ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พนิดา พานิชกุล , ปิยฉัตร ทองแพง , ณัชฐปกรณ์ สีหะวงษ์สกุล , มณีรัตน์ ปราศจาก
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

บทบาทหน้าที่ของคณะในการกำกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร มีการดำเนินการตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าการประเมินคุณภาพ เพื่อให้สามารถส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด สะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
สูตรการคํานวณ

 

หมายเหตุ

คุณภาพหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้พิจารณาตามเกณฑ์ทั้ง 2 ประเด็นดังนี้
   1. ผลรวมของคะแนนเฉลี่ยทุกหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะต้องดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่พิจารณาจากเส้นแนวโน้ม (Trendline) (ใช้ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง)
   2. ผลการประเมินคุณภาพฯ ของแต่ละหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะต้องดีขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของหลักสูตร/คณะทั้งหมด โดยไม่พิจารณาเส้นแนวโน้ม (Trendline) (ใช้ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง)
**กรณีที่หลักสูตรไม่ผ่านเกณฑ์ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การกำกับมาตรฐาน จะไม่พิจารณาผ่านเกณฑ์ข้อที่ 5   

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
2 มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา
3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
4 มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมิน ให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร

          คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2565 และได้ดำเนินงานตามนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาจากหน่วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  โดยมีการดำเนินการตั้งแต่การวางระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ การกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา มีการควบคุมคุณภาพในการผลิตบัณฑิตโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร มีการกำกับ ติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร โดยคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ที่มีการตรวจสอบติดตามคุณภาพโดยคณะกรรมการประจำคณะฯ ดังนี้

          - มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม ให้เป็นไปตามองค์ประกอบประกันคุณภาพหลักสูตร การดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ได้ยึดระบบวงจรคุณภาพ ตามแนวคิด PDCA ในทุกองค์ประกอบ

          - มีคณะกรรมการการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา กำกับและดูแลระบบการประกันคุณภาพหลักสูตร กำหนดแผนการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร มีการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ ตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร เพื่อติดตามผลการดำเนินการโดยกำหนดให้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามและผลักดันการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ

          - มีการดำเนินการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7) เพื่อรองรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน โดยมีข้อมูลครบถ้วนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

          - มีการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร โดยกำหนดให้รับการตรวจประเมินคุณภาพภายใน เป็นประจำทุกปีโดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นผู้ตรวจประเมิน

          - มีการรายงานผลการดำเนินการประเมินตนเองของทุกหลักสูตร ให้คณะกรรมการบริหารคณะ รับทราบและพิจารณา ในการประชุมคณะกรรรมการประจำคณะฯ โดยมีมติเห็นชอบรายงานผลการประเมินตนเองตามเกณฑ์ประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร และขอให้ทุกหลักสูตรดำเนินงานตามที่ได้รับข้อเสนอแนะจากกรรมการตรวจประเมิน เพื่อให้หลักสูตรมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 5/2566 วันที่ 7 กรกฎาคม 2566

2 มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา

         คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและดูแลระบบการประกัน คุณภาพหลักสูตรเพื่อกำกับดูแลระบบการประกันคุณภาพหลักสูตร และคณะฯ ระดับหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย คณบดี เป็นประธาน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยคณบดี  หัวหน้างาน หัวหน้าสำนักงานคณบดี ประธานสาขาวิชา ทำหน้าที่เป็นกรรมการ และ อาจารย์ประจำหลักสูตร ทำหน้าที่กำกับติดตามทั้งระดับหลักสูตรและระดับคณะ และมีฝ่ายสนับสนุนงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา ฝ่ายนโยบายและแผน กิจการนักศึกษา วิชาการและวิจัย เพื่อทำหน้าที่ กำกับ ติดตามปฏิทินการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 เป็นระยะคือ รอบ 9 เดือน และ 12 เดือน ให้เป็นตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติของมหาวิทยาลัย และคณะฯ ได้มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานตามวาระที่กำหนดเพื่อวางแผน ติดตามการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2566 วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 และรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาต่อคณะกรรมการประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 วันที่ 27 กรกฎาคม 2566

3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้มีการวางแผนในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งในด้านบุคลากร สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ให้กับหลักสูตร ดังนี้

      ด้านบุคลากร หลักสูตร ติดต่อประสานงานต่าง ๆ ระหว่างหลักสูตรและคณะ โดยในส่วนงานของคณะ ได้แบ่งหน้าที่ของฝ่ายสนับสนุนในการสนับสนุนการทำงานของหลักสูตร ดังนี้

          1) ฝ่ายวิชาการ ที่ทำหน้าที่ดูแลกำกับ ติดตาม มคอ.ของแต่ละสาขา การประสานการเทียบโอน แนะนำ เบื้องต้นการลงทะเบียนที่มีปัญหาของนักศึกษา

          2) ฝ่ายหลักสูตร กำกับติดตามการดำเนินการของแต่ละหลักสูตร เช่น การปรับปรุงหลักสูตร กำกับติดตาม ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

          3) ฝ่ายกิจการนักศึกษาที่มีการสนับสนุนโครงการ กิจกรรมของคณะ สโมสรนักศึกษา

          4) ฝ่ายบุคคลากร ติดต่อประสานอาจารย์ในคณะทั้งการศึกษาต่อ ประเมินเลื่อนขั้น การลา การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

          5) ฝ่ายวิจัย ประชาสัมพันธ์แหล่งทุนวิจัยภายในและภายนอก ประสานงานการดำเนินการวิจัยระหว่างคณะ และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัย           

          6) ฝ่ายแผน ติดตามโครงการที่หลักสูตรเสนอมายังคณะ และประสานให้โครงการเป็นไปตามแผนที่เสนอ

          7) ฝ่ายการเงิน ประสานงานคณะ มหาวิทยาลัยในการเบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ     

          8) ฝ่ายสารบรรณ ดูแลเอกสาร เข้า-ออก ทั้งจากภายในและภายนอกตลอดจนประสานงานเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังหลักสูตร เช่น โครงการประชาสัมพันธ์แข่งขัน บันทึกข้อความเกี่ยวกับหลักสูตรจากมหาวิทยาลัย เป็นต้น

          9) ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา วางแผนสนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรและคณะ

          ด้านงบประมาณ คณะฯได้จัดสรรงบประมาณให้ทุกหลักสูตร จัดโครงการเตรียมความพร้อมด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรและคณะให้กับคณาอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษารวมถึงจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากร ท่านละ 2,000 บาท

          งบประมาณจัดสรรให้ทุกหลักสูตรเพื่อการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 มีโครงการหลักของแต่ละหลักสูตร ได้แก่

          1) โครงการบริหารจัดการหลักสูตร ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดซื้อวัสดุสำนักงานสำหรับสาขาวิชา และกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในแผน

          2) โครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ 

          3) โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและศึกษาดูงาน

          4) โครงการบริการวิชาการ

รายละเอียดต่อไปนี้

ลำดับ

สาขาวิชา

งบประมาณ 2566

1

สาขาวิชาการบัญชี

184,000

2

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

59,900

3

สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

70,700

4

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง

14,000

5

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่

378,000

6

สาขาวิชาการจัดการ

55,800

7

สาขาวิชาการตลาด

60,000

8

สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

32,200

รวมทั้งสิ้น

854,600

 

          ด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ สิ่งสนับสนุน คณะจะมีการแจ้งหลักสูตรทุกปีการศึกษา เพื่อให้แจ้งความต้องการในการจัดซื้อหรือจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนต่าง ๆ ทุกภาคการศึกษา เพื่อให้คณาจารย์ นักศึกษา ใช้ในการเรียนการสอน มีห้อง Colearning space สำหรับนักศึกษา เป็นต้น

4 มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมิน ให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

     คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการดำเนินการกำหนดการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร ร่วมกับสำนักงานประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย โดยจะมีการนำผลการประเมินประชุมร่วมกันในคณะกรรมการบริหารคณะ เพื่อนำผลการเสนอแนะจากผู้ตรวจประเมินภายนอก มาพิจารณาปรับปรุงร่วมกัน จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 28, 30 มิถุนายน และ 3 -4กรกฎาคม 2566 โดยทุกหลักสูตรมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษา 2565 อยู่ระดับ “ดี”รายละเอียดดังนี้

 

สาขาวิชา

ผลคะแนนประเมิน

สาขาวิชาการบัญชี

4.01

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

3.92

สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

3.96

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง

3.54

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่

3.70

สาขาวิชาการจัดการ

3.60

สาขาวิชาการตลาด

3.74

สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

3.70

คะแนนเฉลี่ยรวมระดับคณะ

(ผลการบริหารจัดการในหลักสูตร)

3.77

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คณะฯ ได้มีการรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาต่อคณะกรรมการบริหารคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2566 วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 และรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาต่อคณะกรรมการประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เพื่อพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะ เพื่อนำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้เกิดคุณภาพในปีการศึกษา 2556 ต่อไป

5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

     จากรายงานผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2564 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารฯ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี นั้น ได้ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมิน ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2565 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรในภาพรวมมีระดับคุณภาพ “ดีมาก” จำนวน 1หลักสูตร และระดับคุณภาพ “ดี” จำนวน 7 หลักสูตร

โดยได้สรุปเปรียบเทียบคะแนนผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2563 – 2565 ดังนี้

หลักสูตร

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา (ค่าเฉลี่ย)

2563

2564

2565

1.สาขาวิชาการบัญชี

4.00

3.95

4.01

2.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

3.98

3.92

3.96

3.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล

3.94

3.88

3.92

4.สาขาวิชาการตลาด

3.53

3.61

3.74

5.สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

3.69

3.72

3.70

6.สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่

3.06

3.24

3.70

7.สาขาวิชาการจัดการ

5.36

3.70

3.60

8.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง

3.61

3.62

3.85

รวม

3.67

3.71

3.77

 

ผลการดำเนินการ

      ผลการดำเนินงานจากการเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563 -2565 พบว่า ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มที่ดีขั้น ซึ่งได้นำผลการประเมินฯ รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาต่อคณะกรรมการประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เพื่อให้การประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

      ในปีการศึกษา 2565 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้รับการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร จำนวน 8 หลักสูตร พบว่าหลักสูตรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และมีผลการดำเนินงานในภาพรวมมีระดับคุณภาพ “ดีมาก” จำนวน 1 หลักสูตร และระดับคุณภาพ “ดี” จำนวน 7 หลักสูตร

หลักสูตร

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา (ค่าเฉลี่ย)

องค์ประกอบที่ 1

องค์ประกอบที่ 2-6

1.สาขาวิชาการบัญชี

ผ่าน

4.01

2.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

ผ่าน

3.96

3.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล

ผ่าน

3.92

4.สาขาวิชาการตลาด

ผ่าน

3.74

5.สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

ผ่าน

3.70

6.สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่

ผ่าน

3.70

7.สาขาวิชาการจัดการ

ผ่าน

3.60

8.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง

ผ่าน

3.85

รวม

ผ่าน

3.77

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 ข้อ 5 คะแนน