้รับการพัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ คุณธรรมจริยธรรม ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทักษะทางภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ทักษะการทำงานแบบมีส่วนร่วม ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการดูแลสุขภาพฯลฯ การเรียนการสอนสมัยใหม่ต้องใช้สื่อเทคโนโลยี และทำให้นักศึกษาเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและในสถานที่ใดก็ได้ ผู้สอนมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ สำหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เทคนิคการสอนจะเน้นการวิจัยเป็นฐาน
การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นต้น

ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้

- การกำหนดผู้สอน

- การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน

- การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

- การควบคุมหัวข้อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา ให้สอดคล้องกับสาขาวิชาและความก้าวหน้าของศาสตร์

- การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษาที่มี
ความเชี่ยวชาญสอดคล้องหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์

- การช่วยเหลือ กำกับ ติดตาม ในการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระและการตีพิมพ์ผลงานในระดับบัณฑิตศึกษา

ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก่อให้เกิดผลการเรียนรู้บรรลุตามเป้าหมาย

เกณฑ์การประเมิน
0 1 2 3 4 5

• ไม่มีระบบ

• ไม่มีกลไก

• ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง

• ไม่มีข้อมูลหลักฐาน

• มีระบบมีกลไก

• ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีระบบมีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ

• มีระบบมีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน

• มีระบบมีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน

• มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
 

• มีระบบ มีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน

• มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

• มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน

ผลการดำเนินงาน

การวางระบบผู้สอนแลกระบวนการจัดการเรียนการสอน

5.2.1 การวางระบบผู้สอน

การดำเนินงานตามระบบและกลไกการกำหนดผู้สอน

     ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตร ได้ให้ความสำคัญกับการวางระบบการจัดอาจารย์ผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก โดยได้ดำเนินการเป็นขั้นตอนทุกๆภาคเรียน โดยได้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้

     1. หลักสูตรประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563 เพื่อกำหนดคุณสมบัติอาจารย์ผู้สอนที่เหมาะสมกับรายวิชาที่สอน ในการพิจารณากำหนดอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาหลักสูตร ได้มีการประชุมเตรียมความพร้อมในการวางระบบอาจารย์ผู้สอนโดยมีการพิจารณาความสอดคล้องของคุณวุฒิ และความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญ การเป็นผู้รู้ที่ทันสมัยในวิชาที่จะทำการสอน โดยดูจากประสบการณ์ที่เคยสอน เคยเรียนรู้มาจากสถาบันที่จบมา นอกจากนั้นก็จะสำรวจความต้องการของอาจารย์ผู้สอนว่าต้องการจะจัดการเรียนการสอนในวิชาใด เพราะอะไร โดยหลักสูตรได้ใช้หลักการที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีต้องมาจากความต้องการของอาจารย์ผู้สอน เมื่อมีความต้องการย่อมมีเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ และต้องทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนั้นพิจารณาว่า เคยผ่านการอบรม ประชุมสัมมนา ศึกษา ค้นคว้าวิจัยในสาระรายวิชาอะไรมาบ้าง อย่างไร

     ซึ่งหลักสูตรได้กำหนดอาจารย์ผู้สอนที่มีความเหมาะสมตรงตามคุณสมบัติที่สอดคล้องกับรายวิชาดังนี้

 

อาจารย์ผู้สอน

ภาคเรียนที่ 1/2563

ภาคเรียนที่ 2/2563

คุณสมบัติ

ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.ณัฐวัฒน์  บัวทอง

1.กฏหมายพิจารณาความอาญา 1
2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมาย

3.กฏหมายอาญา 2

4 กฏหมายลักษณะตั๋วเงิน

1. กฏหมายอาญา3

2. กฏหมายวิธีปฏิบัติราชการทางการเมือง

-

ผศ.ทรณ์  สิทธิศักดิ์

1.กฏหมาลักษณะหุ้นส่วนและบริษัท

2.กฏหมายเกี่ยวกับยุติธรรม

3.กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา1

4.สัมมนากฏหมายอาญา

 

1.การบริหารกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

2.กฏหมายลักษณะทรัพย์สิน

3.กฏหมายพิจารณาความอาญา2

4.กฏหมายลัษณะมรดก

-

ผศ.พิมพ์ลภัส  เสียงหวาน

1.กฎหมายการปกครองส่วนท้องถิ่น
2.กฎหมายแพ่งหลักทั่วไป

3.กฎหมายประกันสังคม

4.กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา1

5.กฎหมายลักษณะจ้างแรงงาน จ้างทำของฯ

1.กฎหมายอาญา3
2.หลักกฎหมายมหาชน

3.กฎหมายลักษณะละเมิดจัดการงานนอกสั่งลาภมิควรได้

4.กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีในศาลแรงงาน

 

ผศ.วระเดช  ภาวัติเวคิน

1.กฎหมายลักษณะประกันภัย

2.กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

3.กฎหมายภาษีอากร

 

1.กฎหมายอาญา1

2.กฎหมายลักษณะค้ำประกัน จำนอง จำนำ

3.กฎหมายที่ดิน

 

รศ. ดร.ภัควัฒน์  จรรยาสุทธิวงศ์

1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

2.กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

3.หลักวิชาชีพนักกฎหมาย

4.ภาษาอังกฤษสำหรับนักฎหมาย

1.กฎหมายลักษณะซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ฯ

2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

3.นิติปรัชญา

 

  

   ทั้งนี้หลักสูตรได้มีการประชุมอาจารย์ผู้สอนทุกคนเพื่อชี้แจงแนวทางในการจัดทำรายละเอียดวิชา (มคอ.3 และมคอ. 4) ซึ่งอาจารย์ผู้สอนจะต้องส่งรายวิชา (มคอ. 3 และ มคอ.4 ก่อนเปิดภาคเรียน 30 วัน นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนจะต้องมีการแจงรายละเอียดรายวิชาให้นักศึกษาทราบในสัปดาห์แรกของการเรียนการสอน                                

การประเมินระบบและกลไกการกำหนดผู้สอน

     หลักสูตรได้มีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ครั้งที่
5/2563 วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 เพื่อประเมินทบทวนระบบและกลไกลการกำหนดอาจารย์ผู้สอน ประจำปีการศึกษา 2562 สรุปได้ว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่ออาจารย์ผู้สอนโดยการสอบถามนักศึกษา และจากการพิจารณาจากผลการเรียนของนักศึกษาในแต่ละรายวิชา แสดงถึงความเหมาะสมในระบบการกำหนดผู้สอนที่มีประสิทธิภาพ  

5.2.2 การกำกับติดตามและตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้
( มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน

การดำเนินตามระบบและกลไกการกำกับติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ. 2 และ มคอ. 4) และการจัดการเรียนการสอน

ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีการระบบการติดตามและตรวจสอบการทำ มคอ.3 และ มคอ.4 ซึ่งหลักสูตรได้มีการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2563 เพื่อกำหนดแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อกำหนดรายวิชาในแต่ละภาคเรียน ซึ่งประธานหลักสูตรได้มีการชี้แจงอาจารย์ผู้สอนเพื่อแนะนำแนวทางการจัดทำรายละเอียดรายวิชา (มคอ. 3 และ มคอ.4) ซึ่งในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรมีรายวิชาที่จะต้องจัดทำรายละเอียดรายวิชา (มคอ. 3 และ มคอ.4) จำนวน 30 รายวิชา และอาจารย์ผู้สอนจะต้องดำเนินการส่งรายละเอียรายวิชา (มคอ. 3 และ มคอ.4) ก่อนเปิดภาคเรียน 30 วัน ในแต่ละภาคเรียน ดังนี้

  • ภาคเรียนที่ 1 มีจำนวน 17 รายวิชา และกำหนดส่งในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
  • ภาคเรียนที่ 2 มีจำนวน 13 รายวิชา และกำหนดส่งในวันที่30 กันยายน 2563

     ในการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำรายละเอียดรายวิชา (มคอ.3 และ มคอ.4) ของหลักสูตรรัฐได้ดำเนินการโดยประธานหลักสูตร ผลปรากฏว่าในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรเปิดสอนทั้งหมด จำนวน 30 รายวิชา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนทุกคนส่ง มคอ.3 และ มคอ.4 ครบทั้ง 30 รายวิชา

การประเมินระบบและกลไกการกำกับติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ. 2 และ มคอ. 4) และการจัดการเรียนการสอน

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อทบทวนระบบและกลไกลการกำกับติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ ได้ข้อสรุปว่ารายละเอียดรายวิชา (มคอ.3 และมคอ.4) เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยให้ถือว่าการเรียนการสอนของอาจารย์ทุกท่านเป็นการวิจัย โดยกำหนดเริ่มที่ มคอ.3 และ มคอ.4 เป็นการวางแผนการพัฒนา หลักสูตรจึงให้ความสำคัญในรายละเอียดพอสมควร จากนั้นอาจารย์ผู้สอนก็ปฏิบัติการสอนตาม มคอ.3 อย่างเต็มตามศักยภาพ มีเก็บข้อมูลจากการวัดและประเมินผลอย่างเป็นระบบโดยเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ จากนั้นก็จัดทำสรุปผลการดำเนินการของรายวิชา(มคอ.5 และมคอ.6) ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนางานของอาจารย์ทุกท่านจากกระบวนการจัดการเรียนการสอน

     ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติ
เช่น รายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางนิติศาสตร์ ทางหลักสูตรฯ ถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะการปฏิบัติจะนำมาซึ่งการสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะรายวิชาที่เน้นทฤษฎีก็มีการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ การทำโครงงาน โครงการต่างๆ สำหรับรายวิชาที่ต้องปฏิบัติเช่นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นั้นเน้นที่การทำ มคอ.
4 อย่างละเอียดกล่าวคือ

       1. มีข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการในรายวิชาหรือกิจกรรมที่นักศึกษาจะ ต้องออกฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม ซึ่งได้ต้องวางแผนให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร

       2. กำหนดวัตถุประสงค์รายละเอียดของการดำเนินการของกิจกรรมนั้นๆ ไว้อย่างชัดเจน

       3. ชี้แจง ประชุม สัมมนา เรื่องความรู้ ความเข้าใจที่นักศึกษาจะได้รับจากการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีการกำหนดกระบวนการหรือวิธีการในการปลูกฝังทักษะต่างๆ เช่น การใช้เครื่องมือ และอุกรณ์สำนักงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับสำนักงาน ตลอดจนคุณลักษณะอื่นๆ ที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย

       4. กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลนักศึกษา และการประเมินการดำเนินการตามรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม

     การจัดการเรียนการสอนยังเน้นกระบวนการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้พัฒนาตนเอง ตามความต้องการของตนเอง และความต้องการของแรงงานภายนอก ซึ่งอาจารย์ประจำหลักสูตรจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ พร้อม ๆ กับหลักภาษาไปพร้อม ๆ กับคุณสมบัติของบัณฑิตที่พึงประสงค์

5.2.3 การจัดการเรียนการสอนในระปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

การดำเนินตามระบบการจัดการเรียนการสอนในระปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

     ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2563 เพื่อวางแผนและกำหนดรายวิชาที่จะดำเนินการ
บูรณาการกับพันธกิจ และมติที่ประชุมได้มีการมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนจัดทำรายละเอียดวิชารายวิชา (มคอ.3) ที่มีการระบุแผนการบูรณาการและการเรียนการสอนกับพันธกิจ ดังนี้

รายวิชา

อาจารย์ผู้สอน

พันธกิจ

การวิจัย

บริการวิชาการ

ศิลปะวัฒนธรรม

1.กฎหมายลักษณะซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ฯ

รศ. ดร.ภัควัฒน์  จรรยาสุทธิวงศ์

ü

-

-

2.กฎหมายเบื้องต้น

ผศ.ว่าที่ร้อยตรีดร.ณัฐวัฒน์ บัวทอง

-

ü

ü

3.กฎหมายลักษณะครอบครัว

อ.ยุวดี  มัญติยาการกุล

-

ü

-

 

   อาจารย์ผู้สอนได้มีการจัดทำรายละเอียดรายวิชา (มคอ.3) ที่มีการระบุแผนการบูรณาการและการเรียนการสอนกับพันธกิจและส่งตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด ซึ่งอาจารย์ผู้สอนได้ดำเนินการบูรณาการกับพันธกิจต่างๆ ดังนี้

  1. รายวิชาการบริหารการพัฒนาที่เปิดสอนในภาคเรียนที่ 1/2563 อาจารย์ผู้สอน คือ รศ.ดร.ภัควัฒน์  จรรยาสุทธิวงศ์  ได้ดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัย โดยที่อาจารย์ผู้สอนได้รับงบประมาณอุดหนุนการวิจัยเรื่อง “การแลกเปลี่ยนซื้อขายที่ ช่องสะงำ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ  โดยได้มีการมอบหมายให้นักศึกษาเป็นผู้ช่วยนักวิจัยในกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการซื้อขายของชาวบ้านบริเวณช่องสะงำ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนได้อธิบายวิธีการดำเนินการวิจัย กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมถึงประเด็น
    ข้อคำถามในการรวบรวมข้อมูล ทำให้นักศึกษาได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างการซื้อขายของชาวบ้านบริเวณเขตชายแดนช่องสะงำ
  2. รายวิชากฎหมายเบื้องต้น การวิเคราะห์และการบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ที่เปิดสอนในภาคเรียนที่ 1/2563 อาจารย์ผู้สอนได้ดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม โดยอาจารย์ผู้สอนได้รับงบประมาณโครงการบริการวิชาการ เรื่อง กฎหมายเคลื่อนที่ เป็นการบรรยายความรู้ด้านกฎหมายให้กับชาวบ้าน อำเภอพยุห์” ซึ่งเป็นกิจกรรมการให้ชาวบ้านได้มาพูดคุยสอบถามปัญหาด้านกฎหมาย โดยอาจารย์ผู้สอนได้มีการกำหนดให้นักศึกษาในรายวิชาเป็นผู้ช่วยวิทยากร ช่วยเผยแพร่องค์ความรู้ ดูและกิจกรรม ด้านการบรรยายกฎหมาย จากการบูรณาการกิจกรรมดังกล่าวนี้ยังรวมไปถึงการแนะนำและแก้ไฃปัญหาเบื้องต้นแก่ชาวบ้านซึ่งเป็นการใช้ความรู้ให้เกิดผลประโยชน์ ส่งผลให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการการเรียนรู้ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน
  3. รายวิชากฎหมายลักษณะครอบครัว ที่เปิดสอนในภาคเรียนที่ 1/2563 อาจารย์ผู้สอนโดย อาจารย์ยุวดี มัญติยากุล ได้มอบหมายให้นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในครอบครัวของนักศึกษา เพื่อนำมาสู่กระบวนการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ นักศึกษาจะต้องใช้องค์ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับตัวบทกฎหมายครอบครัว จากนั้นได้มีการให้นักศึกษาจำลองเหตุการณ์ในการแก้ไขปัญหาในครอบครัว ซึ่งจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาดังกล่าวได้ส่งผลให้นักศึกษาได้ฝึกการวิเคราะห์การใช้หลักกฎหมายและปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจากครอบครัว จนนำไปสู่กระบวนการการนำกฎหมาย เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาในครอบครัวได้จริง 
หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
5.2 - (1)
5.2 - (2)