ตัวบ่งชี้ที่ 5.7 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อัญชลี สุวัฒโนดม , สุชาติ ศรีชื่น
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5-6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีฐานข้อมูลสารสนเทศครอบคลุมทุกพันธกิจ
2 มีการอัพเดทข้อมูลที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอ
3 มีการรับฟังความคิดเห็นและนำข้อเสนอแนะผู้ใช้งานมาปรับปรุง
4 มีการสำรองข้อมูลสารสนเทศในระบบสารสนเทศ
5 มีการประเมินผลและติดตามผลการใช้งานระบบสารสนเทศ
6 มีระบบการตรวจสอบและป้องกันการบุกรุก (Hack) ข้อมูลสำคัญ ๆ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีฐานข้อมูลสารสนเทศครอบคลุมทุกพันธกิจ

ในปีงบประมาณ 2563  มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้ดำเนินการพัฒนา/จัดหา ระบบสารสนเทศ ตามแผนพัฒนาระบบสารสนเทศ และส่งเสริมเระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งครอบคลุมพันธกิจหลัก อันได้แก่ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน ดังนี้

ด้านการเรียนการสอน

        มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้พัฒนาระบบสารสนเทศที่ช่วยอำนวยความสะดวกและ ส่งเสริมงานด้านการจัดการเรียนการสอน ภายในมหาวิทยาลัย โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลักคือ กองบริการการศึกษา และ ฝ่ายวิทยบริการและสารสนเทศ

สำหรับอาจารย์

สำหรับนักศึกษา

ด้านการวิจัย

        มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้พัฒนาระบบสารสนเทศที่ช่วยอำนวยความสะดวกและ ส่งเสริมงานด้านการวิจัย ให้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน่วงงานที่รับผิดชอบหลักคือ สถาบันวิจัยและพัฒนา โดยมีระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิจัยคือ

  • ระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการวิจัย
  • ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย / งานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ        ศรีสะเกษ
  • ระบบสารสนเทศงานวิจัย : จำนวนเงินทุนที่ได้รับ (เกิดจากการประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลงานวิจัย)
  • ระบบสารสนเทศงานวิจัย : แหล่งทุนวิจัย (แสดงถึงแหล่งทุนที่ได้มีการจ่ายเงินทุนเพื่อสนับสนุนงานวิจัยรวมทั้งจำนวน เงินที่ได้รับจากแหล่งทุนนั้น ซึ่งเกิดจากการประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลงานวิจัย)
  • ระบบสารสนเทศสภาวะการมีการทำของบัณฑิต (วิจัยสถาบันฯ)
  • ระบบการสืบค้นข้อมูลการวิจัยภายในห้องสมุดงานวิจัยและพัฒนา

ด้านการบริหารจัดการ

        มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้มีการดำเนินการพัฒนาระบบตามแผนพัฒนา สารสนเทศ โดยภายในปีการศึกษา 2555 ได้มีการเริ่งดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนงานด้านการบริหาร จัดการตามจุดเน้นของผู้บริหารดังต่อไปนี้

  • ระบบฐานข้อมูลบุคคลากร http://www.hrms.sskru.ac.th/sys/
  • ระบบแฟ้มสะสมข้อมูลออนไลน์ http://www.hrms.sskru.ac.th/sys/
  • ระบบสารสนเทศบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (แสดงสารสนเทศของบุคลากรในด้านต่างๆ หลายประเภท) http://www.hrms.sskru.ac.th/sys/persons/information
  • ระบบสารบรรณออนไลน์ (สำหรับการลงรับหนังสือ หรือการออกหนังสือราชการ) http://www.eoffice.sskru.ac.th/
  • ระบบการจัดเก็บข้อมูลด้านการประเมินตนเองสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  http://www.esar.sskru.ac.th/

ด้านการเงิน

        มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้มีการนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยอำนวนความ สะดวกทางด้านการเงิน เช่น การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลทางการเงิน ระบบการออกใบเสร็จเงินเดือนของบุคลากรรายเดือน ฯลฯ เป็นต้น ในด้าน Software ในปีงบประมาณ 2561 ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ อยู่ระหว่างการดำเนินการด้านการจัดหาโปรแกรมทางการเงินที่เหมาะสม เพื่อนำเข้ามาใช้สำหรับการดำเนินงานด้านการเงินต่อไป

2มีการอัพเดทข้อมูลที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มุ่งเน้นเรื่องการจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งมีการอัพเดทข่าวสารข้อมูลต่างๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์หลักของมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษและข่าวสารต่างๆของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามเว็บไซต์ดังต่อไปนี้ อาทิ

หน้าเว็บไซต์มหาวิทยาลัย www.sskru.ac.th

facebook ประชาสัมพันธฺ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

facebook มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ศิษย์ ขาว-ทอง

3มีการรับฟังความคิดเห็นและนำข้อเสนอแนะผู้ใช้งานมาปรับปรุง

มีการรับฟังความคิดเห็นและนำข้อเสนอแนะผู้ใช้งานมาปรับปรุงโดยผ่านทางเว็บไซต์สายตรงอธิการบดี ที่ได้มีการให้ข้อเสนอแนะต่างๆ โดยได้พิจารณาว่าเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใด จะดำเนินการมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการปรับปรุงต่อไป

4มีการสำรองข้อมูลสารสนเทศในระบบสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศระเกษมีการสำรองข้อมูลสารสนเทศต่างๆ อย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันความเสียหายของข้อมูลในระบบสารสนเทศต่างๆ โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้ให้ความสำคัญในการจัดเก็บสำรองข้อมูลสารสนเทศเป็นรายวันแต่จะมีการนำข้อมูลออก ทุก 1 สัปดาห์ โดยการเก็บข้อมูลไว้ ในฮาร์ดดิส เซิร์ฟเวอร์

5มีการประเมินผลและติดตามผลการใช้งานระบบสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการดูแลระบบ (Admintration System) เข้ามาช่วยเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกเพื่อใช้สำหรับการติดตามการใช้งานระบบสารสนเทศภายในองค์กร

6มีระบบการตรวจสอบและป้องกันการบุกรุก (Hack) ข้อมูลสำคัญ ๆ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ให้ความสำคัญในการป้องกันภัยคุกคามทางระบบอินเตอร์ จากบุคคลภายนอกผู้ไม่หวังดี (Hecker) ที่อาจจะเป็นภัยต่อระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ซึ่งภัยคุกคามต่อองค์กรมีหลายรูปแบบภัยคุกคามได้เพิ่มขึ้นจากการหลบหลีกการใช้ application และยังหลีกหลีก firewall แบบเดิมๆ และ ระบบ IPS  ทำให้มันแย่ลง  ภัยคุกคามที่สามารถ customized เองได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อกำหนดเป้าหมายเครือข่าย  มีการจัดกัดค่าของ legacy มากขึ้น  การป้องกันภัยคุกคามใหม่ๆ จะมีความต้องการวิธีการใหม่ๆ เพื่อตระหนักถึงพวก application  การประสานให้ภัยคุกคาม มีข้อบังคับภัย และการควบคุมภัยคุกคามทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก  จึงได้ทำการจัดซื้ออุปกรณ์  firewall Palo Alto Networks รุ่น pa5050 เพื่อที่จะป้องกันภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  องค์กรจำเป็นที่จะต้องช่วยลดช่องทางแรกของการโจมตี เริ่มต้นด้วยการควบคุมพวก application ที่ run บนระบบเน็ตเวิร์คขององค์กร  จากนั้นองค์กรต้องทำการ scan traffic ที่วิ่งบน application สำหรับภัยคุกคามที่แพร่หลายมากขึ้น – ไม่จำกัดคำนิยามของตัวเองกับประเภทของภัยคุมคาม เช่น (“virus” หรือ “exploit”)  สุดท้ายแล้ว  ในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันองค์กรจำเป็นต้องไม่เพิ่มความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร ทางฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายได้ทำการอัพเดทตัวโปรแกรมอยู่ตลอด โดยทางมหาวิทยาลัยได้ซื้อ License กับทางบริษัทต้นสังกัดเป็นรายปีต่อปี

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 ข้อ 5.00 คะแนน