ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 มีระบบและกลไกการให้บริการวิชาการแก่สังคม

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อัญชลี สุวัฒโนดม , สุชาติ ศรีชื่น
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีผลการดำเนินงาน 1-2 ข้อ มีผลการดำเนินงาน 3 ข้อ มีผลการดำเนินงาน 4 ข้อ มีผลการดำเนินงาน 5 ข้อ มีผลการดำเนินงาน 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 หน่วยงานที่รับผิดชอบงานบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัยโดยมีผู้บริหารระดับรองอธิการบดีกำกับดูแล
2 มีระบบบริหารงานบริการวิชาการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
3 มีแผน/โครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
4 มีโครงการบริการวิชาการในระดับสาขาครบทุกสาขาวิชา
5 มีการประเมินผลและติดตามผล โครงการบริการวิชาการ
6 การบูรณาการงานบริการวิชาการกับพันธกิจหลักอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1หน่วยงานที่รับผิดชอบงานบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัยโดยมีผู้บริหารระดับรองอธิการบดีกำกับดูแล

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีหน่วยงานที่รับผิดชอบงานบริการวิชาการคือ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการรับผิดชอบพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัย  และได้มอบหมายให้ ดร.ชูวิทย์  นาเพีย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการเป็นผู้กำกับดูแล 

2มีระบบบริหารงานบริการวิชาการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีระบบบริหารงานบริการวิชาการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามกระบวนการ PDCA ดังนี้

 2.1 ขั้นตอนการวางแผน (Plan)

1) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้จัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคมจำนวน  21 คน ประจำปีการศึกษา 2562 ครั้งที่ 3/2562 วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2562 เพื่อวางแผนในการกำหนดปฏิทินการดำเนินงานบริการวิชาการประจำปีการศึกษา 2562

2) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา 2562

3) จัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคมจำนวน 24 คน ประจำปีการศึกษา 2562 ครั้งที่ 4/2562 วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2562 เพื่อวางแผนโครงการและกำหนดแนวปฏิบัติให้อาจารย์จาก 5 คณะ และเจ้าหน้าที่จาก 2 สำนัก กำหนดพื้นที่เป้าหมายได้มติที่ประชุม คือ บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และลงพื้นที่เพื่อต่อยอดโครงการบริการวิชาการจากปีการศึกษา 2561 ที่โรงเรียนหนองสาดโนนเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

4) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้นำคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ บุคลากร จาก 5 คณะ 2 สำนัก และ 2 งานเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 2) คณะครุศาสตร์ 3) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี 4)คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 5) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง 6) สำนักงานอธิการบดี 7) สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 จำนวนทั้งสิ้น 25 คน และมีชาวบ้านเข้าร่วมประชาคมจำนวน 70 คน ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และชาวบ้านหัวนา โดยมีการสำรวจปัญหาและความต้องการ

5) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จัดทำบันทึกข้อตกลง ในวันที่ 17 เดือน มกราคม พ.ศ. 2563 ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประกอบด้วย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง สำนักงานอธิการบดี และ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ กับ โรงเรียนบ้านกอกหัวนา ฝ่ายที่สอง กับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกันทรารมย์ ฝ่ายที่สาม กับศูนย์พัฒนานโยบายสาธารณะ จังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายที่สี่ กับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานศรีสะเกษ ฝ่ายที่ห้า และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายที่หก เพื่อพัฒนาร่วมกันในพื้นที่ชุมชนบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ หน่วยงานสนับสนุนจากภายนอกสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดหาองค์ความรู้ วิทยากร ปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่ และดำเนินการเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาการผ่านทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ การประชุม สัมมนา หรืออบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำให้ชุมชนเข้าถึงกิจกรรม งานของมหาวิทยาลัยได้สะดวกและ  ตรงความต้องการของชุมชนมากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาการที่จำเป็นต่อการพัฒนาชุมชน

6) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคมครั้งที่ 1/2563 วันพุธที่ 15 มกราคม 2563 และได้ (ร่าง)แผนบริการวิชาการแก่ชุมชน  ประจำปีการศึกษา 2562 และเสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวัน 19 กุมภาพันธ์ 2563 หน้าที่26 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา วาระที่ 4.20 (ร่าง) แผนบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2562 )

2.2 ขั้นตอนการดำเนินงานตามแผน (DO)

1) มหาวิทยาลัย ได้จัดการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2562 ครั้งที่  1/2563 วันพุธที่ 15 มกราคม 2563 3.1-2-(9)) เพื่อกำหนดกิจกรรม จัดสรรงบประมาณ และดำเนินการลงพื้นที่ชุมชนตามแผนการดำเนินโครงการ

3.ขั้นตอนการติดตาม รับฟังข้อคิดเห็นและประเมินผลกิจกรรม (Check)

1) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้ดำเนินการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2562 และเสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยให้รับทราบ ในการประชุมครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันพุธที่ 24  มิถุนายน 2563 หน้าที่ 26  เรื่องเสนอที่ประชุมพิจารณา วาระที่ 5.9 รายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

2) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามผลลัพธ์ (Output)  จำนวน 6 โครงการ ประกอบไปด้วย 5 คณะ 1 สำนัก ซึ่งสามารถตอบตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ว่างไว้

3) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ติดตามความต่อเนื่องโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามพันธด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2562  ในวันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม 2563  ณ โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 23 คน ร้อยละ 5 ของอาจารย์ทั้งหมดของสถาบัน

4) ขั้นตอนแนวทางปรับปรุงและข้อเสนอแนะ (Act) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบันครั้งที่   2/2563  วันที่ 20 สิงหาคม 2563  โดยมีผู้บริหารที่รับผิดชอบ อาจารย์ บุคลากร จาก 5 คณะ 2 สำนัก และ 2 งาน ให้ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขหรือพัฒนาโครงการบริการวิชาการในปีต่อไปเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านบริการวิชาการแก่สังคมปีการศึกษา

3มีแผน/โครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการดำเนินโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริการวิชาการและน้อมนำแนวพระราชดำริ ที่ตอบสนองความต้องการพัฒนาของสังคมท้องถิ่น โดยมี  แผนบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2562 

4มีโครงการบริการวิชาการในระดับสาขาครบทุกสาขาวิชา

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา 2562 และต่อเนื่องถึงปีการศึกษา 2563 มีผู้บริหารที่รับผิดชอบ อาจารย์ บุคลากร จาก 5 คณะ 2 สำนัก และ 2 งานเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 2) คณะครุศาสตร์ 3) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี 4)คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 5) วิลัยกฎหมายและการปกครองและ 6) สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนโครงการบริการวิชาการดังนี้

ที่

โครงการ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1

โครงการที่ปรึกษาทางอุตสาหกรรมวิสาหกิจชุมชน “ปลาร้าบ้านหัวนา”

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2

โครงการค่ายพัฒนาทักษะการเรียนรู้ดนตรีและกีฬา

คณะครุศาสตร์

3

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มและการร่วมกลุ่มอาชีพผู้ผลิตปลาส้มชุมชนบ้านหัวนา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

4

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการตลาดออนไลน์และบัญชีต้นทุนเพื่อชุมชนเข้มแข็ง

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

5

โครงการถอดบทเรียนองค์ความรู้และเขียนแผนพัฒนาชุมชน

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

6

โครงการการส่งเสริมการอ่าน โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ3

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

 

5มีการประเมินผลและติดตามผล โครงการบริการวิชาการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้มอบหมายให้สำนักส่งเสริมบริการวิชาการ กองนโยบายและแผน และหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา มีการลงพื้นที่เพื่อประเมินและติดตามผลโครงการบริการวิชาการจำนวน 6 โครงการ ดังนี้

ที่

โครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน/และสถานที่

ผลการกำกับติดตาม

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1

โครงการที่ปรึกษาทางอุตสาหกรรมวิสาหกิจชุมชน "ปลาร้า" บ้านหัวนา

1.1 กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนา
รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 7-8 สิงหาคม 2563
รอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2563    รอบที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 สิงหาคม 2563  รอบที่ 4 ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2563     
1.2 กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิสาหกิจปลาร้าบ้านหัวนา     
วันที่ 29 สิงหาคม 2563 
ณ บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

- ได้ปลาร้าที่สะอาด ถูกหลักอนามัย

- วิสาหกิจชุมชนทราบต้นทุน กำไร ของการทำปลาร้า

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2

ค่ายพัฒนาทักษะการเรียนรู้ดนตรีและกีฬา

 ระหว่างวันที่ 29 - 31 กรกฎาคม 2563   ณ โรงเรียนบ้านกอกหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

- ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมืองฝกีฬา อย่างน้อย 1 ชนิด

- ผู้เข้าร่วมโครงการได้แสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมือง/กีฬา

คณะครุศาสตร์

3

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม และการรวมกลุ่มอาชีพผู้ผลิตปลาส้มชุมชนบ้านหัวนา

ระหว่างวันที่ 30 - 31 กรกฎาคม 2563
ณ วัดจำปา บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

- เกิดปลาส้มถูกสุขลักษณะ เป็นที่ต้องการของตลาด และกลุ่มผู้บริโภค
- เกิดสูตรกลางที่เป็นมาตรฐานในการผลิตปลาส้มที่ใช้ร่วมกัน
- มีโลโก้ของกลุ่มและบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ
- เกิดการรวมผู้ปลาส้มในชุมชน และจะมีการดำเนินการจดทะเบียนเป็น “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน” กลุ่มปลาส้ม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

4

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการตลาดออนไลน์และบัญชีต้นทุนเพื่อชุมชนเข้มแข็ง

ระหว่างวันที่ 25 - 26 กรกฎาคม 2563
ณ วัดจำปา บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

- ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับคู่มือและสมุดจัดทำบัญชีควรเรือนคนละ 1 เล่ม
- ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการการจัดทำบัญชีต้นทุนเบื้องต้นการตลาดออนไลน์แก่ผู้อื่นได้
- ผู้เข้าร่วมอลนใจัดทำบัญชีต้นทุนและการตลาดออนไลน์ได้อย่างต่อเนื่อง

คณะบริหาร   ธุรกิจและการบัญชี

5

โครงการถอดบทเรียนองค์ความรู้และเขียนแผนพัฒนาชุมชน

สิงหาคม 2563
ณ บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

- สรุปเล่มองค์รู้เป็นข้อมูลในการพัฒนาชุมชน

- ชุมชนมีแผนพัฒนาชุมชน

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

6

โครงการส่งเสริมการอ่าน

ระหว่างวันที่ 24-25 กรกฏาคม 2563
ณ โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

นักเรียนได้รับการฝึกทักษะในด้านการอ่าน ฟัง ดู และการสื่อสารโดยการพูดหรือเขียนตามความคิดของตนเอง และมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่านมากขึ้น ตลอดจนสามารถใช้แหล่งเรียนรู้ จากสื่อต่างๆ รอบตัวได้

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการแก่สังคม

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 ข้อ 5.00 คะแนน