ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : จิตอารีย์ บุญนำ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผู้บริหารของหน่วยงานแสดงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ให้นโยบาย สร้างบรรยากาศ กําหนดแนวทางกํากับติดตาม แสดงตนเป็นตัวอย่างที่ดี ทําให้มั่นใจว่าพันธกิจและวิสัยทัศน์สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับหลักจริยธรรม พฤติกรรมที่มีจริยธรรมควรมีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สามารถตรวจสอบได้ บุคลากรประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับรู้และเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล ของหน่วยงาน สามารถอธิบายการดําเนินงานได้อย่างชัดเจนครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ได้แก่ 1) หลักประสิทธิผล 2) หลักประสิทธิภาพ 3) หลักการตอบสนอง 4) หลักภาระรับผิดชอบ 5) หลักความโปร่งใส 6) หลักการมีส่วนร่วม 7) หลักการกระจายอํานาจ 8) หลักนิติธรรม 9) หลักความเสมอภาค และ 10) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 หรือ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 หรือ 8 ข้อ มีการดำเนินการ 9 หรือ 10 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2 หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
3 หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง
4 หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ
5 หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้
6 หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา
7 หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ
8 หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
9 หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ
10 หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล ดังนี้

    1. มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักวิทยบริการฯ (1.5 – 1 (1)) เพื่อกำหนดเป้าหมายในการบริหารงานมีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์สู่บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการกำกับติดตามโดยผู้บริหารอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้มีผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัดเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนี้

ยุทธศาสตร์

กลยุทธ์

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุเป้าหมาย

พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาการเรียน การสอนที่ปรับเปลี่ยนแนวทางรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม

 

 

1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณตามในไตรมาสที่ 3

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณตามไตรมาสที่ 3

เกินร้อยละ 90

รายงานผลการประเมินความสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์

 

 

 

 

 

 

           

บรรลุ

 

2. การเพิ่มศักยภาพการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะด้านดิจิทัล

 

1.จำนวนโครงการ/กิจกรรมพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับนักศึกษา

 

จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่พัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 2 กิจกรรม

 

มีการจัดโครงการและกิจกรรมตามระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล โดยมีรายละเอียด โครงการตามแผน จำนวน 3 โครงการ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ 3 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีรายงานผลการดำเนินโครงการ ดังนี้

1. กิจกรรมฝึกอบรมการพัฒนาและการจัดการเว็บไซต์ของหน่วยงาน ด้วยโปรแกรม WordPress

2. กิจกรรมอบรมการใช้โปรแกรม Zoom และกลุ่มโปรแกรม Google ในการจัดการเรียนการสอน (สำหรับนักศึกษา)

3. โครงการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565

    บรรลุ

 

 

2.ร้อยละนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบทักษะดิจิทัล

2.ร้อยละนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบทักษะดิจิทัล

ไม่น้อยกว่า 60

ร้อยละของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายที่เข้าสอบและสอบผ่านเกณฑ์วัดระดับทักษะด้านดิจิทัล ในปีการศึกษา 2565 มีจำนวนผู้เข้าสอบ จำนวน 1,448 คน และมีจำนวนผู้สอบผ่านเกณฑ์ วัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า) จำนวน 1,314 คน คิดเป็นร้อยละ 90.74

 

พัฒนาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยให้พร้อมในการออกไปพัฒนาท้องถิ่นสังคม และประเทศชาติ

 

3. การส่งเสริม พัฒนาและบริการสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

 

1.มีการจัดหาระบบการเช่าระบบ Mooc

 

จำนวน 1 ระบบ

นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

 

บรรลุ

 

4. การพัฒนาและบริการทรัพยากรสารสนเทศ

1.มีการจัดหาซื้อระบบ E-book เพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่าน ดังต่อไปนี้

1. GALE

2. SE-ED 

3. Chula

 

           

จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่พัฒนาและบริการทรัพยากรสารสนเทศ ไม่น้อยกว่า 2 กิจกรรม

นักศึกษา และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

บรรลุ

บริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และสร้างความเข้มแข็งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน

 

 

 

 

5.พัฒนาบริการวิชาการสู่สังคม ชุมชนท้องถิ่น

 

 

 

 

 

 

 

ระดับความสำเร็จของการบริการวิชาการสู่สังคม ชุมชนและท้องถิ่น

ระดับความสำเร็จของการบริการวิชาการสู่สังคม ชุมชนและท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า

ร้อยละ 3.51

สรุปผลการดำเนินโครงการ : บริการวิชาการโรงเรียนหนองสาดโนนเจริญ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 ณ โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น จำนวน 42 คน มีนักเรียนเข้าร่วมจำนวน 28 คน และมีคณะครูจำนวน 7คน มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 35 คน
ผลสรุปการวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมโดยภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 4.48

บรรลุ

6.พัฒนาการประชาสัมพันธ์องค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

จำนวนเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประชาสัมพันธ์

 

จำนวนเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประชาสัมพันธ์

ระดับความสำเร็จด้านการประชาสัมพันธ์องค์กร

ไม่น้อยกว่า 1 แหล่ง

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีจำนวนเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประชาสัมพันธ์ข่าวสารภายในองค์กร จำนวน 2 แหล่ง คือ

1.เฟสบุ๊กสำนักวิทยบริการ

2.เว็บไซต์สำนักวิทยบริการ

 

บรรลุ

7.การบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร

 

จำนวนความสำเร็จการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร

จำนวนความสำเร็จการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร

อย่างน้อย 1 กิจกรรม

 ประเด็นความเสี่ยงตามแผน จํานวน 3 ประเด็น

2.ระดับความเสี่ยงลดลง จํานวน 1 เรื่อง คือประเด็นความเสี่ยงผู้ใช้บริการห้องสมุดมีจำนวนลดลง และความเสี่ยงเท่าเดิม จํานวน  2  เรื่อง คือ ประเด็นความเสี่ยงงบประมาณไม่เพียงพอ  และประเด็นความเสี่ยงภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์จากการถูกโจมตีระบบ

บรรลุ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8.พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา

ระดับความสำเร็จการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา

มีการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างน้อย 1 แหล่ง

 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 2 แหล่ง ดังนี้

1) คำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับตัวบ่งชี้และจัดเก็บข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2565

 

 

 9.พัฒนาระบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในองค์กร

ระดับความสำเร็จการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในองค์กร

มีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในองค์กร อย่างน้อย 1 แหล่ง

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการพัฒนาระบบการบริหารตามหลักธรรมมาภิบาล และความโปร่งใสในองค์กรจำนวน 3 แหล่ง ดังนี้

1) ประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง เจตจำนงสุจริต เสริมสร้างคุณธรรม และความโปร่งใสประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

2) ประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง  นโยบายการจัดการเรื่องร้องเรียนของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

3) ประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

เรื่อง  นโยบายการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

    บรรลุ

10. พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เกิดทักษะและสมรรถนะที่สูงขึ้น

 

ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดทักษะและสมรรถนะที่สูงขึ้น

มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดทักษะและสมรรถนะที่สูงขึ้นร้อยละ 80

มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดทักษะ
และสมรรถนะที่สูงขึ้น
ร้อยละ 100

   บรรลุ

จำนวนโครงการ/กิจกรรมระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร

มีโครงการ/กิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพบุคลากร ไม่น้อยกว่า 2 โครงการ/กิจกรรม

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดจำนวน 2 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 2 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ดังนี้

    1) โครงการไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

    2) โครงการประชุมสามัญและส่งเสริมศักยภาพบุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

 บรรลุ

 

มีระดับความสำเร็จการดำเนินงานตามแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร

ไม่น้อยกว่า 3.51

1) โครงการไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.62

2) ) โครงการประชุมสามัญและส่งเสริมศักยภาพบุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.14

   บรรลุ

 11. พัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือก้าวหน้าในสายวิชาชีพ

 

จำนวนบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น หรือก้าวหน้าในสายวิชาชีพ

มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น หรือก้าวหน้าในสายวิชาชีพ จำนวน 17 คน

มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น หรือก้าวหน้าในสายวิชาชีพ จำนวน 17 คน

 

 

 

   บรรลุ

จำนวนบุคลากรที่ยื่นขอเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

มีบุคลากรที่ยื่นขอเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นจำนวน 6 คน

มีจำนวนบุคลากรที่ยื่นขอเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นเพียง จำนวน 6 คน

บรรลุ

จำนวนบุคลากรที่ได้รับแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

มีบุคลากรที่ได้รับแต่งตั้งเข้าสู่

ตำแหน่งที่สูงขึ้น จำนวน 1 คน

มีบุคลากรที่ได้รับแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น 2 คน

1.นางลำพึง บัวจันอัฐ เข้าสู่ตำแหน่ง บรรณารักษ์ชำนาญการ

2. นายพีรพัฒน์ แสงขาว เข้าสู่ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ

 

2หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

2.1 ผู้บริหารให้ความสำคัญในการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการประชุมคณะกรรมการบอร์ดต่างๆ เพื่อกำกับติดตามและใช้มติที่ประชุมในการหาข้อสรุปร่วมกัน โดยมีหัวหน้างานเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการประจำสำนักฯ (1.5 – 2 (1)) คณะกรรมการบริหารสำนักฯ (1.5 – 2 (2)) หัวหน้างานสำนักฯ (1.5 – 2 (3)) เป็นต้น

  2.4 มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างงาน เพื่อลดต้นทุนในการเช่า ซื้อ หรือจ้าง เช่น การใช้ห้องประชุมสถานที่หรืออาคาร การยืม วัสดุอุปกรณ์ การบูรณาการจัดกิจกรรมต่างๆ ระหว่างหน่วยงาน การร่วมโครงการหรือกิจกรรม และอื่นๆ เป็นต้น

  2.5 มีการใช้นวัตกรรมในการบริหารจัดการองค์กร โดยมีการมอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้มีระยะเวลา ต้นทุนที่น้อยลง แต่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้ง มีการนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการหน่วยงาน ดังนี้

ชื่อระบบ

รายละเอียด

1.โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI  AUTOLIB

 

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI Auto Lib ช่วยในการบริหารจัดการงานของห้องสมุด เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการให้บริการยืม - คืนสารสนเทศภายในห้องสมุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศภายในห้องสมุด และจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลหนังสือ ประวัติการเข้าใช้บริการ

ระบบเก็บสถิติผู้เข้าใช้2.

ระบบเก็บสถิติผู้เข้าใช้เป็นระบบที่พัฒนาต่อยอดมาจากฐานข้อมูลของระบบเดิมซึ่งใช้เทคโนโลยีในการ พัฒนาที่สูงขึ้นมีการปรับเปลี่ยนหน้าตาของโปรแกรมให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งสามารถ ย่อขยายขนาดตามขนาดหน้าจอได้อีกด้วย (Responsive) โดยสามารถเก็บสถิติได้ทั้งชั้น 1 และชั้น 5 พร้อมทั้งสามารถรายงานผลออกมาเป็นรายวันและรายเดือนได้อีกด้วย

3. ระบบการใช้ห้องประชุมกลุ่มย่อยชั้น 3 และชั้น 5

ระบบห้องประชุมกลุ่มย่อยเป็นระบบที่ให้บริการยืม – คืนห้องประชุมกลุ่มย่อยที่มีอยู่ที่บริเวณชั้น 3 และ ชั้น 5 การทำงานของระบบคือสามารถเลือกห้องที่เป็นสีเขียวหมายถึงห้องที่ว่างได้ตามความต้องการของผู้ใช้โดยเมื่อมีการเลือกห้องแล้วก็จะมีการเก็บสถิติการเข้าใช้ห้องด้วยการบันทึกรหัสนักศึกษาจากบัตรเมื่อบันทึกแล้วห้องที่เลือกก่อนหน้านี้จะเปลี่ยนสถานะเป็นสีแดงหมายถึงห้องไม่ว่างพร้อมจะมีรายงานวัน เวลา รหัสผู้ใช้ปรากฏออกมาทางหน้าจอเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ และสามารถคลิกคืนห้องได้เมื่อผู้ใช้บริการนำกุญแจมาคืน

 

4.จัดเก็บครุภัณฑ์สำนักงาน

 

 

อาคารห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นอาคารที่มีครุภัณฑ์เป็นจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาเวลาตรวจสอบว่าครุภัณฑ์ชิ้นนี้อยู่ที่ไหนเลขครุภัณฑ์อะไรโดยระบบเดิมได้มีการจดบันทึกลงบันกระดาษและ โปรแกรม Microsoft Excel ซึ่งยากต่อการจัดการมาก โดยฉะเพราะเวลาตรวจนับครุภัณฑ์บ่อยครั้งที่หาเลขครุภัณฑ์ไม่เจอ หรือ จำไม่ได้ว่าของชิ้นนี้อยู่ตรงไหนของตึกและส่วนงานใดคือผู้ดูแลจึงมีการคิดที่จะพัฒนาระบบตรงนี้เข้ามาใช้เพื่อการจัดการ

1.5-2 (5) รายงานผลการปฏิบัติงานจากการสแกนลายนิ้ว ในระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน 2566

เพื่อป็นหลักฐานในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากร และเป็นการกระตุ้นให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่เพิ่มมากขึ้น แล้เป็นการลดปัญหาการทุจริตในการลงเวลาการทำงานของบุคลากร

 

 

3หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง

1. มีการจัดให้บริการแก่ผู้รับบริการภายในเวลาที่กำหนด สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการ และสร้างความเชื่อมันแก่ผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการจัดบริการ จำนวน  7 บริการ ดังนี้

หน่วยงาน

การบริการ

ผู้รับบริการ

ผลการดำเนินงานตามความคาดหวัง

ฝ่ายวิทยบริการ

ยืม-คืนทรัพยากร

(1.5-3 (1))

นักศึกษา บุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย

มีระบบการยืมคืนอัตโนมัติบริการส่งผลให้ผู้รับบริการได้รับทรัพยากรที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว

 

ตอบคำถามช่วยการค้นคว้า

นักศึกษา บุคลากร และ ประชาชนทั่วไป

มีบุคลากรประจำจุดบริการ เพื่อให้ข้อมูลสำหรับผู้รับบริการทั้งภายใน และภายนอก ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการรับบริการ

 

ห้องประชุมเฉพาะกลุ่ม

นักศึกษา บุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย

มีห้องประชุมเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ และได้รับบริการอย่างรวดเร็วตามต้องการ เนื่องจากใช้ระบบการจองห้องประชุมผ่านระบบออนไลน์ สามารถจองผ่านระบบอยุ่ที่ใหนก็สามารถจองได้ ส่งผลให้สะดวก รวดเร็วต่อการบริการ ผู้ใช้บริการพอใจ

 

ตอบคำถามผ่านเพจสำนัก

นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป

มีบุคลากรดูแลตอบคำถามให้คำปรึกษาช่วยเหลือทุกข้อคำถาม และให้บริการได้อย่างรวดเร็วตรงตามความต้องการ

 

บริการใจดีให้ยืม

นักศึกษา บุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย

มีอุปกรณ์ปลั๊กไฟ และ iPad ไว้สำหรับให้บริการ

ฝ่ายเครือข่ายฯ

บริการอินเทอร์เน็ต

นักศึกษา บุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย

จัดบริการเครือข่ายไร้สาย (wi fi) ตามจุดต่างๆ จำนวน 90% ในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีเสถียรภาพ ทุกที่ทุกเวลา ตรงตามความต้องการ และพึงพอใจมากที่สุด

 

บริการ VPN

นักศึกษา บุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย

จัดบริการเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง และสืบค้นฐานข้อมูลต่าง ๆ ของห้องสมุด โดยอยู่ที่ไหนก็สามารถค้นได้ ทุกที่ ทุกเวลา สะดวก สบาย โดยไม่ต้องเดินทางมาใช้บริการในห้องสมุด ส่งผลให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจ

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

การบริการสร้างบัญชีอีเมล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

นักศึกษา บุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย

มีระบบบริการสร้าง/

1. บัญชี Google เข้าใช้งานผ่าน URL : www.gmail.com

2. บัญชี Microsoft 365 เข้าใช้งานผ่าน URL : www.office.com

4หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ

    4.1 หน่วยงานมีการมอบหมายภาระงานแก่บุคลากรที่ชัดเจน ตรงตามความสามารถ และตรงตามตำแหน่งที่บรรจุ (1.5 – 4 (2)) มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงาน รายปี (1.5 – 4 (3)) ทุกหน่วยงานมีการดําเนินงานตามแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกำกับติดตามผลการดําเนินงานของแต่ละหน่วยงานผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ อย่างต่อเนื่อง (1.5 – 4 (4))  

5หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้

  5.1 สำนักฯ มีระบบงานและขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน ซึ่งจะดูได้จาก กฎระเบียบ หรือประกาศของ สำนักฯ  (1.5-5(1))

  5.2 มีการจัดโครงการปลูกจิตสำนึกและสร้างค่านิยมต่อต้านการทุจริต และเสริมสร้างจริยธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในหน่วยงานเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในหน่วยงาน ให้สามารถทำงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ (1.5-5(2))

  5.3 มีการจัดทำประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง เจตจำนงสุจริต เสริมสร้างคุณธรรม และความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (1.5-5(3))

 

6หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา

อำนวยการสำนักฯ ได้เปิดโอกาสให้หัวหน้างานได้แสดงความคิดเห็นและส่วนร่วมในการปฏิบัติราชการ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ โดยจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ ขึ้นทุกเดือน (1.5-6(1)) เปิดโอกาสให้บุคลากรทั้งสำนักได้แสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางต่างๆ ในการดำเนินงาน ในการประชุมสามัญประจำภาคเรียน และเปิดช่องทางให้บุคลากรนักศึกษาชี้แจงปัญหาในการดำเนินงาน ผ่านเพจสำนักฯ (1.5-6-(2)) และได้บริหารงานโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทุกภาคส่วนที่มีความเชี่ยวชาญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเฉพาะเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงาน ในรูปแบบคณะกรรมการประจำสำนักฯ(1.5-6-(3)) รวมทั้งบุคลากร และนักศึกษาเข้ามามีบทบาทในการทำกิจกรรมร่วมกับสำนักโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลักสำคัญ (1.5-6(4)) จัดโครงการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศสัญจรร่วมกับคณะ/วิทยาลัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนปัญหาต่างๆ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

7หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ

ผู้อำนวยการสำนักฯ ได้มอบอำนาจให้รองผู้อำนวยการสำนักฯ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักฯ และมอบอำนาจให้รองผู้อำนวยการสำนักฯหัวหน้าอำนวยการอำนายการ หัวหน้างาน ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนัก 1.5-7(1)

8หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้อำนวยการสำนักฯ คณะกรรมการบริหารสำนักฯ ดำเนินงานโดยยึดพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 รวมทั้งกรอบกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน อย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม (1.5-8 (1))

9หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ

ผู้อำนวยการสำนักฯ มีนโยบายด้านการให้บริการโดยยึดหลัก คือการให้บริการอย่างเสมอภาคโดยไม่แบ่งแยกให้ทุกคนได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกันตลอดจนมีการสร้างเสริมความสามัคคี ระหว่างบุคลากรของสำนักฯผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การให้สวัสดิการสำหรับบุคลากรหรือคู่สมรถของบุคลากรในกรณีคลอดบุตร (1.5-9(1)) ระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วยการลาของบุคลากร พ.ศ. 2556 ให้การสิทธิ์ในการลา เช่น ลาป่วย ลากิจ ลาคลอด อื่นๆ  (1.5-9(2))การให้โอกาสบุคลากรภายในหน่วยงานยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้น 15.-9(3) มอบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยการมอบเกียรติบัตรสำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานดีเด่น

10หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์

ผู้อำนวยการสำนักฯ บริหารงานภายใต้ การใช้กระบวนการหาข้อคิดเห็น และข้อตกลงภายในกลุ่มในการพิจารณาประเด็น สำคัญต่างๆ อันมีผลต่อการบริหารงานตามนโยบายของสำนักฯ เช่น การประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ (1.5-10 (1)) การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ (1.5-10 (2))

1.5-10 (3) มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือในการดำเนินงานเครือข่ายและบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน ดังต่อไปนี้

1. ความร่วมมือด้านการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและทักษะดิจิทัลแก่นักศึกษา บุคลากรและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย

2. ความร่วมมือด้านการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุด การใช้ทรัพยากรสารสนเทศและกิจกรรมของห้องสมุด

3. ความร่วมมือด้านด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
10 5 คะเเนน