การประเมินนักศึกษามีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ การประเมินผลนักศึกษาเพื่อให้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการเรียนการสอนของผู้สอน และนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา (Assessment for Learning) การประเมินที่ทำให้นักศึกษาสามารถประเมินตนเองเป็น และมีการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาวิธีการเรียนของตนเองใหม่ จนเกิดการเรียนรู้ (Assessment as Learning) และการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่แสดงผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Assessment of Learning) การประเมินส่วนใหญ่จะใช้เพื่อจุดมุ่งหมายประการหลัง คือ เน้นการได้ข้อมูลเกี่ยวกับสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของนักศึกษา การจัดการเรียนการสอนจึงควรส่งเสริมให้มีการประเมินเพื่อจุดมุ่งหมายสองประการแรกด้วย ทั้งนี้ ความเหมาะสมของระบบประเมินต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดเกณฑ์การประเมิน วิธีการประเมิน เครื่องมือประเมินที่มีคุณภาพ และวิธีการให้เกรดที่สะท้อนผลการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
มีการกำกับให้มีการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) มีการใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ให้ผลการประเมินที่สะท้อนความสามารถในการปฏิบัติงานในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World) และมีวิธีการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ที่ทำให้นักศึกษาสามารถแก้ไขจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งของตนเองได้ให้ผลการประเมินที่สะท้อนระดับความสามารถที่แท้จริงของนักศึกษา สำหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการวางระบบประเมินวิทยานิพนธ์
การค้นคว้าอิสระที่มีคุณภาพด้วย
ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
- การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
- การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
- การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
- การประเมินวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา
ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมดที่สะท้อนสภาพจริงด้วยวิธีการหรือเครื่องมือประเมินที่เชื่อถือได้ ให้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนมีแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
• ไม่มีระบบ • ไม่มีกลไก • ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง • ไม่มีข้อมูลหลักฐาน |
• มีระบบมีกลไก • ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม |
• มีระบบ มีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม • มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน |
การประเมินผู้เรียน |
5.3.1 การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ การดำเนินงานตามระบบและกลไกการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีระบบประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาและการกำกับการประเมินการ จัดการเรียนการสอนและการประเมินหลักสูตร ดังนี้
ทั้งนี้ปีการศึกษา 2563 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน ได้มีการจัดทำรายลเอียดรายวิชา (มคอ.3 และ มคอ.4) ทุกรายวิชาและได้มีการระบุวิธีการที่ใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้มีการกำกับติดตามให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงตาวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งการประเมินผลการเรียนรู้ใมนแต่ละรายวิชานั้นมีทั้งการทดสอบทั้งที่เป็นปรนัย และอัตนัย และเป็นการประเมินความรู้ตามทฤษฎี การทำงานกลุ่ม การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เพื่อเป็นการดูทักษะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และมีการรายงานผลการประเมินต่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 5.3.2 การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา การดำเนินงานตามระบบและกลไกการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้มีการประชุมชี้แจงแนวทาง หลักการและระบบประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ (TQF) การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาและการกำกับการประเมินการ จัดการเรียนการสอนและการประเมินหลักสูตรแก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม ศึกษาแห่งชาติ (TQF) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนจัดทำ มคอ.3 มคอ.4 เสนอผ่านคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อพิจารณาและดำเนินการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลตามแนวทางที่กำหนด พิจารณาการกระจายและการประเมินผลการเรียนรู้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำ มคอ.5 มคอ.6 เสนอผ่านคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อรับทราบปัญหาและให้ข้อเสนอแนะในการรับปรุงการจัดการเรียนการสอน เมื่อการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2563 เสร็จสิ้นหลักสูตร ได้มีการดำเนินการทวนสอบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ผลการเรียนรู้ 5 ด้าน วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร จากนั้นได้มีการนำผลสรุปที่ได้จากการทวนสอบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
5.3.3 การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และมคอ.7) การดำเนินตามระบบและกลไกการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และมคอ.7) ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรมีการกำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนจัดทำ มคอ.5 และมคอ.6 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้มีการดำเนินการการจัดทำ มคอ.7 ตามวงรอบปีการศึกษา 2563 ทั้งนี้หลักสูตรมีได้มีการดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 26 ของรายวิชาที่เปิดสอนที่เปิดสอนทั้งหมด (30 รายวิชา) จากการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2563 นั้น หลักสูตรได้มีการนำข้อเสนอของคณะกรรมการมาปรับปรุงเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีความสอดคล้องมากขึ้น โดยได้มีการปรับ มคอ. 3 ในส่วนของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ในปีการศึกษา 2563 |
รหัสหลักฐาน | เอกสารหลักฐาน | |
---|---|---|
5.3 - (1) | การจัดการเรียนการสอน |