ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ณัฐวัฒน์ บัวทอง , ธัญยธรณ์ พิพัฒนมงคลชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงานของหลักสูตร หมายถึง ร้อยละของผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาที่ปรากฏในหลักสูตร (มคอ.2) หมวดที่ 7 ข้อ 7 ที่หลักสูตรแต่ละหลักสูตรดำเนินการได้ในแต่ละปีการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะเป็นผู้รายงานผลการดำเนินงานประจำปี ในแบบรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (มคอ.7)

เกณฑ์การประเมิน

มีการดำเนินงานน้อยกว่าร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 0

มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50

มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00

มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00-94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50

มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00-99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75

มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 5

หมายเหตุ

คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเพิ่มเติมไว้ ดังนี้

            ข้อ 2 ระบุว่า “กรณีที่สถาบันอุดมศึกษาจะจัดทำรายละเอียดของรายวิชา รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) รายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม
(ถ้ามี) และรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรในลักษณะอื่น สถาบันอุดมศึกษาสามารถดำเนินการจัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดตามแนวทางของ มคอ.3 มคอ.4 มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7 โดยสามารถปรับเปลี่ยนหัวข้อรายละเอียดให้เหมาะสมกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ได้ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงเจตนารมณ์ของการจัดทำ มคอ.3 มคอ.4 มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7”

            ข้อ 3 ระบุว่า “ให้ถือว่า ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น โดยสถาบันอุดมศึกษาสามารถกำหนดตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิได้เอง ซึ่งแต่ละหลักสูตรมีอิสระในการกำหนดตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ใช้ในการติดตาม ประเมิน และรายงานคุณภาพของหลักสูตรประจำปีที่ระบุไว้ในหมวด 1-6 ของแต่ละหลักสูตร ตามบริบทและวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิต ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากสภาสถาบันอุดมศึกษา ในระหว่างที่สถาบันอุดมศึกษายังไม่สามารถเสนอขอปรับตัวบ่งชี้ใหม่ได้แล้วเสร็จ ให้ใช้ตัวบ่งชี้เดิมก่อนได้ หรือหากหลักสูตรใดมีความประสงค์กำหนดตัวบ่งชี้แบบเดิมก็สามารถกระทำได้ กรณีหลักสูตรมีการปรับปรุงตัวบ่งชี้ใหม่ ให้นำเสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งต่อไป”

ผลการดำเนินงาน

5.3.1 การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

การดำเนินงานตามระบบและกลไกการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

   ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีระบบประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาและการกำกับการประเมินการ จัดการเรียนการสอนและการประเมินหลักสูตร ดังนี้

  • หลักสูตรได้มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินการเรียนของนักศึกษาในแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไวใน มคอ. 2 ปรากฏใน Curriculum Mapping รวม 5 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลย การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • อาจารย์ผู้สอนได้มีการชี้แจงเกณฑ์การประเมินการเรียนของรายวิชาให้นักศกษาทราบในสัปดาห์แรกของการเรียนในภาคเรียนนั้นๆ
  • อาจารย์ผู้สอนได้มีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการสอบสอบ งานที่ได้รับมอบหมาย วิเคราะห์กรณีศึกษา อภิปรายกลุ่ม รวมทั้งการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดรายวิชา (มคอ. 3 และ มคอ.4)

     ทั้งนี้ปีการศึกษา 2563 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน ได้มีการจัดทำรายลเอียดรายวิชา (มคอ.3 และ มคอ.4) ทุกรายวิชาและได้มีการระบุวิธีการที่ใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้มีการกำกับติดตามให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงตาวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งการประเมินผลการเรียนรู้ใมนแต่ละรายวิชานั้นมีทั้งการทดสอบทั้งที่เป็นปรนัย และอัตนัย และเป็นการประเมินความรู้ตามทฤษฎี การทำงานกลุ่ม การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เพื่อเป็นการดูทักษะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และมีการรายงานผลการประเมินต่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

5.3.2 การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

การดำเนินงานตามระบบและกลไกการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

     อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้มีการประชุมชี้แจงแนวทาง หลักการและระบบประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ (TQF) การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาและการกำกับการประเมินการ จัดการเรียนการสอนและการประเมินหลักสูตรแก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม ศึกษาแห่งชาติ (TQF)

     อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนจัดทำ มคอ.3 มคอ.4  เสนอผ่านคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อพิจารณาและดำเนินการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลตามแนวทางที่กำหนด พิจารณาการกระจายและการประเมินผลการเรียนรู้

     อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำ มคอ.5 มคอ.6 เสนอผ่านคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อรับทราบปัญหาและให้ข้อเสนอแนะในการรับปรุงการจัดการเรียนการสอน

     เมื่อการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2563 เสร็จสิ้นหลักสูตร ได้มีการดำเนินการทวนสอบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ผลการเรียนรู้ 5 ด้าน วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร จากนั้นได้มีการนำผลสรุปที่ได้จากการทวนสอบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2563 และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 เพื่อรับทราบและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในลำดับต่อไป

 

5.3.3 การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และมคอ.7)

การดำเนินตามระบบและกลไกการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และมคอ.7)

     ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรมีการกำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนจัดทำ มคอ.5 และมคอ.6
ส่งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อพิจารณารับทราบปัญหาและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาถัดไป ทั้งนี้หลักสูตรได้หาแนวทางร่วมกันในการกำกับติดตามการส่ง มคอ. ประจำปีการศึกษา 2562 จากปัญหาที่พบเมื่อปีการศึกษาที่ผ่านมาคือ อาจารย์ผู้สอนดำเนินการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานรายวิชาไม่เป็นรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน (ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการทวนสอบ ปีการศึกษา 2562) ดังนั้นในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรจึงได้มีการชี้แจงแนวปฏิบัติในการจัดทำรายงานผลการดำเนินการรายวิชาให้เป็นรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน

    อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้มีการดำเนินการการจัดทำ มคอ.7 ตามวงรอบปีการศึกษา 2563 ทั้งนี้หลักสูตรมีได้มีการดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 26 ของรายวิชาที่เปิดสอนที่เปิดสอนทั้งหมด (30 รายวิชา)

   จากการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2563 นั้น หลักสูตรได้มีการนำข้อเสนอของคณะกรรมการมาปรับปรุงเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีความสอดคล้องมากขึ้น โดยได้มีการปรับ มคอ. 3 ในส่วนของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ในปีการศึกษา 2563