ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ 
กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ภาวินี ศรีสันต์ , พุทธิพร พิธานธนานุกูล , มุขจรินทร์ สุทธิสัย , สุจิตรา กฤติยาวรรณ , จริยา กฤติยาวรรณ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะมีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธงานตามกิจหลัก แต่ละคณะจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยงและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใสและตรวจสอบได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ และมหาวิทยาลัย รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ (เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย)
2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง
4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัด (ให้แสดงผลการดำเนินงานในปีที่ประเมิน)
5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ และมหาวิทยาลัย รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ (เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย)

      ในปีการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569) (5.2-1(1)) ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (5.2-1(2)) โดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในคณะ ให้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ ทบทวนภารกิจที่ได้ดำเนินการผ่านมา ตลอดจนการประเมินสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกด้วยหลักการ SWOT Analysis เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ “มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นต้นแบบการผลิตและพัฒนาครู วิจัย สร้างองค์ความรู้ พัฒนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่นวัตกรรม นำพาเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม น้อมนำศาสตร์ พระราชา สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะพยาบาลศาสตร์ “เป็นสถาบันชั้นนำระดับประเทศที่มุ่งผลิตพยาบาลที่มีคุณภาพและคุณธรรม จริยธรรม” และ เอกลักษณ์คณะพยาบาลศาสตร์ “ผลิตบัณฑิตที่สามารถร่วมสร้างสุขภาวะให้กับชุมชนและท้องถิ่น”ที่สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในวันที่ 19 กันยายน 2565 (5.2-1(3)) จากนั้นได้จัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน (5.2-1(4)) และแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566 (5.2-1(5))  แผนยุทธศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ (พ.ศ. 2565-2569) ประกอบด้วย  9 เป้าประสงค์ 25 กลยุทธ์ 57 ตัวชี้วัด  โดยมีการดำเนินงานในยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลิตและพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัย การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสังคม

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริการวิชาการแก่สังคม ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

     ทั้งนี้มีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์สู่โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 มีโครงการทั้งหมด จำนวน 36 โครงการ 30 ตัวชี้วัด ดังนี้ 

ยุทธศาสตร์

กลยุทธ์

ตัวชี้วัด

โครงการ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลิตและพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม

3

4

17

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัย การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสังคม

4

5

5

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริการวิชาการแก่สังคม ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น

2

8

6

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1

2

2

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

4

11

6

รวม

14

30

36

 

2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

      ปีการศึกษา 2565  คณะพยาบาลศาสตร์ มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน (5.2-2(1)) ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์คณะในการจัดสรรการใช้จ่ายงบประมาณ ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของคณะ โดยกำหนดเกณฑ์ร้อยละการเบิกจ่ายตามนโยบายของมหาวิทยาลัยรายไตรมาส ดังนี้

ไตรมาส 1

ไตรมาส 2

ไตรมาส 3

ไตรมาส 4

ร้อยละ 35

ร้อยละ 30

ร้อยละ 25

ร้อยละ 10

โดยในปีงบประมาณ 2565 มีการจัดสรรงบประมาณและการใช้จ่าย ดังนี้

พันธกิจ

งบจัดสรร(บาท)

ใช้จ่าย(บาท)

ร้อยละที่ใช้จ่าย

ด้านผลิตบัณฑิต

540,860

504,833

93.34

ด้านการวิจัยและนวัตกรรม

257,640

147,640

57.30

ด้านบริการวิชาการ

1,610,266

1,581,620

98.22

ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

-

-

-

ด้านการบริหารจัดการ/การพัฒนาบุคลากร

637,234

546,677

85.79

รวม

3,046,000

2,780,770

91.29

และมีการวิเคราะห์สัดส่วนค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2565 พบว่า การจัดสรรงบประมาณยังไม่ครอบคลุมในพันธกิจด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและรายจ่ายน้อยกว่างบประมาณที่จัดสรรไว้ เนื่องจาก 1) มีครุภัณฑ์ที่ไม่สามารถจัดจ้างได้จากการกำหนดงบประมาณต่ำกว่าค่าจริง 2) นักวิจัยขอขยายเวลาในการทำวิจัยจึงไม่สามารถเบิกงบวิจัยงวดที่ 2 และ 3 ได้ และ 3) การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ส่งผลให้กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรและการประชุมกรรมการคณะ เป็นการประชุมในรูปแบบออนไลน์ ทำให้ยอดเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามที่ได้จัดสรรไว้

     ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2566 คณะพยาบาลศาสตร์ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่าย (5.2-2(2)) เพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน โดยมีการปรับปรุงแผนการจัดสรรงบประมาณที่ครอบคลุมทุกพันธกิจ ดังนี้

พันธกิจ

จำนวน (บาท)

ร้อยละ

ด้านผลิตบัณฑิต

3,675,251

66.45

ด้านการวิจัยและนวัตกรรม

97,380

1.76

ด้านบริการวิชาการ

814,400

14.73

ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

40,195

0.73

ด้านการบริหารจัดการ/

การพัฒนาบุคลากร

902,974

16.33

รวม

5,530,200

100

 
3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง

     คณะพยาบาลศาสตร์ มีการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง โดยมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (5.2-3(1)) รับผิดชอบดำเนินงานบริหารความเสี่ยงของคณะพยาบาลศาสตร์ โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนอาจารย์ที่รับผิดชอบงานตามภารกิจหลักของคณะฯร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมีการระบุหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้มีการดำเนินการ ดังนี้

1. ทบทวนบริบทและสภาพแวดล้อมของคณะฯทางด้านโครงสร้างการบริหารจัดการงบประมาณ  ทรัพยากร สิ่งสนับสนุน ปัจจัยภายนอก กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงของคณะ พร้อมจัดทำแนวทางการบริหารความเสี่ยง (5.2-3(2))

2. คณะกรรมการฯ ได้เสนอแผนบริหารความเสี่ยง (5.2-3(3)) และได้แสดงลำดับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง และสูงมาก ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงครั้งที่ 1/2565 (5.2-3(4)) เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และวิเคราะห์ความเสี่ยง ผลการวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงโดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยง (Impact) โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ทำให้การตัดสินใจจัดการกับความเสี่ยงเป็นไปอย่างเหมาะสม

    ซึ่งในการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ มีปัจจัยเสี่ยงตามพันธกิจในระดับสูงมาก และระดับสูง ดังนี้

ลำดับ

ประเด็นความเสี่ยง

ผลกระทบ

ระดับความเสี่ยง

 

1.

อาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่เป็น ไปตามเกณฑ์ของ สกอ.

1.ผลการประเมินคะแนนการประ กันคุณ ภาพการ ศึกษา2.ความน่าเชื่อถือและการยอมรับทางวิชาการของคณะ

5X4

=20

ระดับ

สูงมาก

 

แนวทางจัดการ

1. กำหนดภาระงาน วิจัยและงานวิชาการของอาจารย์ให้ชัดเจนเป็นรายบุคคล

2. มีการกำกับติดตามให้อาจารย์พัฒนาผลงานวิจัยโดยจัดหาพี่เลี้ยงในการดูแล

3. สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้และการสนับสนุนการขอตำแหน่งทางวิชาการ

 

2.

ทุนวิจัยภายในของมหา วิทยาลัยศรีสะเกษมีแนวโน้มลดลง

1. ขาดทุนสนับสนุนในการทำวิจัย

2. ขาดแรงจูงใจในการทำวิจัย

4X4

=16

ระดับ

สูง

 

แนวทางจัดการ

1. สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และทรัพยากรในการดำเนินงานวิจัยที่คณะฯ สามารถให้การสนับสนุนได้อย่างเหมาะสม

2. สนับสนุนให้บุคลากรขอรับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก

3. คณะให้ทุนสนับสนุนการทำวิจัยเพิ่มเติมสำหรับอาจารย์และบุคลากร

3.

ผลงาน

ตีพิมพ์ในระดับชาติและนานา

ชาติมีจำนวนน้อย

ส่งผลต่อคะแนนประ เมินคุณภาพภายในของคณะฯ ไม่บรรลุเป้าหมายตามยุทธ ศาสตร์ของคณะ

4X4

=16

ระดับ

สูง

 

แนวทางจัดการ

1. สำรวจความต้อง การ/ปัญหา/อุปสรรคในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

2. สนับสนุนให้มีระบบและกลไกการส่งเสริมการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ตีพิมพ์โดยใช้กระบวนการ KM

4.

การเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผน

1. ส่งผลต่อการจัด สรรงบประมาณในปีถัดไป

2. ส่งผลกระทบต่อแผนยุทธศาสตร์ของคณะฯ

4X4

=16

ระดับ

สูง

 

แนวทางจัดการ

1. มีการกำกับติดตามการเบิก-จ่ายงบ ประมาณให้เป็นไปตามแผน

2. ปรับให้มีการดำเนินโครงการต่างๆเป็นไปตามแผนที่กำหนด

3. วางแผนในการจัดการงบประมาณล่วงหน้า

5.

ระบบสาร สนเทศเพื่อการตัดสินใจยังไม่เชื่อม โยงกัน

ทำให้เกิดความล่าช้าในการวิเคราะห์ ตัดสินใจและบริหารงานต่างๆในคณะฯ

3X4

=12

ระดับ

สูง

 

แนวทางจัดการ

1. มอบหมายให้เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่สามารถเชื่อมโยงตามพันธกิจต่างๆได้

2. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์แม่ข่ายของคณะพร้อมติดตั้ง

3. ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาระบบต่างๆได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการและด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

3. คณะพยาบาลศาสตร์ ได้นำแผนบริหารความเสี่ยงเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะเพื่อรับทราบ ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 (เอกสาร5.2-3(4))

4. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ดำเนินการกำกับ ติดตามการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง พบว่า

    4.1 ความเสี่ยงลดลง จำนวน 2 ประเด็นได้แก่

       4.1.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจยังไม่เชื่อมโยงกัน

       4.1.2 การเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผน

    4.2 ความเสี่ยงคงเดิม จำนวน 3 ประเด็น ได้แก่

       4.2.1 อาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่เป็น ไปตามเกณฑ์ของ สกอ.

       4.2.2 ทุนวิจัยภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีแนวโน้มลดลง

       4.2.3 ผลงานตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติมีจำนวนน้อย

ซึ่งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะนำไปปรับปรุงการดำเนินการในปีการศึกษา 2566

5. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง นำผลการบริหารความเสี่ยงเสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะครั้งที่ 5/2566 วันที่ 15 พฤษภาคม 2565 (5.2-3(6))

4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัด (ให้แสดงผลการดำเนินงานในปีที่ประเมิน)

   คณะพยาบาลศาสตร์ ได้บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของคณะพยาบาลศาสตร์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคณะพยาบาลศาสตร์ โดยยึดหลักนิติธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ตลอดจนความคุ้มค่า และอาศัยหลักคุณธรรมในการกำกับดูแลด้านต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จ และก้าวหน้าของคณะพยาบาลศาสตร์ ดังนี้

  1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คณะพยาบาลศาสตร์กำหนดนโยบายในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนยุทธศาสตร์ แผนการปฏิบัติการประจำปี (5.2-4(1), 5.2-4(2), 5.2-4(3), 5.2-4(3)) ผลประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของคณะ และผลการประเมินตนเองเพื่อรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ อย่างต่อเนื่อง (5.2-4(5), 5.2-4(6), 5.2-4(7))
  2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คณะพยาบาลศาสตร์ได้พัฒนากลไกการบริหารจัดการภายคณะให้มีประสิทธิภาพ จัดวางระบบการบริหารความเสี่ยง (5.2-4(8)) และมีการควบคุมและติดตามการใช้งบประมาณให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ประหยัดและคุ้มค่า (5.2-4(9))
  3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ให้บริการด้านต่างๆ ตามพันธกิจที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ทุกกลุ่มที่มีความหลากหลายได้ เช่น การดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่สังคม เป็นไปตามความต้องการของชุมชน โดยคณะได้ดำเนินการค้นหาความต้องการและจัดโครงการตามความต้องการและสภาพปัญหาของชุมชน (5.2-4(10)) การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร คณะฯ ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการการพัฒนาตนเองและดำเนินการส่งเสริมอาจารย์ตามความต้องการของแต่ละคน (5.2-4(11))
  4. หลักภาระความรับผิดชอบ (Accountability) คณะพยาบาลศาสตร์ได้ตระหนักถึงภาระความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามนโยบายและพันธกิจที่กำหนดไว้เพื่อสนองต่อความคาดหวังของชุมชน สังคม โดยบริหารจัดการและส่งเสริมผลักดันการดำเนินงานด้านต่างๆ ให้บรรลุผลสำเร็จในพันธกิจด้านต่างๆ ซึ่งแม้พันธกิจหลักด้านการผลิตบัณฑิตนั้นคณะเปิดรับนักศึกษาเป็นปีที่ 2 ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษา แต่คณะยังมีความรับผิดชอบในพันธกิจอื่นๆ เช่น ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมจึงมีการดำเนินงานบริการวิชาการแก่ชุมชนเพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของชุมชน โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ชุมชนได้รับคณะ (5.2-4(12))
  5. หลักความโปร่งใส (Transparency) คณะพยาบาลศาสตร์ มีการรายงานผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของคณะ ในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ และที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้บุคลากรและ/หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบ ได้แก่ การรายงานผลการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการดำเนินการทั้งภายในและภายนอกคณะ (5.2-4(13), 5.2-4(14))
  6. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คณะพยาบาลศาสตร์ เปิดโอกาสให้บุคลากรหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ โดยมีการแต่งตั้งในคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจต่างๆ (5.2-4(15)) และมีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารคณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อระดมความคิดเห็นในการพัฒนาคณะฯ ร่วมกัน รวมทั้งมีช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารงาน
  7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) คณะพยาบาลศาสตร์มีการกระจายอำนาจไปยังบุคลากรภายในให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยผ่านคณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่างๆ ซึ่งจะมีอำนาจในการตัดสินใจในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม และการดำเนินงานด้านต่างๆ ของคณะวิชา (5.2-4(15)) และมีการมอบหมายผู้รักษาราชการแทนคณบดี ปฏิบัติหน้าที่แทนกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ (5.2-4(16))  
  8. หลักนิติธรรม (Rule of Law) คณะพยาบาลศาสตร์บริหารงานโดยใช้อำนาจตามหลักการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งการบริหารที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานบุคคล งานงบประมาณ โดยยึดถือข้อกฎหมาย กฎระเบียบหรือข้อบังคับตามระเบียบของทางราชการเป็นหลักสำคัญ เช่น ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบการบริหารงานบุคคล เพื่อให้การบริหารราชการมีความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  9. หลักความเสมอภาค (Equity) คณะฯมีการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายของคณะพยาบาลศาสตร์ โดยยึดหลักความเสมอภาค ปฏิบัติต่อบุคลากรทุกคนอย่างเท่าเทียม เช่น การส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง สนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมฝึกอบรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ เป็นต้น (5.2-4(17))
  10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) มีการบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นฉันทามติ ยึดหลักการของการมีส่วนร่วมทางความคิดซึ่งกันและกันโดยมีกระบวนการหาข้อตกลงร่วมกันโดยเปิดโอกาสให้บุคลากรของคณะฯ มีโอกาสแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ การประชุมกรรมการบริหารคณะอย่างสม่ำเสมอ มีการรับฟังข้อเสนอแนะจากที่ประชุมต่างๆ  ซึ่งได้เปิดโอกาสให้ทุกส่วนงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และหาข้อสรุปร่วมกัน

    มีการประเมินความสามารถและทักษะในการบริหารและการจัดการ ตามหลักธรรมาภิบาลของคณบดี เมื่อสิ้นปีการศึกษา

5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการของคณะพยาบาลศาสตร์ที่ครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต (5.2-5(1)) และด้านการวิจัย ดังนี้

  1. การจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิต คณะได้กำหนดประเด็นในการดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การทำหลักสูตร ตามรูปแบบ OBE” มีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์จำนวน 14 คน โดยมีการดำเนินการจัดกิจกรรมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 (5.2-5(2)) โดยผู้ทรงคุณวุฒิภายใน คือ ผศ.ดร.ลัดดา แสนสีหา หลังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีการรวบรวมความรู้เป็นแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง “การทำ มคอ.3-4 ให้สอดคล้องกับหลักสูตร OBE” ((5.2-5(3))) และดำเนินการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีผ่านเวปไซต์ของคณะพยาบาลศาสตร์ (5.2-5(4)) จากแนวปฏิบัติที่ดีนี้อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ได้นำความรู้มาปรับปรุง มคอ.3 ที่สอนในภาคการศึกษาที่ 2/2565 จำนวน 6 รายวิชา ((5.2-5(5)))
  2. การจัดการความรู้ด้านการวิจัย คณะได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์” มีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ ดำเนินการจัดกิจกรรมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 256 โดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก คือ ผศ.ดร.สมรภพ บรรหารักษ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและการตางประเทศ คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน คือ ผศ.ดร.ลัดดา แสนสีหา และ อาจารย ดร.ชนิดาภา ขอสุขวรกุล (5.2-5(6)) มีการรวบรวมความรู้ที่ได้เป็นแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง “เทคนิคการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย” (5.2-5(7)) และดำเนินการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีนี้ผ่านเวปไซต์ของคณะพยาบาลศาสตร์ (เอกสาร 4) จากแนวปฏิบัติที่ดีนี้อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ ได้นำมาปรับใช้ ดังนี้ 1) เลือกแหล่งตีพิมพ์ระดับนานาชาติ การเลือกวารสารตรงกับผลงานวิจัย และการสงบทความเพื่อตีพิมพ จำนวน 3 คน 2) เตรียมนิพนธตนฉบับระดับนานาชาติ จำนวน 1 คน และ เตรียมนิพนธ์ต้นฉบับระดับชาติ จำนวน 2 คน (5.2-5(8))
6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

      คณะฯ ได้มีการจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากรระยะเวลา 5 ปี พ.ศ.2566-2570 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุน มีการกำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนและประเมินผลสำเร็จของแผน 2 ครั้ง/ปีแล้วนำเสนอรายงานต่อผู้บริหารและคณะกรรม การประจำคณะ ซึ่งมีกระบวนการในการดำเนินงาน ดังนี้

1. สำรวจความต้องการของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนโดยรองคณบดีฝ่ายบริหารในด้านที่ต้องการพัฒนาตนเอง ได้แก่ ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะเป็นรายบุคคล และสมรรถนะด้านการบริหารของบุคลากร นำผลจากการวิเคราะห์สมรรถนะและความต้องการในการพัฒนาตนเอง ของแต่ละบุคคลมาเป็นแนวทางในการกำหนดโครงการและกิจกรรมในการวางแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร (5.2-6(1))  

2. มีการจัดสรรงบประมาณ เพื่อใช้ในการพัฒนาตนเองในการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรมสัมมนา/ศึกษาดูงานทางการพยาบาลหรือวิชาการทางด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่าคนละ 15 ชั่วโมง/ปีการศึกษา โดยจัดงบพัฒนาอาจารย์ ปีละ 5,000 บาท/คน

3. มีการติดตามผลการดำเนินงาน โดยให้ผู้เข้าอบรม/สัมมนาได้รายงานผลการประชุม อบรมตามแบบฟอร์มของคณะฯ (5.2-6(2))

   ซึ่งปีงบประมาณ 2566 คณะมีแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากร ดังนี้

แผนการรับอาจารย์แยกตามสาขาวิชา

สาขาวิชา

จำนวนรับเพิ่ม (คน)

รวม

2565

2566

2567

2568

2569

1) การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

1

1

-

1

1

5

2) การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

1

3

3

1

2

13

3) การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

1

2

-

-

1

5

4) การพยาบาลอนามัยชุมชน

-

1

3

1

1

8

5) การพยาบาลผดุงครรภ์

1

2

1

1

1

8

รวมจำนวนรับเพิ่ม

4

9

7

4

6

30

อาจารย์เกษียณ

1*

-

-

-

-

 

รวมจำนวนทั้งหมด

13

22

29

33

39

39

ด้านการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางการพยาบาล/สาขาเกี่ยวข้อง

แผนการเพิ่มจำนวนอาจารย์

วุฒิการศึกษาปริญญาเอก

จำนวนอาจารย์(คน)ได้รับการศึกษา

ต่อปีการศึกษา)

รวม

2566

2567

2568

2569

2570

1. พัฒนาอาจารย์ระดับการศึกษาปริญญาเอกในและ ต่างประเทศ

1

1

2

2

2

8

2. รับอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับ

ปริญญาเอก

2

2

-

-

-

4

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้านการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

แผนพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

จำนวนอาจารย์(คน)

ต่อ (ปีการศึกษา)

2566

2567

2568

2569

2570

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

1

1

2

2

3

 

รองศาสตราจารย์

-

-

-

1

1

 

ศาสตราจารย์

-

-

-

-

-

 

รวม

1

1

2

3

4

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้านวิชาการและวิชาชีพ

      ส่งเสริมให้อาจารย์เข้าร่วมประชุม อบรมสัมมนาทั้งภายในและภายนอกอย่างน้อย  15 ชั่วโมง/คน/ปีและสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 5,000 บาท/คน

ด้านการปฏิบัติการพยาบาลของอาจารย์ (Faculty Practice)

     เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาอย่างน้อย 80 ชั่วโมง/คน/ปี 

ด้านการเตรียมความพร้อมอาจารย์ใหม่

      จัดโครงการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่และระบบการแต่งตั้งอาจารย์พี่เลี้ยงตามแต่ละสาขา

       ในปีการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ มีการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดและมีการประเมินผลการดำเนินงาน ดังนี้

1) ด้านการบริหาร คณะพยาบาลศาสตร์มีระบบการคัดเลือกและสรรหาอาจารย์ใหม่ในปีการศึกษา 2565 รับอาจารย์ใหม่จำนวน 3 คน (เอกสาร 5.2-6(3)) คือ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 คน สาขาการผดุงครรภ์ 1 คน และสาขาการพยาบาลสุขภาพชุมชน 1 คน รวมอาจารย์ทั้งสิ้น 14 คน ในปีการศึกษา 2566 มีแผนรับอาจารย์ใหม่จำนวน 9 คน

2) ด้านการพัฒนาอาจารย์ คณะมีการพัฒนาบุคลากร ดังนี้

   2.1 การพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก ในปีการศึกษา 2565 มีอาจารย์ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางการพยาบาล จำนวน  1 คน คือ อาจารย์นิตยา จันทบุตร อยู่ระหว่างการสมัครและสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการพยาบาล

   2.2 การพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งในปีการศึกษา 2565 คณะได้เตรียมการพัฒนาอาจารย์ให้มีผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ 1 คนคือ อาจารย์พุทธิพร พิธานธนานุกูล ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ และเตรียมผลงานทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ และเตรียมทำเอกสารประกอบการสอน เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในปีการศึกษา 2566 และให้อาจารย์เข้าอบรมในโครงการที่มหาวิทยาลัยจัด 

   2.3 การพัฒนาด้านวิชาการและวิชาชีพ โดยส่งเสริมให้อาจารย์และบุคลากรเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาทั้งภายในและภายนอกโดยในปีงบประมาณ 2565 มีอาจารย์จำนวน 14 คน ได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์ร้อยละ 100 (5.2-6(4))

  2.4 ด้านการปฏิบัติการพยาบาลของอาจารย์ (Faculty Practice) เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ให้ทุกสาขาสำรวจความต้องการเพิ่มความเชี่ยวชาญ (5.2-6(5))

  2.5 ด้านการเตรียมความพร้อมอาจารย์ใหม่ มีคู่มืออาจารย์ใหม่และโครงการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ (5.2-6(6))

   คณะพยาบาลศาสตร์มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์และบุคลากร (5.2-6(7)) และมีการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์และบุคลากรที่มีต่อการบริหารและพัฒนาบุคลากร โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.28 จากระดับเต็ม 5 โดยหัวข้อที่มีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การนำความรู้และทักษะที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาตนเอง และหน่วยงาน ค่าเฉลี่ย 4.45(SD=0.59) และหัวข้อที่มีความพึงพอใจเฉลี่ยน้อยที่สุด คือบรรยากาศของหน่วยงานทำให้ท่านมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองมีค่าเฉลี่ย 4.17 (SD=0.65) โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

         - ควรปรับเพิ่มงบพัฒนาตนเองของอาจารย์(เดิม 5,000 บาท/คน/ปี) (5.2-6(8)) 

         คณะพยาบาลศาสตร์ มีการจัดสวัสดิการ เสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรทั้งสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เช่น การเยี่ยมเมื่อเจ็บป่วย และการคลอดบุตร การอวยพรวันเกิดและรับประทานอาหารร่วมกันเพื่อต้อนรับเมื่อมีอาจารย์ใหม่เข้ามาปฏิบัติงานในคณะฯ (5.2-6(9)) มีการยกย่องเชิดชูอาจารย์และบุคลากรที่ปฏิบัติงานดี เชิดชูยกย่องอาจารย์ที่ได้รับทุนวิจัย และมีผลงานตีพิมพ์ในฐานข้อมูล TCI (5.2-6(10))  

        มีการสรุปผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารอาจารย์และบุคลากร และแผนการพัฒนาอาจารย์และบุคลากร ในการประชุมครั้งที่ 5/2566 (5.2-6(11)) โดยที่ประชุมมีข้อเสนอแนะ ให้มีการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายและผู้รับผิดชอบ และได้นำข้อเสนอแนะมาจัดทำแผนในปีงบประมาณ 2566

7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

      คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามแผนยุทธศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์ ปี พ.ศ. 2566-2570 (5.2-7(1))  และแผนปฏิบัติการคณะพยาบาลศาสตร์ ปีงบประมาณ 2566 (5.2-7(2))  และเป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ (5.2-7(3)) โดยปรับให้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานตามปกติของคณะ ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ ดังนี้  

การควบคุมคุณภาพ

     คณะพยาบาลศาสตร์ ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  (5.2-7(4)) และแผนการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2565 (5.2-7(5)) โดยมีคณะกรรมการแผนและการประกันคุณภาพการศึกษา (5.2-7(6)) เป็นผู้ดำเนินงานตามระบบและแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ และรายงานผลการประเมินคุณภาพในปีการศึกษา 2564 (5.2-7(7)) ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ในการประชุมครั้งที่ 6/2565 วันที่ 31 สิงหาคม 2565 (5.2-7(8)) และ คณะกรรมการประจำคณะ ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 วันที่ 14 กันยายน 2565 (5.2-7(9)) นำข้อเสนอแนะไปจัดทำแผนยกระดับคุณภาพ (Improvement Plan) (5.2-7(10)) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะฯ ในปีการศึกษา 2565

การตรวจสอบคุณภาพ

       คณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ กำกับ ติดตามการดำเนินงานคุณภาพการศึกษาของคณะฯ ตามองค์ประกอบคุณภาพ โดยคณะกรรมการแผนและการประกันคุณภาพการศึกษา และคณะกรรมการอื่น ๆ ที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพ จะรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ (5.2-7(11)) และรายงานในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยตามลำดับ

การประเมินคุณภาพ

     คณะพยาบาลศาสตร์ แต่งตั้งคณะกรรมการการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2565 (5.2-7(12)) และมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self-assessment report: SAR) ระดับหลักสูตร และ คณะกรรมการแผนและการประกันคุณภาพการศึกษา จัดทำรายงานการประเมินตนเอง ระดับคณะ ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ และรายงานข้อมูลในระบบ E-SAR และ CHE QA online ตามกำหนดเวลาเพื่อรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 และประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 (5.2-7(13), (5.2-7(14))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 ข้อ 5 คะแนน