ตัวบ่งชี้ที่ 1.8 ผลลัพธ์ของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สุภัทรษร ทวีจันทร์ , วีระยุทธ มั่งคั่ง , ลัทธกาญจน์ กุยแก้ว , พนิดา พานิชกุล
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาชาติที่กำหนดให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม หลักสูตรจึงควรผลักดันให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรมโครงงานหรืองานวิจัยหรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม ที่กำหนดให้คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

จำนวนหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนหลักสูตรทั้งหมดในคณะ

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5

หมายเหตุ

1. นวัตกรรมที่ชุมชนยอมรับโดยมีหลักฐานการใช้ประโยชน์จากชุมชน
2. ความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง นักศึกษามีการวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผล
3. นวัตกรรมดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในชุมชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
4. หลักฐานประกอบ ได้แก่ ชื่อนวัตกรรม ลักษณะของนวัตกรรม กระบวนการที่นักศึกษามีส่วนร่วม ผู้ใช้ประโยชน์ (ชื่อหน่วยงาน ตำแหน่ง) ผลที่เกิดขึ้นกับการนำนวัตกรรมไปใช้ โดยนวัตกรรมที่มีส่วนร่วมควรตรงหรือสัมพันธ์กับศาสตร์ของนักศึกษา

ผลการดำเนินงาน

                คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  เปิดการเรียนการสอน 8 หลักสูตร  โดยทุกหลักสูตรมีจุดประสงค์ในการมุ่งให้ผู้เรียนเกิดมีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรม  โครงงาน  หรืองานวิจัย  หรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น  ในปีการศึกษา 2565  มีหลักสูตรที่นักศีึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรม  โครงงาน  หรืองานวิจัย  หรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ  ดังนี้

สาขาวิชา

โครงการ

นวัตกรรม

ลักษณะการมีส่วนร่วม

สาขาวิชาการจัดการ

การพัฒนายาย้อมผมจากสมุนไพรพื้นบ้านกลุ่มผู้ประกอบการสมุนไพรป่าชุมชนโนนใหญ่ ต.เสียว อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

นวัตกรรมยาย้อมผมจากสมุนไพรพื้นบ้าน

นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรมยาย้อมผมจากสมุนไพรพื้นบ้าน โดยสืบค้นกระบวนการในการทำยาย้อมผม รวมถึงหาวัตถุดบที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำยาย้อมผม โดยนำสมุนไพรมาแปรรูปเป็นสินค้า ทำให้ชุมชนมีการต่อยอดเพื่อพัฒนายาย้อมผม นำองค์ความรู้ไปใช้ในเชิงธุรกิจได้

สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

การศึกษาศักยภาพและขีดความสามารถการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนโบราณในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

นวัตกรรมการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว

นักศึกษามีส่วนร่วมในวางแผน วิเคราะห์ และพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนโบราณในจังหวัดศรีสะเกษ  ซึ่งช่วยให้หน่วยงานได้นำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดกรอบงบประมาณ เพื่อวางแผนการท่องเที่ยว

สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชะลอวัยและเพิ่มมูลค่าจากสารสกัดหอมแดงศรีสะเกษ GI แบบครบวงจร เพื่อพัฒนายกระดับเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในจังหวัดศรีสะเกษ

 

นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชะลอวัย

นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรมการแปรรูปเพิ่มมูลค่าจากสารสกัดสำคัญจากหอมแดงศรีสะเกษ GI และนำองค์ความรู้ด้านการตลาดไปพัฒนาช่องทางตลาดผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ทำให้เครือข่ายได้พัฒนายกระดับเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงปูนาเชิงพาณิชย์สู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของชุมชน

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงปูนาเชิงพาณิชย์

นักศึกษามีส่วนร่วมในการนำองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปวางแผน และออกแบบ เพื่อสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงปูนาเชิงพาณิชย์ ไปส่งเสริมอาชีพในครัวเรือน ไปสู่การเลี้ยงปูนาครบวงจร และนำรูปแบบการเลี้ยงปูนาไปประยุกต์ใช้กับชุมชนต่าง ๆ ที่มีความต้องการถ่ายทอด

สาขาวิชาการบัญชี

นวัตกรรมการย้อมสีจากมูลหนอนไหมเพื่อยกระดับอาชีพและเสริมสร้างขีดความสามารถของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือ จังหวัดศรีสะเกษ

นวัตกรรมการย้อมสีจากมูลหนอนไหม

นักศึกษามีส่วนร่วมในการค้นหา ข้อมูลเกี่ยวกับมูลหนอนไหม ออกแบบกระบวนการย้อมสี และถ่ายทอดเทคนิคการย้อมสีมูลหนอนไหม ซึ่งชุมชนได้นำองค์ความรู้มาใช้กำหนดขีดความสามารถชิงธุรกิจ และระดับอาชีพได้

          นอกจากนี้ ยังมีโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนและขยายผลวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อพัฒนา Soft Skills  นักศึกษาด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ซึ่งมีนักศึกษาทุกสาขาวิชาเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาทักษะนักการคิด นักแก้ปัญหา นักสื่อสาร และนักสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมในชุมชนอีกด้วย

          จากผลการดำเนินงาน พบว่า ทั้ง 5 หลักสูตร ได้มีการนำนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาเข้าร่วมโครงการ และได้ร่วมวางแผนกำหนดกิจกรรม สร้างนวัตกรรมในด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์ รวมถึงวิธีการคิด โดยในแต่ละกิจกรรมได้สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจให้กับชุมชน เพื่อให้นักศึกษาและชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

 

สูตร

1.คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

 

แทนค่าการแปลงคะแนน

 

 

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

แทนค่าการแปลงคะแนน

 

 

 

 

 

 

 

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
1.8 - (1)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
3.13