ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ภาวินี ศรีสันต์ , พุทธิพร พิธานธนานุกูล , มุขจรินทร์ สุทธิสัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

บทบาทหน้าที่ของคณะในการกำกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร มีการดำเนินการตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าการประเมินคุณภาพ เพื่อให้สามารถส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด สะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
หมายเหตุ

คุณภาพหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้พิจารณาตามเกณฑ์ทั้ง 2 ประเด็นดังนี้
   1. ผลรวมของคะแนนเฉลี่ยทุกหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะต้องดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่พิจารณาจากเส้นแนวโน้ม (Trendline) (ใช้ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง)
   2. ผลการประเมินคุณภาพฯ ของแต่ละหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะต้องดีขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของหลักสูตร/คณะทั้งหมด โดยไม่พิจารณาเส้นแนวโน้ม (Trendline) (ใช้ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง)
**กรณีที่หลักสูตรไม่ผ่านเกณฑ์ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การกำกับมาตรฐาน จะไม่พิจารณาผ่านเกณฑ์ข้อที่ 5   

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
2 มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา
3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
4 มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมิน ให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร

      คณะพยาบาลศาสตร์ มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิต (5.3-1(1)) เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานตามระบบการกำกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร (5.3-1(2))  ให้เป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ (5.3-1(3)) โดยปีการศึกษา 2565 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มีการดำเนินงานจำนวน 5 องค์ประกอบ 11 ตัวบ่งชี้ โดยขอยกเว้นการดำเนินงานในองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต เนื่องจากยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษา

2 มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา

คณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ กำกับ ติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิต ให้เป็นไปตามระบบการกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร โดยมีการรายงานผลการดำเนินงานทุกภาคการศึกษา อย่างต่อเนื่อง ดังนี้

   ภาคเรียนที่ 1 รายงานผลการดำเนินงานในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ครั้งที่ 9/2565 วันที่ 23 ธันวาคม 2565 (5.3-2(1)) และคณะกรรมการประจำคณะครั้งที่ 1/2566 วันที่ 18 มกราคม 2566 (5.3-2(2))

   ภาคเรียนที่ 2 รายงานผลการดำเนินงานในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ครั้งที่ 5/2566 วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 (5.3-2(3)) และคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 16 มิถุนายน 2566  (5.3-2(4))

3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับการจัดสรรทรัพยากรจากมหาวิทยาลัยในการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ได้รับการจัดสรรทรัพยากร ได้แก่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (5.3-3(1)) อาจารย์พิเศษ (5.3-3(2))  

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษา

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ได้รับการจัดสรรทรัพยากร ได้แก่ คณะกรรมการรับนักศึกษา (5.3-3(3))  คณะกรรมการพัฒนานักศึกษา (5.3-3(4)) และงบประมาณในการพัฒนานักศึกษา (5.3-3(5))

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ ได้รับการจัดสรรทรัพยากร ได้แก่ งบประมาณสนับสนุนงานวิจัยอาจารย์ (5.3-3(6)) งบประมาณในการพัฒนาอาจารย์ (5.3-3(7))

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ได้รับการจัดสรรทรัพยากร ได้แก่ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (5.3-3(8)) งบประมาณการจัดเรียนการสอน (5.3-3(9))

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้รับการจัดสรรทรัพยากร ได้แก่ บุคลากรห้องปฏิบัติการพยาบาล บรรณารักษ์ (5.3-3(10)) และงบประมาณในการจัดซื้อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย หนังสือ วารสารทั้งในและต่างประเทศ ฐานข้อมูลการสืบค้น หุ่นและอุปกรณ์ทางการพยาบาล (5.3-3(11))

4 มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมิน ให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (5.3-4(1)) และรับการประเมินคุณภาพหลักสูตรจากคณะกรรมการผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา (5.3-4(2)) ในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.99 โดยมีค่าคะแนนแยกตามรายองค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่

ค่าเฉลี่ย

ระดับ

1. การกำกับมาตรฐาน

ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

2. บัณฑิต

ยกเว้นการประเมิน

3. นักศึกษา

2.67

ปานกลาง

4. อาจารย์

2.96

ปานกลาง

5. หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

3.25

ดี

6. สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน

3.00

ปานกลาง

ค่าเฉลี่ยรวม

2.99

ปานกลาง

จากนั้นได้รายงานผลการประเมินคุณภาพหลักสูตร (5.2-4(3)) ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ครั้งที่ 7/2566 วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 และคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 3/2566    วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เพื่อพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง (5.2-4(4))

5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะที่ได้จากคณะกรรมการประจำคณะ มาจัดทำแผนยกระดับคุณภาพ (Improvement Plan) (5.3-5) เพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้น  

6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

ปีการศึกษา 2565  คณะพยาบาลศาสตร์ มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2565 ผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน (5.3-6)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 ข้อ 5 คะแนน