ตัวบ่งชี้ที่ 1.9 ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไก

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : กมลมาศ เอี้ยวถาวร , กนกกาญจน์ บุญทรง
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา/หน่วยงาน ตามที่กําหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งสถาบัน/หน่วยงาน ต้องสร้างระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการดําเนินงานของสถาบัน/หน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าประสงค์ และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนดโดยสถาบันและหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการวัดผลสําเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในรวมทั้งการรายงานผลการประกันคุณภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมี นวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน
2 มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
3 มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน
4 มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ
5 มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน
6 มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ ให้หน่วยงานอื่นสามารถนําไปใช้ประโยชน์
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน

1. สำนักงานอธิการบดีมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงานดังนี้

                   1.1 มีการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก (1.9-1(1))เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนสอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน จำนวน 2 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้

                   1.2 มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก (1.9-1(2)) เพื่อกำหนดกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงานให้ชัดเจนในวงรอบปีประกันอย่างชัดเจน

                   1.3 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก (1.9-1(3)) โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ประกอบด้วย คณะกรรมการที่ปรึกษา, คณะกรรมการอำนวยการ, คณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อทำหน้าที่ ให้คำปรึกษา แนะนำแก่คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา ดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้ทุกตัว

2มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

2. สำนักงานอธิการบดีมีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานรวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในดังนี้

                   2.1 มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน โดยมีผู้บริหารและบุคลากรของหน่วยงาน มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย โดยจัดทำประกาศเรื่องนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (1.9-2(1))                           มีรายละเอียดดังนี้

                   1) ประกาศสำนักงานอธิการบดี เรื่อง นโยบายประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

                   2.2 มีระบบสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน ๒ ระบบ ดังนี้

                   1) มีระบบการประเมินออนไลน์ ESAR (www.esar.sskru.ac.th) (1.9-2(2)) เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของหน่วยงาน สามารถเขียนผลการดำเนินงาน อัพโหลดเอกสารหลักฐานรายองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ สามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไข สืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   2) มีเว็ปไซต์หน่วยงาน http://www.sarabun.sskru.ac.th/ (1.9-2(3)) เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการเผยแพร่ผลการประเมิน SAR ข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้หน่วยงานภายนอก และภายในสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์

3มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน

3. สำนักงานอธิการบดีมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย  1) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ  2) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกำหนดเวลา 3) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานดังนี้

          3.1 การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ

          1) มีการควบคุม ติดตาม และประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ที่หน่วยงานแต่งตั้ง ผ่านการประชุมคณะกรรมการอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

           - การประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ 7/2565 (1.9-3(1)) เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากปีที่ผ่านมาเพื่อพิจารณา ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเพื่อนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินจากปีที่ผ่านมามาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา รับทราบปฏิทินการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ และพิจารณากำหนดมอบหมายผู้รับผิดชอบ ผู้กำกับตัวบ่งชี้ เพื่อนำมาแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

          - การประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ 8/2565 (1.9-3(2)) เพื่อพิจารณาแผนบริหารความเสี่ยง,แผนการจัดการความรู้,แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (QA Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2565

          - การประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ 9/2565 (1.9-3(3)) เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงานของกิจกรรมโครงการ และแผนงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง,แผนการจัดการความรู้,แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา(QA Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2565

          - การประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ 4/2565 (1.9-3(4)) เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงานของกิจกรรม โครงการ แผนงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน กำหนดคณะกรรมการตรวจประเมิน กำหนดวันตรวจประเมิน สรุปข้อมูลเพื่อเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR)

                   3.2 การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานอธิการบดี

          มีการนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก สำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา 2565 (1.9-3(5)) มาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การศึกษา (QA Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ โดยมีข้อเสนอแนะ จำนวน 6 ข้อ ประเด็น ดังนี้

  • การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์หน่วยงาน และถ่ายทอดแก่บุคลากรทุกคน มีการทบทวน ประเมินความสำเร็จของแผนและนำมาปรับปรุงคุณภาพทุกปี
  •   การพัฒนาแผนกลยุทธ์ทางการเงินของสำนักงานอธิการบดี โดยกำหนดแนวทางการจัดหาการได้มาซึ่งทรัพยากร กลยุทธ์ทางการเงินของสำนักงานอธิการบดี ด้านการเงิน โดยกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานและดัชนีวัดที่ชัดเจน
  • ความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน ควรให้ความสำคัญกับการปรับแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาความรู้ ความสามารถที่สอดคล้องกับทิศทางพัฒนาของสำนักฯ รวมถึงผลักดันให้บุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะและเชี่ยวชาญเฉพาะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ทบทวนเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาให้มีความเหมาะสม
  •    การจัดซื้อจัดจ้างให้ทันเวลาที่ต้องการใช้ได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปตามระเบียบ ควรมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ในการใช้งานของหน่วยงานของรัฐ มีราคาที่เหมาะสม และมีแผนการบริหารพัสดุที่เหมาะสม ชัดเจน
  • แนวทางการสร้างมาตรฐานจากหน่วยงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กำหนดแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้รับผิดชอบดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
4มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ

4. สำนักงานอธิการบดีมีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนยุทธศาสตร์ทุกตัวบ่งชี้ดังนี้

          มีการนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก สำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา 2564 และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 8/2565 มาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ (QA Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา 2565 หลังจากนั้นหน่วยงานได้นำแผนพัฒนาคุณภาพฯ เสนอที่ประชุมคณะกรรมการสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผน มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 (1.9-4(1)) พบว่า มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาปรับปรุง จำนวน 6 ข้อ สามารถดำเนินงาน บรรลุเป้าหมาย จำนวน  6 ข้อ หลังจากนั้น รายงานให้ผู้บริหารทราบและพิจารณา เพื่อให้ผู้บริหาร บุคลากรทุกระดับ มีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผน ดำเนินงาน และปรับปรุง ส่งต่อให้หน่วยงานมีผลการประเมิน มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังตารางนี้

          แสดงผลการประเมินย้อนหลัง 3 ปี

ตัวบ่งชี้

ผลการประเมิน

2565

2563

2564

8 ข้อ

4.75

4.88

4.67

5มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน

  5. สำนักงานอธิการบดี มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกันดังนี้

       5.1 เครือข่ายภายใน มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย ระหว่าง สำนักงานอธิการบดี กับ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ โดยมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (MOU) (1.9-5(1)) ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 มีระยะเวลาความร่วมมือเป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2569 โดยมีการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างเครือข่ายกิจกรรม

           1) การจัดการความรู้ (KM) ด้านการเงิน, งานพัสดุ, งานนโยบายและแผน

           2) ส่งเสริมบุคลากรเพื่อเข้าสู่ระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น

           3) ศึกษาดูงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานเพื่อให้เกิดคุณภาพและมาตรฐาน

           4) การยกระดับและพัฒนาบุคลากรเพื่อดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

           5) โครงการ Shoe & Share สำนักงานอธิการบดีและสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ สow & S

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5