ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ระดับความสําเร็จของการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ธงชัย เดชแสง , กนกกาญจน์ บุญทรง
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สํานักงานอธิการบดี เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2557 กล่าวคือ มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยตามกรอบการดําเนินงาน PDCA ได้แก่ การวางแผน การดําเนินงาน การกํากับติดตาม การประเมินผล และการนําผลการประเมินมาปรับปรุง และพัฒนา

ในส่วนของกองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้สํานักงานอธิการบดีที่มีหน้าที่ ควบคุม ดูแล และบริหารจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวจะช่วยคุ้มครองนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ตลอดจนผู้มาติดต่อราชการให้มีความปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยที่ดีในการปฏิบัติงาน

ทั้งนี้การบริหารจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน หมายรวมถึง การควบคุมดูแลการดําเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัยให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยด้านอาคารสถานที่ความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักรกลหรือวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ในการปฏิบัติงาน ความปลอดภัย ด้านงานจราจร เป็นต้น เพื่อช่วยคุ้มครองให้นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ตลอดจนผู้มาติดต่อราชการมีความปลอดภัยป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน และมีสุขภาพอนามัยที่ดีในการปฏิบัติงาน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกการดําเนินงานของหน่วยงาน
2 มีการนําระบบและกลไกการดําเนินงานไปสู่การปฏิบัติ
3 มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดําเนินงาน
4 นําผลการดําเนินงานรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และคณะกรรมการบริหารหน่วยงานเพื่อรับทราบอย่างน้อย 1 ครั้ง
5 นําข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยและคณะกรรมการบริหารหน่วยงานไปใช้ในการปรับปรุงระบบและกลไกในการดําเนินงานรอบต่อไป
6 มีมาตรการป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินโดยไม่ให้มีการสูญเสียชีวิตหรือทรัพย์สินไม่เกิน 10 ครั้งต่อปี
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีระบบและกลไกการดําเนินงานของหน่วยงาน

            1. สำนักงานอธิการบดี โดยฝ่ายรักษาความปลอดภัยและวินัยจราจร มีระบบกลไกการดำเนินงานของหน่วยงาน ดังนี้

                   1.1 มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานฝ่ายรักษาความปลอดภัย (2.4-1(1)) ที่เป็นระบบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความเข้าใจมีประสิทธิภาพ

                   1.2 มีการจัดทำประกาศ เรื่อง การรักษาความปลอดภัยและจราจรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.4-1(2)) เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาทราบแนวปฏิบัติ เวลาการเข้า-ออก การขับขี่ยานพาหนะภายในมหาวิทยาลัย รักษาทรัพย์สินส่วนบุคคลและทรัพย์สินของทางราชการ และมีการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ลิงค์ PR)

                   1.3 มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความความปลอดภัย (2.4-1(3)) โดยมีผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นประธาน มีเจ้าหน้าที่รักษาความความปลอดภัยจำนวน 18 นาย เป็นคณะกรรมการ และมีหัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจรเป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินรวมถึงการจัดระบบการจราจร

                   1.4 มีการจัดตารางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (2.4-1(4)) เพื่อมอบหมายเจ้าหน้าที่ประจำผลัดในการปฏิบัติงานให้อย่างชัดเจน

                   1.5  มีการจัดทำแบบฟอร์มการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (2.4-1(5)) เพื่อบันทึกและรายงานข้อมูลตามแบบฟอร์มการปฏิบัติหน้าที่ (เหตุการณ์ ปกติ/ไม่ปกติ แจ้งสาเหตุ)

                   1.6 มีการจัดทำบัตร เข้า - ออก (2.4-1(6)) บุคลากรและนักศึกษาทุกคนจะต้องมีบัตรเพื่อใช้สำหรับการเข้ามหาวิทยาลัยในยามวิกาล เพื่อเป็นการคัดกรองบุคคลภายนอกที่อาจเข้ามาก่อเหตุภายในมหาวิทยาลัย โดยมีการบันทึกข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อ ที่อยู่ ประเภทรถที่ใช้ ทะเบียนรถ เป็นต้น ((2.4-1(7)) ไว้เป็นหลักฐาน

2มีการนําระบบและกลไกการดําเนินงานไปสู่การปฏิบัติ

2. สำนักงานอธิการบดี โดยฝ่ายรักษาความปลอดภัยและวินัยจราจร มีการนําระบบและกลไกการดําเนินงานไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้

                   2.1 ภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัย

                           1) มีการจัดตารางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (2.4-2(1))โดยแบ่งการปฏิบัติหน้าที่ออกเป็น 3 ผลัด ผลัดละ 6 นาย เวลาปฏิบัติหน้าที่ผลัดละ 8 ชั่วโมงโดยมีการกำหนด 32 จุดทั่วมหาวิทยาลัย เช่น ประตูทางเข้า – ออก อาคารเรียน อาคารสำนักงาน หอพักนักศึกษา บ้านพักบุคลากร สนามกีฬา บริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย เป็นต้น

                           2) มีการจัดทำแบบฟอร์มการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (2.4-2(2)) โดยเจ้าหน้าที่รับผิดชอบบริเวณดังกล่าวจะต้องรายงานข้อมูลตามแบบฟอร์มการปฏิบัติหน้าที่(เหตุการณ์ ปกติ/ไม่ปกติ แจ้งสาเหตุ) ซึ่งมีหัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยและวินัยจราจรตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ทุกวัน กรณีมีเหตุฉุกเฉินสามารถติดต่อฝ่ายรักษาความปลอดภัยได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยฝ่ายฯจะประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อระงับเหตุโดยเร็วที่สุด

                            3) มีการจัดทำบัตร เข้า - ออก (2.4-2(3)) บุคลากรและนักศึกษาทุกคนจะต้องมีบัตรเพื่อใช้สำหรับการเข้ามหาวิทยาลัยในยามวิกาล เพื่อเป็นการคัดกรองบุคคลภายนอกที่อาจเข้ามาก่อเหตุภายในมหาวิทยาลัย โดยมีการบันทึกข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อ ที่อยู่ ประเภทรถที่ใช้ ทะเบียนรถ เป็นต้น ไว้เป็นหลักฐาน

                    2.2 ภารกิจด้านการจราจร

                          1)  มีการบังคับใช้ประกาศสวมหมวกกันนิรภัย 100% (2.4-2(4)) บุคลากร นักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่เข้าใช้บริการภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยจะต้องสวมหมวกนิรภัย 100% โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะทำตรวจตรวจบริเวณหน้าประตูทางเข้า - ออก  มหาวิทยาลัยทุกวัน หากไม่สวมจะต้องจอดรถจักรยานยนต์ไว้หน้าประตูทางเข้าแล้วเดินเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถจักรยานยนต์ของผู้ขับขี่

                          2) มีการจัดทำป้ายบอกทางและป้ายสัญลักษณ์จราจร (2.4-2(5)) โดยมีป้ายจุดจอดรถ ป้ายห้ามจอด เส้นขาว - แดง ยางชะลอความเร็ว พื้นที่ลานจอดรถ เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนขับขี่ได้อย่างมีระเบียบวินัยและมีความปลอดภัย

                          3) มีการบังคับใช้ประกาศ  เรื่อง การรักษาความปลอดภัยและจราจรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.4-2(6)) หากมีผู้กระทำความผิดวินัยจราจร เช่น การจอดรถในที่ห้ามจอด (เส้นขาว - แดง หรือป้ายห้ามจอด) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะทำการล็อกล้อ ผู้ที่กระทำผิดวินัยจราจรจะถูกเรียกเก็บบัตรนักศึกษาและจะได้รับใบแจ้งการกระทำความผิดวินัยจราจร ซึ่งจะต้องบำเพ็ญประโดยชน์ภายในมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 15 ชั่วโมง จึงจะได้รับบัตรคืน ซึ่งจะเป็นการป้องกันการกระทำความผิดวินัยจราจร

 

                   2.3 ภารกิจด้านการส่งเสริมและพัฒนาความรู้บุคลากรและนักศึกษาด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                          1) มีการจัดกิจกรรม/โครงการรณรงค์วินัยวินัยจราจรโครงการ  365 วันขับขี่ปลอดภัยรักษาวินัยจราจร (2.4-2(7))  วันที่  26ธันวาคม ถึงวัน 5 มกราคม 2565 ประตูทางเข้า มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย อาจารย์ ผู้นำนักศึกษา ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมโครงการ  พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติในการขับขี่ยานพาหนะได้ดีขึ้น

                           2) มีการจัดกิจกรรม/โครงการอบเชิงปฏิบัติการการป้องกันอัคคีภัยภายในอาคารสูง (2.4-2(8)) วันที่ 23 สิงหาคม 2565 ณอาคารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยอาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำนวน 150 คน แบ่งออกเป็นภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติซึ่งในภาคทฤษฏีมีการให้ความรู้ในเรื่องการเอาตัวรอดเมื่อเกิดอัคคีภัย  ลักษะของเหตุที่ทำให้เกิดอัคคีภัยการใช้เครื่องมือในการดับเพลิง ภาคปฏิบัติ มีการฝึกการเคลื่อนย้ายและอบพยบเมื่อเกิดเหตุอัคคี จำลองเหตุอัคคีภัยและฝึกใช้เครื่องมือในการดับเพลิงที่มีอยู่ในอาคาร(ถังดับเพลิง) พบว่า  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปใช้ได้ในขณะที่เกิดเหตุ

3มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดําเนินงาน

            3. สำนักงานอธิการบดี โดยฝ่ายรักษาความปลอดภัยและวินัยจราจรมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดําเนินงาน ดังนี้

                    3.1 มีการจัดทำหนังสือบันทึกข้อความ เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยและวินัยจราจร เป็นประจำทุกเดือน เช่น รายงานประจำเดือน มกราคม 2565 (2.4-3(1-12))

          3.2 มีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยและวินัยจราจร ประจำปีการศึกษา 2565 (2.4-3(13)) และเสนอต่อผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความปลอดภัยและวินัยจราจร เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

4นําผลการดําเนินงานรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และคณะกรรมการบริหารหน่วยงานเพื่อรับทราบอย่างน้อย 1 ครั้ง

4. นําผลการดําเนินงานรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และคณะกรรมการบริหารหน่วยงานเพื่อรับทราบอย่างน้อย ๑ ครั้ง

                    4.1 มีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยและวินัยจราจร ประจำปีการศึกษา 2565 (2.4-4(1)) และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 1/2565 (2.4-4(2)) เพื่อโปรดทราบและพิจารณา และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2565 (2.4-4(3)) เพื่อโปรดทราบและพิจารณา โดยมีข้อเสนอแนะ จำนวน 2 ข้อ ดังนี้

                           1) ควรมีโทรศัพท์ประจำป้อมยามเพื่อใช้ติดต่อประสานงาน และรับแจ้งเหตุ

                           2) ควรให้ย้ายห้องควบคุมกล้องวงจรปิดจากอาคาร 9 ไปอาคารฝ่ายรักษาความปลอดภัย

5นําข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยและคณะกรรมการบริหารหน่วยงานไปใช้ในการปรับปรุงระบบและกลไกในการดําเนินงานรอบต่อไป

            5. นําข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยและคณะกรรมการบริหารหน่วยงานไปใช้ในการปรับปรุงระบบและกลไกในการดําเนินงานรอบต่อไป

                    5.2 มีการนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ มาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน (2.4-5(1)) ดังนี้

 ข้อเสนอแนะ

การดำเนินงาน

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

1. ควรมีโทรศัพท์ประจำป้อมยามเพื่อใช้ติดต่อประสานงาน และรับแจ้งเหตุ

การปรับปรุง :

(/) ปรับปรุงกระบวนการ

( ) ปรับปรุงโครงการ

( ) ปรับปรุงแผน

การดำเนินการ :

(/) ดำเนินการแล้ว : มีการนำข้อเสนอแนะรายงานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 2/2564 (2.4-5(2)) ในระเบียบวาระ อื่นๆ และมีการจัดทำหนังสือบันทึกข้อความเพื่อขออนุมัติโทรศัพท์ประจำป้อมยาม (2.4-5(3))

(  ) อยู่ระหว่างการดำเนินงาน :

(/) ยังไม่ดำเนินการ : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ดำเนินการจัดซื้อและติดตั้ง

 

 

 

20 พฤษภาคม 2566

 

 

 

 

 

ปีการศึกษา 2566

 

 

 

 

 

 

ฝ่ายรักษาความปลอดภัยและวินัยจราจร

 

ฝ่ายโสตทัศนู-

ปกรณ์

2. 1. ควรย้ายห้องควบคุมกล้องวงจรปิดจากอาคาร 9 ไปที่อาคารศูนย์รักษาความปลอดภัย

 

 

 

 

 

 

การปรับปรุง :

(/) ปรับปรุงกระบวนการ

( ) ปรับปรุงโครงการ

( ) ปรับปรุงแผน

 

การดำเนินการ :

(/) ดำเนินการแล้ว : มีการนำข้อเสนอแนะรายงานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 2/2564 (2.4-5(2)) ในระเบียบวาระ อื่นๆ และมีการจัดทำหนังสือบันทึกข้อความเพื่อขออนุมัติโทรศัพท์ประจำป้อมยาม (2.4-5(3))

(  ) อยู่ระหว่างการดำเนินงาน :

(/) ยังไม่ดำเนินการ : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ดำเนินการจัดซื้อและติดตั้ง

20 พฤษภาคม 2566

 

 

 

 

 

 

ปีการศึกษา 2566

ฝ่ายรักษาความปลอดภัยและวินัยจราจร

 

 

 

 

 

ฝ่ายโสตทัศนู-

ปกรณ์

6มีมาตรการป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินโดยไม่ให้มีการสูญเสียชีวิตหรือทรัพย์สินไม่เกิน 10 ครั้งต่อปี

6. มีมาตรการป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินโดยไม่ให้มีการสูญเสียชีวิตหรือทรัพย์สินไม่เกิน ๑๐ ครั้งต่อปี

                     6.1 มีการจัดทำมาตรการป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน โดยจัดทำเป็นประกาศ เรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัยและวินัยจราจร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.4-6(1)) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในด้านความปลอดภัยและรักษาวินัยจราจร และมีการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวอย่างเข้มงวด ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2564 มีสถิติการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินลดน้อยลง ดังตารางนี้

จำนวนครั้ง/ปี

ปีการศึกษา

2563

2564

2565

การสูญเสียชีวิต(เสียชีวิต)

-

-

-

การสูญเสียชีวิต(บาดเจ็บ)

3 ครั้ง

2 ครั้ง

2 ครั้ง

การสูญเสียทรัพย์สิน

5 ครั้ง

3 ครั้ง

0 ครั้ง

รวมทั้งสิ้น

8 ครั้ง

5 ครั้ง

2 ครั้ง

หมายเหตุ  การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินส่วนใหญ่เกิดจาก การใช้รถใช้ถนน เช่น อุบัติเหตุรถเฉี่ยวชน รถล้ม เป็นสาเหตุให้เกิดการปวดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5