ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ระดับความสําเร็จในการบริหารจัดการระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ณัฐพล เชื้อพนมนิธิยา
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

“งานสารบรรณ” หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทํา การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม และการทําลายเอกสาร สํานักงานอธิการบดี จึงมีการบริหารระบบงานสารบรรณหรือ งานเอกสารต่างๆ เหล่านี้ ให้มีแนวทางปฏิบัติที่ดีและเป็นระบบหรือฐานข้อมูลที่สามารถใช้สืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทําให้การดําเนินงานของมหาวิทยาลัยบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายได้อย่างดียิ่ง

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 หรือ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกการให้บริการของหน่วยงาน
2 มีการนําระบบและกลไกการบริการไปสู่การปฏิบัติ
3 มีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดําเนินงาน อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง
4 นําผลการประเมินรายงานต่อคณะกรรมการบริหารหน่วยงานเพื่อพิจารณาอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง
5 นําข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารหน่วยงานไปใช้ในการปรับปรุงระบบและกลไกในการดําเนินงานในภาคการศึกษาต่อไป
6 เอกสารถึงผู้รับ/ผู้เกี่ยวข้องภายในสองวันทําการ และร้อยละ 80 ของเอกสารทั้งหมด นับที่จุดรับเข้าระบบสารบรรณ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีระบบและกลไกการให้บริการของหน่วยงาน

1. มีระบบและกลไกการให้บริการของหน่วยงาน

  1. สำนักงานอธิการบดี มีระบบและกลไกด้านการให้บริการของหน่วยงาน ดังนี้

                   1.1 มีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ งานธุรการและสารบรรณ(2.2-1(1)) เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดำเนินงาน การจัดทำและรับ - ส่งหนังสือราชการ ด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์และถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564

                    1.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ดำเนินงานธุรการและสารบรรณด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ประจำหน่วยงาน (2.2-1(2)) เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม ควบคุม ตลอดจนการจัดทำและรับ – ส่งหนังสือราชการภายในหน่วยงาน

2มีการนําระบบและกลไกการบริการไปสู่การปฏิบัติ

2. สำนักงานอธิการบดีมีการนำระบบและกลไกการบริการไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้

                   2.1 มีการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ URL : (http://www.sarabun.sskru.ac.th/) (2.2-2(1)) เพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้สำหรับ รับ – ส่งหนังสือราชการและเพิ่มประสิทธิภาพด้านงานธุรการและสารบรรณภายในมหาวิทยาลัย

                   2.2 มีการจัดทำหนังสือบันทึกข้อความเรื่องการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.2-2(2)) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อกำชับและขอความร่วมมือในการเข้าใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัย โดยได้เริ่มใช้งาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นมา

                   2.3 มีการนำคู่มือการปฏิบัติงาน ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ งานธุรการและสารบรรณ (2.2-2(3)) เผยแพร่ผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 2/2566 (2.2-2(4)) ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 และขอความร่วมมือใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ภายในมหาวิทยาลัย

3มีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดําเนินงาน อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง

3. สำนักงานอธิการบดีมีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน อย่างน้อย ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง ดังนี้

                    3.1 มีการกำกับติดตามโดยคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ในการประชุมครั้งที่ 2/2566 (2.2-3(1)) ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อรับทราบการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์         

                   3.2 มีการจัดทำหนังสือบันทึกข้อความเรื่องขอความอนุเคราะห์ตอบแบบประเมินการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (2.2-3(2)) จัดส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อประเมินผลการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งส่วนการประเมินเป็น 4 ส่วนมีรายละเอียดดังนี้

                   ส่วนที่ 1 : ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 5 ข้อคำถาม

                   ส่วนที่ 2 : ความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 16 ข้อคำถาม ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้

  • ความสามารถของผู้ใช้งานระบบ e-document จำนวน 7 ข้อคำถาม
  • ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบ e-document จำนวน 6 ข้อคำถาม
  • การให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและสารบรรณ จำนวน 3 ข้อคำถาม

                    ส่วนที่ 3 : ปัญหาในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 14 ข้อคำถาม ประกอบด้วย  3 ด้าน ดังนี้

  •  การใช้งานระบบ e-document จำนวน 2 ข้อคำถาม
  •  ด้านการจัดการเอกสารระบบ e-document จำนวน 7 ข้อคำถาม
  •  ด้านการดำเนินงานระบบ e-document จำนวน 5 ข้อคำถาม

ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะ

4นําผลการประเมินรายงานต่อคณะกรรมการบริหารหน่วยงานเพื่อพิจารณาอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง

4. สำนักงานอธิการบดีมีการนำผลการประเมินรายงานต่อคณะกรรมการบริหารหน่วยงานเพื่อพิจารณาอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง ดังนี้

          4.1 มีการจัดทำรายงานผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-Document) (2.2-4(1)) พบว่า ความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และปัญหาในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มีระดับปัญหา อยู่ในระดับปานกลาง โดยสามารถแยกแต่ละด้านดังนี้

หัวข้อ

ค่าเฉลี่ย

ระดับความพึงพอใจ

ความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มากน้อยเพียงใด

1. ความสามารถของผู้ใช้งานระบบ E-Document

2. ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบ E-Document

3. การให้บริการของเจ้าหน้าที่งานธุรการและสารบรรณ

 

3.76

3.81

3.83

 

มาก

มาก

มาก

 

หัวข้อ

ค่าเฉลี่ย

ระดับปัญหา

ปัญหาในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

1. การใช้งานระบบ E-Document

2. ด้านการจัดการเอกสารระบบ E-Document

3. ด้านการดำเนินงานระบบ E-Document

 

3.07

3.18

3.18

 

ปานกลาง

ปานกลาง

ปานกลาง

 

4.2 มีการจัดทำหนังสือบันทึกข้อความเรื่องรายงายสรุปผลการประเมินความพึงพอใจและปัญหาการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (2.2-4(2)) เพื่อรายงานผลให้ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีทราบ

                   4.3 มีการนำรายงานผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-Document) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 4/2566 (2.2-4(3)) เพื่อพิจารณาผลการประเมิน โดยที่ประชุมให้ความเห็นชอบและข้อเสนอแนะ จำนวน 1 เรื่อง ดังนี้

ปรับขนาดการอัปโหลดไฟล์สูงสุด ให้สามารถส่งไฟล์เอกสารที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้

5นําข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารหน่วยงานไปใช้ในการปรับปรุงระบบและกลไกในการดําเนินงานในภาคการศึกษาต่อไป

 5. สำนักงานอธิการบดีมีการนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารหน่วยงานไปใช้ในการปรับปรุงระบบและกลไกในการดำเนินงานในภาคการศึกษาต่อไป ดังนี้

                   5.1 มีการจัดทำรายงานผลการปรับปรุงระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (2.2-5(1)) โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 4/2566 (2.2-5(2)) พิจารณาให้ข้อเสนอแนะ จำนวน 1 เรื่อง หลังจากนั้นหน่วยงานได้นำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาจัดทำแผนพัฒนา ระยะเวลาดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการปรับปรุง

ระยะเวลาดำเนินงาน

ผู้รับผิดชอบ

1. ปรับขนาดการอัปโหลดไฟล์สูงสุด ให้สามารถส่งไฟล์เอกสารที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้

1. ดำเนินการแก้ไขคำสั่งในระบบฐานข้อมูล phpMyAdmin

2. ดำเนินการแก้ไขการตั้งค่าในระบบ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถอัปโหลดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้

มิถุนายน 2566

คณะกรรมการดำเนินงานธุรการและสารบรรณด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

6เอกสารถึงผู้รับ/ผู้เกี่ยวข้องภายในสองวันทําการ และร้อยละ 80 ของเอกสารทั้งหมด นับที่จุดรับเข้าระบบสารบรรณ

6. เอกสารถึงผู้รับ/ผู้เกี่ยวข้องภายในสองวันทำการ และร้อยละ 80 ของเอกสารทั้งหมด นับที่จุดรับเข้าระบบสารบรรณ

                     6.1 มีการจัดทำรายงานสรุปผลการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (2.2-6(1)) โดยมีผลการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

หัวข้อ

จำนวน

ร้อยละ

เอกสารถึงผู้รับภายใน 2 วันทำการ

516

95.55

เอกสารที่ไม่มีผู้รับภายใน 2 วันทำการ

24

4.45

รวม

540

100

หนังสือราชการที่รับ-ส่งในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 540 ฉบับ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566)

         เอกสารถึงผู้รับภายใน 2 วันทำการ จำนวน 516 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95.55

         เอกสารที่ไม่มีผู้รับภายใน 2 วันทำการ จำนวน 24 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 4.45

                    6.2 มีการจัดเก็บหนังสือราชการไว้ในระบบสารบรรณอิเล็กทรอกนิกส์ (2.2-6(2)) (http://www.sarabun.sskru.ac.th/) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบค้นหนังสือราชการย้อนหลังได้

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5