ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พุทธิพร พิธานธนานุกูล , มุขจรินทร์ สุทธิสัย , ภาวินี ศรีสันต์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความต้องการที่หลากหลายของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 1 หมายถึง แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน หลักสูตรจะต้องอธิบายถึงผลการดำเนินงานที่ดำเนินการในสถานประกอบการ
เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 4 หมายถึง การปรับปรุงแผนตามเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 1

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด
3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด
4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

ในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตมีระบบและกลไกในการส่งเสริมให้รายวิชามีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ดังนี้ (5.1-1)

1. คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ได้กำหนดแนวทางในการส่งเสริมให้มีรายวิชาในหลักสูตร มีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

2. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาออกแบบใน มคอ.3และร่วมวิพากษ์จากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาประเมินผลลัพธ์ของกิจกรรม โดยรายงานใน มคอ.5

5. คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ประเมินประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมเพื่อประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนารายวิชาในหลักสูตรของปีถัดไป

2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด

ในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตมีการ กำกับ ติดตาม ให้รายวิชามีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ดังนี้

1. คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ได้กำหนดแนวทางในการส่งเสริมให้มีรายวิชาในหลักสูตร มีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ในรายวิชา วิถีสุขภาพศรีสะเกษ ในภาคการศึกษาที่ 2/2565 ชั้นปีที่ 1 (5.1-2(1))

2. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาประชุมกับทีมผู้ร่วมสอน ออกแบบใน มคอ.3(5.1-2(2))และกำหนดตัวชี้วัดของความสำเร็จ โดย จำนวนกิจกรรมที่จัดให้นักศึกษาอย่างน้อย 1 โครงการและมีชุมชนที่เข้าร่วมเป็นเครือข่าย อย่างน้อย 1 ชุมชน

3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ดำเนินกิจกรรมดังนี้ (5.1-2(3))

   3.1 ทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างนักศึกษา อาจารย์ประจำกลุ่มและผู้เกี่ยวข้องในชุมชน ให้เข้าใจตรงกันถึงจุดมุ่งหมายและการลงปฏิบัติการในชุมชน

   3.2 จัดปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนลงฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงาน

   3.3 กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของนักศึกษา โดยแบ่งกลุ่มจำนวน 7 กลุ่มๆ ละ 7-8 คน ให้ศึกษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัยต่างๆ ในชุมชนตำบลดวนใหญ่ อ.วังหิน แล้วนำข้อมูลสุขภาพมาวิเคราะห์ถึงปัญหาด้านสุขภาพในแต่ละบุคคล

   3.4 นำข้อมูลที่เป็นปัญหาสุขภาพมาจัดการ ผลิตสื่อหรือนวัตกรรมทางด้านสุขภาพคืนให้ชุมชนเพื่อนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพต่อไป

   3.5 จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อร่วมกันเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข

4. หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม มีการประเมินผลลัพธ์ของกิจกรรม ซึ่งนักศึกษาสามารถนำข้อมูลสุขภาพมาวางแผนและออกแบบกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนอย่างเป็นระบบ

5. คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ประเมินประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมเพื่อประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนารายวิชาในหลักสูตรของปีถัดไปโดยแนะนำให้เพิ่มการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผน/กิจกรรมและตัวชี้วัดด้วย

3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด

หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์ประจำกลุ่มประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยได้รายงานผลใน มคอ.5 รวมทั้งสรุปผลการประเมินกิจกรรม (5.1-3(1)) คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำกับ ติดตามให้ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน (5.1-3(2)) มีโครงการ/กิจกรรมเสริมความเป็นวิชาชีพให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการบูรณาการกระบวนการวิศวกรสังคมในรายวิชาวิถีสุขภาพศรีสะเกษ และมีเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน 1 ชุมชนคือชุมชนตำบลดวนใหญ่ อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ

4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

นำผลจากปีการศึกษา 2565 ไปปรับปรุงแผนการจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในปีการศึกษา 2566 โดยมีการส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานให้นักศึกษาในทุกชั้นปีและเพิ่มเครือข่ายความมือในการฝึกปฏิบัติในชุมชน รวมทั้งกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดให้ชัดเจน ตรงเป้าหมาย (5.1-4)

5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

คณะฯ ได้ดำเนินการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการในการถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายในและภายนอกสถาบัน ซึ่งรวมทั้งผู้เรียนด้วย จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดและเผยแพร่ ประสบการณ์ในการให้บริการผ่านทางสื่อการเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน เผยแพร่สู่สาธารณะ (5.1-5)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
4 ข้อ 4 คะแนน