คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดทำแผนบริการวิชาการ โดยการเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2561-2565 (3.1-2(1)) มุ่งเน้นพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ ถ่ายทอดสู่แผนยุทธศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2565-2569 (3.1-2(2)) ตามประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 3 การบริการวิชาการแก่สังคมโดยบูรณาการการน้อมนำแนวพระราชดำริเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เป้าประสงค์คือ พัฒนาการให้บริการวิชาการ และแหลงเรียนรู้ดานสุขภาพในท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริที่เป็นประโยชนตอชุมชนและสังคม มีกลยุทธ์ จำนวน 4 ข้อ ดังนี้
1) ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
2) พัฒนาแหล่งเรียนรู้และให้บริการวิชาการด้านสุขภาพชุมชน
3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการให้บริการวิชาการ
4) พัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของอาจารย์พยาบาลสู่ความเป็นเลิศด้านบริการวิชาการ ซึ่งแผนบริการวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2565 (3.1-2(3)) มีวัตถุประสงค์ของแผน จำนวน 4 ข้อ ดังนี้
1) การให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
2) เพื่อบูรณาการการบริการวิชาการเข้ากับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการให้บริการวิชาการ
4) สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์ มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการแก่สังคม
โดยมีตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผน และค่าเป้าหมาย จำนวน 6 ข้อ ดังนี้
ตัวชี้วัด
|
ค่า
เป้าหมาย
|
1. จำนวนกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
|
1 โครงการ
|
2. ความสำเร็จของกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการ
|
ร้อยละ 100
|
3. จำนวนกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการด้านสุขภาพในชุมชน
|
1 โครงการ
|
4. จำนวนกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการที่บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
1 โครงการ
|
5. จำนวนเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการให้บริการวิชาการ
|
1 เครือข่าย
|
6. อาจารย์พยาบาลได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการบริการวิชาการ
|
ร้อยละ 100
|
ทั้งนี้คณะพยาบาลศาสตร์ มีโครงการบริการวิชาการ ปีการศึกษา 2565 (3.1-2(4)) จำนวน 2 โครงการ คือ 1) โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และ 2) โครงการบริการวิชาการเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์และตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ ดังนี้
- โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์
|
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
|
1) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และได้รับความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
2) เพื่อการบูรณาการการบริการวิชาการกับการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมในการส่งเสริมสุขภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
3) เพื่อส่งเสริมการสร้างคุณค่าของผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่นและร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานประเพณีสังคมไทย
4) พัฒนาศักยภาพของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ และบุคลากรจากเครือข่ายในชุมชนท้องถิ่น
|
เชิงปริมาณ
1. มีผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (ไม่น้อยกว่าระดับ 3.51)
เชิงคุณภาพ
1. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และได้รับความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
2. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ในการจัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอาชีพ
3. บุคลากรจากคณะพยาบาลศาสตร์มีการดำเนินงานร่วมกันกับชุมชนที่เป็นเครือข่าย
4. อาจารย์และบุคลากรจากคณะพยาบาลศาสตร์ ได้พัฒนาศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุร่วมกัน
|
- โครงการบริการวิชาการเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ
วัตถุประสงค์
|
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
|
1. เพื่อให้ประชาชนผู้มาร่วมงานได้รับการประเมินสุขภาพเบื้องต้น
2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการรร่วมกับมหาวิทยาลัย
3. เพื่อประชาสัมพันธ์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
|
เชิงปริมาณ
1. มีผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป (ไม่น้อยกว่าระดับ 3.51)
เชิงคุณภาพ
1. ประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินสุขภาพเบื้องต้น
2. อาจารย์และบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์เข้าร่วมโครงการของมหาวิทยาลัย
3.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้รับการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชน
|
คณะพยาบาลศาสตร์ มีการจัดทำแผนการนำไปใช้ประโยชน์(3.1-2(5)) จากการให้บริการวิชาการ ทั้งด้านผู้ใช้บริการ ด้านนักศึกษาและอาจารย์ และด้านท้องถิ่น ชุมชนหรือสังคม ดังนี้
แผนการใช้ประโยชน์
|
ด้านผู้ใช้บริการ
1.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพ และเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
2. ผุ้สูงอายุความรู้ในการจัดทำผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ (ลูกประคบ)ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปต่อยอดในการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้
3. ผู้สูงอายุได้ร่วมกิจกรรม พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
|
ด้านนักศึกษาและอาจารย์
1. นักศึกษาและอาจารย์ได้นำองค์ความรู้ด้านสุขภาพมาประยุกต์ในกการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุในชุมชน
2. นักศึกษาและอาจารย์ได้พัฒนาทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
3. นักศึกษาและอาจารย์ตระหนักถึงคุณค่าของการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่น
4. นักศึกษาได้ฝึกทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้สูงอายุการปรับตัว การกล้าแสดงออก ในการทำงานร่วมกับชุมชนส่งเสริมให้เกิดมีความมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น
5. อาจารย์และนักศึกษาได้ประชาสัมพันธ์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษผ่านการให้บริการวิชาการแก่สังคมในการส่งเสริมสุขภาพร่วมกับมหาวิทยาลัย
|
ด้านท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม
1. องค์กรท้องถิ่น ชมุชนมีเครือข่ายความร่วมมือที่ดีระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์กับองค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่ และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดวนใหญ่ ในการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ
2. องค์กรท้องถิ่น ชมุชนได้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี
|
และนำเสนอแผนบริการวิชาการต่อคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อพิจารณาในการประชุม ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 14 กันยายน 2565 (3.1-2(5))
|