ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดบริการหอพักนักศึกษาให้ได้มาตรฐาน

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วิไลพร คำผาย , กนกกาญจน์ บุญทรง
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

หอพักนักศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของระบบกิจการนักศึกษา เป็นเครื่องมือทางการศึกษาที่ช่วยหล่อหลอมพัฒนาบุคลิกภาพของนักศึกษาให้สามารถปรับตัวใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข หอพักมีส่วนสำคัญอันเป็นแหล่งสนับสนุนให้การศึกษาเล่าเรียนของนักศึกษาทุกระดับเป็นไปอย่างราบรื่นมีประสิทธิภาพ การจัดบริการหอพักนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่จะมีแนวคิดในการจัดระบบบริหารหอพักในลักษณะเป็น “ศูนย์ศึกษาและอาศัย” (Living and Learning Center) มีระบบดูแลด้านกายภาพ ดูแลด้านความปลอดภัย และมีระบบการพัฒนานักศึกษา มีบุคลากรที่ดูแลบริหารงานอย่างมีระบบ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการจัดทำแผนที่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหอพักนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
2 มีการดำเนินการตามแผน
3 มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนานักศึกษา
4 มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาหอพัก
5 มีการนำผลการประเมินจากข้อ 5 มาปรับปรุง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการจัดทำแผนที่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหอพักนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

สำนักงานอธิการบดี โดย งานพัฒนานักศึกษา มีการจัดทำแผนที่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหอพักนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้ 

   1.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหอพักนักศึกษา (2.6-1(1)) โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่หอพักและ คณะกรรมการหอพัก (นักศึกษา) มีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการ มีหน้าที่ประชุม วางแผน จัดทำแผน ประเมิน ปรับปรุง และดำเนินตามแผนหอพักหอพักนักศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

    1.2 มีการจัดประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนดำเนินงานหอพักนักศึกษา ครั้งที่ 1/2565 (2.6-1(2)) เพื่อจัดทำแผนดำเนินงานหอพักนักศึกษา 2565 โดยมีการกำหนดกิจกรรม/โครงการ เพื่อพัฒนานักศึกษา พร้อมทั้งจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอในการบริหารจัดการหอพักที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหอพักของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมจัดทำแผนดังกล่าวมีผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของนักศึกษาหอพัก

    1.3 แผนดำเนินงานหอพักนักศึกษา 2565 (2.6-1(3)) มีการกำหนดกิจกรรมโครงการตามแผน จำนวน 6 โครงการ ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผน จำนวนทั้งสิ้น 8,645,440 บาท ซึ่งครอบคลุมและเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาหอพัก สิ่งอำนวยความสะดวก และการบริหารจัดการหอพักให้มีประสิทธิภาพ

    1.4 แผนดำเนินงานหอพักนักศึกษา 2565 ผ่านความเห็นชอบตามมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาหอพักนักศึกษา ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 

2มีการดำเนินการตามแผน

สำนักงานอธิการบดี โดย งานพัฒนานักศึกษา มีการดำเนินการตามแผน ดังนี้

    มีการกำหนดกิจกรรมตามแผนดำเนินงานหอพักนักศึกษา 2565 ไว้จำนวน 6 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 6 โครงการ คิดเป็นร้อยละ100 ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น8,645,440 บาท สามารถเบิกจ่ายจำนวน 8,645,440  บาท คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการตามแผน ดังนี้

กิจกรรมโครงการ

ผลการดำเนินงาน

1. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาหอพัก (2.6-2(1))

มีการจัดโครงการเมื่อวันที่ 23 - 25 พฤษภาคม 2565 ณ หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีนักศึกษาหอพักเข้าร่วมจำนวน 613 คน มีระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการโดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ย4.50 ผลจากการเข้าร่วมโครงการพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ ในกฎระเบียบและแนวปฏิบัติในการอยู่หอพัก และสามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

2. โครงการศูนย์เพื่อนใจ SSKRU (2.6-2(2))

มีการจัดโครงการเมื่อวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2565 ณ หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีนักศึกษาหอพักเข้าร่วมจำนวน 40 คน มีระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการโดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ย4.45 ผลจากการเข้าร่วมโครงการพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ มีความสามัคคีในหมู่คณะ

3. โครงการป้องกันอัคคีภัย และอพยพหนีไฟ (2.6-2(3))

มีการจัดโครงการเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 ณ หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีนักศึกษาหอพักเข้าร่วมจำนวน 100 คน มีระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการโดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.00 ผลจากการเข้าร่วมโครงการพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในหลักและทฤษฎีเกี่ยวกับอัคคีภัย รวมทั้งหลักการอพยพหนีไฟ

4. โครงการนักศึกษาหอพักวิธีพอเพียง (2.6-2(4))

มีการจัดโครงการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ณ หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีนักศึกษาหอพักเข้าร่วมจำนวน 50 คน มีระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการโดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.90 ผลจากการเข้าร่วมโครงการพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

5. โครงการปรับปรุงอาคารหอพัก ห้องพักนักศึกษาและบุคลากร (2.6-2(5))

การบริหารจัดการโครงการ จัดซื้อจัดจ้าง ตามแผนที่ตั้งไว้ มีความพร้อมสมบูรณ์และเกิดความปลอดภัย ในการดำเนินงานตามพันธกิจตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. โครงการบริหารจัดการหอพักนักศึกษา (2.6-2(6))

มีการบริหารจัดการในสำนักงานหอพักนักศึกษาตลอดปีการศึกษา 2565 สำนักงานหอพักมีการบริหารจัดการ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ อย่างมีประสิทธิภาพ

3มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนานักศึกษา

สำนักงานอธิการบดี โดย งานพัฒนานักศึกษา มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนานักศึกษา ดังนี้

   3.1 สิ่งอำนวยความสะดวดภายในห้องพัก  มีพื้นที่ใช้สอย 8 ตารางเมตรต่อคน และในห้องนอนมีเตียงพร้อมที่นอน ตู้เสื้อผ้า โต๊ะเขียนหนังสือ และที่เก็บสิ่งของส่วนตัวที่เป็นสัดส่วน (2.6-3(1))

    3.2 มีการจัดบริการเครื่องซักผ้าหยดเหรียญ (2.6-3(2)) จำนวน 3 จุด ดังนี้

- จุดที่ 1 บริเวณหลังสำนักงานหอพัก จำนวน 16 เครื่อง - จุดที่ 2 บริเวณหลังอาคารหอพักหญิงกาสะลอง 1 จำนวน 16 เครื่อง

- จุดที่ 3 บริเวณใต้อาคารหอพักหญิงช่อลำดวน  1 จำนวน 6 เครื่อง

       สามารถช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับอาจารย์และนักศึกษาหอพักที่ใช้บริการ ร้อยละ 90 ของนักศึกษาหอพัก

     3.3 มีการให้บริการร้านสะดวกซื้อ (2.6-3(3))  สำหรับบริการนักศึกษาหอพักที่เพียงพอ เช่น มินิบิ๊กซี ร้านสะดวกซื้อบริเวณสำนักงานหอพัก ร้านกาแฟ โรงอาหาร เป็นต้น

    3.4 พื้นที่สำหรับออกกำลังกายส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมสันทนาการ (2.6-3(4)) เช่น ห้อง Fitness สนามกีฬา เส้นทางสำหรับปั่นจักรยานและเดินออกกำลังกาย เป็นต้น

    3.5 มีการให้บริการห้องพยาบาลและยาสามัญประจำบ้าน มีห้องพยาบาลภายในอาคารหอพักจำนวน 4 เตียง พร้อมเจ้าหน้าที่ให้บริการและให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง (2.6-3(5)) 

    3.6 มีพื้นที่สำหรับจอดยานพาหนะทุกอาคาร ที่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา (2.6-3(6)) 

    3.7 มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐาน (2.6-3(7)) เช่น สัญญาณเตือนภัยภายในอาคาร เจ้าหน้ารักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิดทั้งภายในและภายนอกอาคารติดตั้งอย่างทั่วถึงมีสภาพพร้อมใช้งาน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สายตรวจดูแลความปลอดภัยสม่ำเสมอ

     3.8 มีการดูแลรักษาความสะอาดอาคารหอพัก (2.6-3(8)) เช่น มีแม่บ้านดูแลความสะอาดประจำอาคารละ 1 คน มีจุดคัดแยกขยะมูลฝอย เป็นต้น

    3.9 จัดสภาพแวดล้อมหอพักนักศึกษาที่เอื้อต่อการพักอาศัย (2.6-3(9)) เช่น ปลูกต้นไม้ จัดสวนหย่อม เป็นต้น

    3.10 มีสำนักงานอำนวยการหอพักนักศึกษา (2.6-3(10)) โดยมีบุคลากรให้บริการจำนวน 15 คน อำนวยความสะดวก  เช่น จุดประชาสัมพันธ์ ให้บริการ ยืม คืน กุญแจห้องพัก บริการซ่อมบำรุงสาธารณูปโภค และอื่น ๆ เป็นต้น

    3.11 สิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (2.6-3(11)) เช่น มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต Wi-Fi ครอบคลุมพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกอาคารหอพัก บริการห้องประชุม ห้องติวเตอร์ สำหรับการจัดกิจกรรม จุดนั่งพักผ่อนและอ่านหนังสือ เป็นต้น ทั้งเพื่อการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต

4มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาหอพัก

สำนักงานอธิการบดี โดย งานพัฒนานักศึกษา มีการประเมินผลการดำเนินงานแผนการดำเนินงานหอพักนักศึกษา 2565 และประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาหอพัก ดังนี้

   4.1 มีการกำหนดกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานหอพักนักศึกษา 2565 ไว้จำนวน 6 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 6 โครงการ คิดเป็นร้อยละ100 ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 8,645,440 บาท สามารถเบิกจ่ายจำนวน 8,645,440.- บาท คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการตามแผน ดังนี้

กิจกรรมโครงการ

ผลการดำเนินงาน

1. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาหอพัก (2.6-4(1))

มีการจัดโครงการเมื่อวันที่ 23 - 25 พฤษภาคม 2565 ณ หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีนักศึกษาหอพักเข้าร่วมจำนวน 613 คน มีระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการโดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ย4.50 ผลจากการเข้าร่วมโครงการพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ ในกฎระเบียบและแนวปฏิบัติในการอยู่หอพัก และสามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

2. โครงการศูนย์เพื่อนใจ SSKRU (2.6-4(2))

มีการจัดโครงการเมื่อวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2565 ณ หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีนักศึกษาหอพักเข้าร่วมจำนวน 40 คน มีระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการโดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ย4.45 ผลจากการเข้าร่วมโครงการพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ มีความสามัคคีในหมู่คณะ

3. โครงการป้องกันอัคคีภัย และอพยพหนีไฟ (2.6-4(3))

มีการจัดโครงการเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 ณ หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีนักศึกษาหอพักเข้าร่วมจำนวน 100 คน มีระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการโดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.00 ผลจากการเข้าร่วมโครงการพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในหลักและทฤษฎีเกี่ยวกับอัคคีภัย รวมทั้งหลักการอพยพหนีไฟ

4. โครงการนักศึกษาหอพักวิธีพอเพียง (2.6-4(4))

มีการจัดโครงการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ณ หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีนักศึกษาหอพักเข้าร่วมจำนวน 50 คน มีระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการโดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.90 ผลจากการเข้าร่วมโครงการพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

5. โครงการปรับปรุงอาคารหอพัก ห้องพักนักศึกษาและบุคลากร (2.6-4(5))

การบริหารจัดการโครงการ จัดซื้อจัดจ้าง ตามแผนที่ตั้งไว้ มีความพร้อมสมบูรณ์และเกิดความปลอดภัย ในการดำเนินงานตามพันธกิจตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. โครงการบริหารจัดการหอพักนักศึกษา (2.6-4(6))

มีการบริหารจัดการในสำนักงานหอพักนักศึกษาตลอดปีการศึกษา 2565 สำนักงานหอพักมีการบริหารจัดการ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ อย่างมีประสิทธิภาพ

 

   4.2 มีการจัดทำสรุปรายงานผลการประเมินความสำเร็จของแผนดำเนินงานหอพักนักศึกษา 2565 (2.6-4(7)) โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของแผนดำเนินงานหอพักนักศึกษา 2565 จำนวน 2 ตัวชี้วัด ดำเนินการบรรลุเป้าหมาย ไม่บรรลุเป้าหมาย จำนวน  0  ตัวชี้วัด

    4.3 มีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่พักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2565 (2.6-4(8)) โดยแจกแบบสอบถาม จำนวน 300 ชุด ได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน 300 ชุด โดยมีผลการประเมินในภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ย 3.95 อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยแต่ละด้านดังนี้  

       1) ด้านความปลอดภัย  มีค่าเฉลี่ย 3.95 อยู่ในระดับ มาก

       2) ด้านความสะอาด มีค่าเฉลี่ย 3.75 อยู่ในระดับ มาก

       3) ด้านความสภาพภูมิทัศน์ มีค่าเฉลี่ย 3.93 อยู่ในระดับ มาก

       4) ด้านการให้บริการ มีค่าเฉลี่ย 3.94 อยู่ในระดับ มาก

       5) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ย 3.85 อยู่ในระดับ มาก

       6) ด้านการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม มีค่าเฉลี่ย 3.84 อยู่ในระดับ มาก

        และมีข้อเสนอแนะ จำนวน 10 ประเด็น โดย สามารถจัดกลุ่มของข้อเสนอแนะ จากการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะทั้ง 10 ประเด็น พบว่า สามารถจัดกลุ่มของปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไข้ได้จำนวน 2 ประเด็นดังนี้

  1. นักศึกษาติดในห้องน้ำควรเปลี่ยนจากลูกบิดห้องน้ำเป็นกลอนล็อคประตูแทน
  2. ควรแก้ไขจุดกระจายสัญญาณ Wifi ควรติดจุดกระจายสัญญาณ wifi เพิ่ม เพราะมีห้องที่อยู่มุมสุดทุกห้องไม่สามารถรับสัญญาณได้

    4.4 มีการรายงายผลประเมินความสำเร็จของแผนปฎิบัติการประจำปีการศึกษา 2565 เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ โดยมีข้อเสนอแนะจำนวน 2 ประเด็น ดังนี้

      1.นักศึกษาติดในห้องน้ำควรเปลี่ยนจากลูกบิดห้องน้ำเป็นกลอนล็อคประตูแทน

      2. ควรแก้ไขจุดกระจายสัญญาณ Wifi ควรติดจุดกระจายสัญญาณ wifi เพิ่ม เพราะมีห้องที่อยู่มุมสุดทุกห้องไม่สามารถรับสัญญาณได้

5มีการนำผลการประเมินจากข้อ 5 มาปรับปรุง

สำนักงานอธิการบดี โดย งานพัฒนามีการนำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุง ดังนี้

        มีการนำข้อเสนอแนะจากนักศึกษาหอพักและจากที่ประชุมคณะกรรมคณะกรรมการจัดทำแผนดำเนินงานหอพักนักศึกษา 2566 มาจัดทำร่างปฏิทินแผนการดำเนินงานหอพักนักศึกษา 2567 (2.6-5(1)) โดยกำหนดแนวทางการปรับปรุง ตัวชี้วัดค่าเป้าหมายความสำเร็จ ระยะเวลาและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยมีการดำเนินการดังนี้

ข้อเสนอ

แนะ

แนวทางการปรับปรุง

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

1.นักศึกษาติดในห้องน้ำควรเปลี่ยนจากลูกบิดห้องน้ำเป็นกลอนล็อคประตูแทน

มีการจัดทำแผนการสำรวจอาคาร และวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุด อย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อซ่อมบำรุงให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ

 

- จำนวนแผนการสำรวจอาคาร และวัสดุอุปกรณ์ 1 แผน

- จำนวนการกำกับติดตามและสำรวจ 2 ครั้งต่อปี

- ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาหอพักในภาพรวมไม่น้อยกว่า 3.51

ปีการศึกษา 2566

เทิดศักดิ์ ทองเกิด

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5