ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สุภัทรษร ทวีจันทร์ , พิชญาพร ศรีบุญเรือง , พนิดา พานิชกุล
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษามีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ทั้งการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามจุดเน้นของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือ การสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
สูตรการคํานวณ

 

หมายเหตุ

 

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน
2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
3 มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม
4 มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ
5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2565 โดยมีคณบดี และประธานสาขา เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม พันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 4 ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 และตัวบ่งชี้ที่ 4.2

          มีการจัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อมุ่งให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเห็นคุณค่าและมีทัศนคติที่ดีในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย นำศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยมาสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าให้เกิดนวัตกรรมที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์

2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

          คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้กำหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจในการบริหารงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยกำหนดวิสัยทัศน์ “องค์กรแห่งการส่งเสริมการสร้างคุณค่าและมูลค่าศิลปวัฒนธรรมไทย” และได้มีการกำหนดแผนงานต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ ด้านภาษา ด้านศิลปะและวัฒนธรรมสู่ระบบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานักศึกษาและท้องถิ่น สร้างคุณค่าและมูลค่าทางศิลปะและวัฒนธรรม  ทั้งนี้ คณะฯ มีการกำหนดกิจกรรม โครงการ จำนวน 2 โครงการ ตามระยะเวลาของปีการศึกษา และมีผู้รับผิดชอบ คือ งานพัฒนานักศึกษา และสโมสรนักศึกษา และมีการจัดสรรงบประมาณตามแผนฯ ที่พอเพียงและเหมาะสมเพื่อให้สามารถดำเนินงานตามแผนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 มหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณตามแผนฯ จำนวนทั้งสิ้น 19,200 บาท

          การจัดทำแผนฯ ได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะโดยมีการกำหนดแผนและนโยบายด้านต่าง ๆ มีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระยะ 1 ปีการศึกษา และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน ดังนี้

ตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ

ค่าเป้าหมาย

(ร้อยละ)

 

นักศึกษา

กิจกรรม

กำกับติดตามตามแผน

 

1)  กิจกรรมสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่น

85

80

4 ครั้ง/ปี

2) กิจกรรมส่งเสริมให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัยทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตปัจจุบันอย่างสอดคล้องและเหมาะสม

85

80

4 ครั้ง/ปี

3)  กิจกรรมสร้างความร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในระดับท้องถิ่น ประเทศและสากล ในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ ทำนุบำรุง ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม

85

80

4 ครั้ง/ปี

4)  กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแก่ประชาคมมหาวิทยาลัย     ราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาบุคลิกภาพรวมทั้งคุณลักษณะทางศิลปะและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์

85

80

4 ครั้ง/ปี

5)  กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรม การบริการวิชาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรมแก่อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาคและนานาชาติ

85

80

4 ครั้ง/ปี

 

3 มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม

          คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม       การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม  กิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการรายวิชา นำไปใช้เป็นฐานความรู้ เพื่อสืบสาน อนุรักษ์ ส่งเสริมสร้างความภูมิใจในความเป็นไทย เพื่อสร้างคุณค่าความเป็นไทยให้ประจักษ์ มีการนำทักษะการเรียนรู้ละความคิดสร้างสรรค์ในวิชาชีพและเป็นทักษะชีวิต ผลการบูรณาการการนำทักษะรายวิชาไปสร้างสื่อเพื่อส่งเสริมศิลปะความเป็นไทยด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับชุมชน และ การบูรณการสาระด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณี กับของท้องถิ่นและของชาติ กับรายวิชาในหลักสูตร โดยส่งเสริมให้หลักสูตรสอนสอดแทรกในการกิจกรรมการเรียนรู้ ในลักษณะการเรียนแบบบูรณาการ ตลอดจนประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ในวิชาชีพ หรือทักษะชีวิต ในการออกแบบสร้างสรรค์ในกิจกรรมต่างที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมแบบไทย เช่น            การออกแบบสร้างสรรค์พานไหว้ครู และการออกแบบกระทงกิจกรรมลอยกระทง ดังนี้

 

วิชาที่บูรณาการ

การบูรณาการ

หน่วยงาน

1. การท่องเที่ยวโดยชุมชน

การบริการวิชาการ เรื่อง การจัดการส่งเสริมโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่มาตรฐานอาเซียน

 (โฮมเสตย์)

ชุมชนบ้านดวนใหญ่

อำเภอวังหิน จังหวัด   ศรีสะเกษ

2. การวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยว

โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดศรีสะเกษ

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด     ศรีสะเกษ และสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด        ศรีสะเกษ

 

4 มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ

       คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน ดังนี้

          1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนดังนี้

                    1.1 รายงานผลการดำเนินงานโครงการงานศิลปะและวัฒนธรรมและคณะ

                    1.2 พิจารณาวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยยึดแนวทางการดำเนินงานจากแผนกลยุทธ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

          2. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผน ดังนี้

                    2.1 รายงานการดำเนินโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2565 และรายงานผลการดำเนินโครงการของแต่ละสาขา

                    2.2 พิจารณาประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ดังนี้

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ

ค่าเป้าหมาย

(ร้อยละ)

การบรรลุเป้าหมาย

นักศึกษา

กิจกรรม

กำกับติดตามตามแผน

บรรลุ

ไม่บรรลุ

1)  กิจกรรมสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่น

85

80

4 ครั้ง/ปี

/

 

2) กิจกรรมส่งเสริมให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัยทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตปัจจุบันอย่างสอดคล้องและเหมาะสม

85

80

4 ครั้ง/ปี

/

 

3)  กิจกรรมสร้างความร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในระดับท้องถิ่น ประเทศและสากล ในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ ทำนุบำรุง ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม

85

80

4 ครั้ง/ปี

/

 

4)  กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแก่ประชาคมมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาบุคลิกภาพรวมทั้งคุณลักษณะทางศิลปะและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์

85

80

4 ครั้ง/ปี

/

 

5)  กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรม การบริการวิชาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรมแก่อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาคและนานาชาติ

85

80

4 ครั้ง/ปี

/

 

 

5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

          คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการกำกับติดตาม การดำเนินการตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งการนำผลการประเมินความสำเร็จไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการดำเนินการ ดังนี้

          5.1 การกำกับติดตามการดำเนินการตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการประชุมคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นระยะ หลังจากดำเนินการจัดกิจกรรมแล้ว มีการจัดทำรายงานผลการจัดกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และสรุปผลวิเคราะห์ความ    พึงพอใจในการของนักศึกษาในการร่วมกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลการประเมิน พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในแต่ละกิจกรรมอยู่ในระดับ ดี คะแนนเฉลี่ย 3.92- 4.07 และภาพรวมการดำเนินการอยู่ในระดับ ดีมาก คะแนนเฉลี่ย 3.97

          5.2 การประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน  แผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  มีวัตถุประสงค์ เพียง 1 ข้อ คือส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ สืบสานประเพณี วัฒนธรรมศิลปะ และภูมิปัญญาท้องถิ่น  ตัวชึ้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์คือ นักศึกษามีความพึงพอใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ สืบสานประเพณี วัฒนธรรมศิลปะ และภูมิปัญญาท้องถิ่น สูงกว่า 3.51 ผลการประเมินความสำเร็จในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์พบว่า  นักศึกษามีความพึงพอใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ในแต่ละด้าน อยู่ในระดับ ดี คะแนนเฉลี่ยแต่ละด้าน 3.92-4.07 และภาพรวมการดำเนินการอยู่ในระดับ ดี คะแนนเฉลี่ย 3.97  ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผน

            5.3 การนำผลการประเมินความสำเร็จไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการดำเนินการดังนี้

         การดำเนินการในปีการศึกษา 2565 พบว่ามีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในวงจำกัด คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงเสนอให้เพิ่มเครือข่ายความร่วมมือในการจัดกิจกรรม       ผลการดำเนินการเพิ่มเครือข่าย ทำให้กิจกรรม มีความน่าสนใจมากขึ้น เกิดการเรียนรู้ และมีผลงานวิจัยเกิดขึ้นจากความร่วมมือ

         สำหรับปีการศึกษา 2565 จากผลการประเมินความสำเร็จของแผน พบว่า การจัดกิจกรรมยังไม่ครอบคลุมประเด็นการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมชุมชนและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และการเรียนรู้จากการบูรณาการการสอนโดยการนำความรู้จากผู้รู้หรือปราชญ์ทางศิลปะทางวัฒนธรรมของชุมชนแขนงต่าง ๆ ในจังหวัด             ศรีสะเกษ ในการสืบสาน ถ่ายทอด ศิลปวัฒนธรรมร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงกำหนดเป็นกิจกรรม บรรจุเรื่อง การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเครือข่ายการพัฒนา และได้ กำหนดไว้ในแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในปีการศึกษา 2565

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5