ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ศิริกมล ประภาสพงษ์ , อรรถพล ศิริเวชพันธุ์ , อุ้มทิพย์ แสนสุข , ฐิติมา เกษมสุข
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยต้องมีการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ โดยมีแนวทาง การดำเนินงานที่เป็นระบบและมีกลไกส่งเสริมสนับสนุนครบถ้วน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้ทั้งการสนับสนุนด้านการจัดหาแหล่งทุนวิจัยและการจัดสรรทุนวิจัยจากงบประมาณของสถาบันให้กับบุคลากรส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะแก่อาจารย์และนักวิจัย การสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นซึ่งรวมถึงทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน เครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม นำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน ตลอดจนจัดระบบสร้างขวัญและกำลังใจแก่นักวิจัยอย่างเหมาะสมตลอดจนมีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor)
3 จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงาน วิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
4 มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
5 มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ
6 มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด
7 มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

         คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้ใช้ฐานข้อมูลระบบสารสนเทศงานวิจัย ร่วมกับส่วนกลางของมหาวิทยาลัย โดยอาจารย์ที่ได้รับทุนวิจัยของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จะปรากฏรายชื่อ ปีที่ได้รับทุน และงบประมาณในฐานข้อมูลดังกล่าว  ดังหลักฐานที่ 2.1-1(1)  และในระบบสารสนเทศเพื่องานวิจัยนั้นสามารถกรองข้อมูลเฉพาะข้อมูลคณะฯ เพื่อเสนอให้กับผู้บริหารได้พิจารณาถึงความก้าวหน้าของงานวิจัยประกอบในการอนุมัติเงินวิจัยในแต่ละงวด

2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor)

        คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้ใช้ทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการวิจัย ร่วมกับกลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษซึ่งได้บอกรับฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database) ประกอบด้วยฐานข้อมูลวารสาร Cambridge Journal Online ฐานข้อมูล Food Science Source และฐานข้อมูล AcademicOneFile,National Geographic  Virtual และ Gale Lingo ซึ่งคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรสายสนับสนุนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเพื่อการวิจัยดังกล่าว ด้วยการเข้าสู่ระบบ (Login) และทำการค้นคว้า ดังหลักฐานที่ 2.1-2 (1)

        - คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ร่วมกับงานบัณฑิตศึกษา จัดสัมมนาวิชาการระดับชาติ โดยได้มีคำสั่งให้คณาจารย์เป็นคณะกรรมการและเข้าร่วมการสัมมนาวิชาการระดับชาติ “ราชภัฏศรีสะเกษวิชาการ ครั้งที่ 7” และการนำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบทความ วันที่ 12 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องศรีวรรณ เกียรติสุรนนท์ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีศาสตราจารย์อาคันตุกะ คือ ศ.ดร.ฐาปนาบุญหล้า และมีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น ดังหลักฐานที่ 2.1-2 (2)

3 จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงาน วิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ

         คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยให้แก่คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 175,000 บาท เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยของคณะ โดยมีการกระจายทุนให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา มุ่งเน้นการพัฒนานักวิจัยหน้าใหม่ คือ อาจารย์ที่มีอายุงานไม่ถึง 2 ปี หรือผู้ที่ยังไม่เคยได้รับทุนวิจัยใดๆ มาก่อน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ที่มุ่งเน้นความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ดังหลักฐานที่ 2.1-3 (1)

        คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้ใช้ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่องหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อสนับสนุนกระบวนการจัดทำวิจัยของบุคลากร และการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ตลอดจนการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ ดังหลักฐานที่ 2.1-3 (2)

4 มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น

         คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้จัดทำแผนการใช้จ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการบริหารหลักสูตรคณะโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนบทความวิจัยเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ โครงการสนับสนุนการจัดทำวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ทางด้านการวิจัยและคณะได้ส่งรายชื่อคณาจารย์เพื่อเข้าร่วมการพิจารณาคัดเลือกและเชิดชูเกียรตินักวิจัยดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2562

         คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้จัดทำประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์ยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัย ปี พ.ศ.2562 ที่มีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ดังหลักฐานที่ 2.1-5(1) และคณะได้มีการประกาศเชิดชูอาจารย์ที่มีผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปีงบประมาณ 2562 จำนวน 2 ราย ดังรายชื่อต่อไปนี้

        1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยฉัตร  ทองแพง

        2. อาจารย์ดรุณวรรณ แมดจ่อง

        ทั้งนี้ทางคณะได้มอบเกียรติบัตรให้กับนักวิจัยดีเด่น และดำเนินการนำขึ้นเพจคณะฯ ดังหลักฐานที่  2.1-4 (2)

5 มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ

        คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยโดยมีการร่วมมือด้านงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม โดยปีการศึกษา 2562 ร่วมกับงานบัณฑิตศึกษา จัดสัมมนาวิชาการระดับชาติ โดยได้มีคำสั่งให้คณาจารย์เป็นคณะกรรมการและเข้าร่วมการสัมมนาวิชาการระดับชาติ “ราชภัฏศรีสะเกษวิชาการ ครั้งที่ 7” และการนำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบทความ วันที่ 12 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องศรีวรรณ เกียรติสุรนนท์ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีศาสตราจารย์อาคันตุกะ คือ ศ.ดร.ฐาปนาบุญหล้า และมีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นมีจำนวนผลงานวิจัยทั้งหมด 26 เรื่อง จากสถาบันและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ดังหลักฐานที่ 2.1-5 (1)

        อาจารย์ภายในคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้เครือข่ายในการทำงานวิจัยร่วมกัน รวมไปถึงนักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ( Mou ร่วมกับบริษัทซีพีออลย์ จำกัด (มหาชน) บริษัทบิ๊กซี ซูเปอร์เซนต์เตอร์ จำกัด มหาชน และบริษัทเบทาโกร จำกัด มหาชน) ดังหลักฐานที่  2.1-5 (2)

6 มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด

        คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการกำหนดนโยบายให้อาจารย์ในคณะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน ในปีการศึกษา 2562 ได้มีอาจารย์นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนดังนี้  ดังหลักฐานที่  2.1-6(1)

          1. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สร้างเว็บแอปพลิเคชั่นท่องเที่ยวสวนทุเรียนภูเขาไฟ จังหวัดศรีสะเกษ

          2. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สร้างเว็บแอปพลิเคชั่นข้าวเมืองศรี

          3. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เรื่อง เกมส์ส่งเสริมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ บนสมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์กรณีศึกษา โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนได้จริง ดังหลักฐานที่ 2.1-6 (2)

     

7 มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

         คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้ มีกลไก ในการคุ้มครองสิทธิ์ด้านการวิจัยของบุคลากรในสังกัด ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เลขที่ 0543/2560 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีคำสั่งให้คณบดี คือ ผศ. ดร.ภาดล อามาตย์เป็นกรรมการ ดังหลักฐานที่ 2.1-7 (1) และดำเนินการตามกลไกการคุ้มครองสิทธิ์งานวิจัย ดังหลักฐานที่ 2.1-7 (2)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 5