ตัวบ่งชี้ที่ 3.4 ความสำเร็จในการปฏิบัติพันธกิจ ในฐานะที่เป็น “สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อัญชลี สุวัฒโนดม , สุชาติ ศรีชื่น
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีผลการดำเนินงาน 1 ข้อ มีผลการดำเนินงาน 2 ข้อ มีผลการดำเนินงาน 3 ข้อ มีผลการดำเนินงาน 4 ข้อ มีผลการดำเนินงาน 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีแนวนโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในการให้บริการวิชาการ เพื่อพัฒนาชุมชน/ ท้องถิ่น
2 มีการส่งเสริม สนับสนุนปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น
3 มีผู้นำชุมชนตัวอย่างที่เป็นผลผลิตมาจากการส่งเสริมสนับสนุนของมหาวิทยาลัย
4 มีกลุ่มอาชีพ หรือวิสาหกิจชุมชนต้นแบบภายใต้การส่งเสริม สนับสนุนของมหาวิทยาลัย
5 มีหมู่บ้านหรือชุมชนต้นแบบการพัฒนาภายใต้การส่งเสริม สนับสนุนของมหาวิทยาลัย
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีแนวนโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในการให้บริการวิชาการ เพื่อพัฒนาชุมชน/ ท้องถิ่น

มีแนวนโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในการให้บริการวิชาการ เพื่อพัฒนาชุมชน/ ท้องถิ่น

1.1 มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยาชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 2565) และกำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริการวิชาการและน้อมนำแนวพระราชดำริ ที่ตอบสนองความต้องการพัฒนาของสังคมท้องถิ่น

1.2 มีการกำหนดหน่วยงานหลักที่รับชอบ คือ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมด้านบริการวิชาการอย่างชัดเจน โดยกำหนดให้ทุกคณะและสำนักเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย คณะครุศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ สำนักงานอธิการบดี  และมีเครือข่ายจากหน่วยงานภายนอกเป็นหน่วยงานร่วมพัฒนา   ซึ่งมหาวิทยาลัย ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกโดยมีการลงนามความร่วมมือ เมื่อวันที่ 17 เดือน มกราคม พ.ศ. 2563ระหว่าง “มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ” ประกอบด้วย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์  คณะครุศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์  คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง สำนักงานอธิการบดี และ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ กับ “โรงเรียนบ้านกอกหัวนา” ฝ่ายที่สอง กับ “สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกันทรารมย์” ฝ่ายที่สาม กับ “ศูนย์พัฒนานโยบายสาธารณะ จังหวัดศรีสะเกษ” ฝ่ายที่สี่ กับ “สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานศรีสะเกษ” ฝ่ายที่ห้า และ “สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ”  ฝ่ายที่หก เพื่อพัฒนาร่วมกันในพื้นที่ หน่วยงานสนับสนุนจากภายนอกสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดหาองค์ความรู้ วิทยากร ปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่และดำเนินการเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาการผ่านทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์การประชุม สัมมนา หรืออบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำให้ชุมชนเข้าถึงกิจกรรม งานของมหาวิทยาลัยได้สะดวกและตรงความต้องการของชุมชนมากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาการที่จำเป็นต่อการพัฒนาชุมชน

1.3 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดทำแผนบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา 2562 ตามข้อกำหนดยุทธศาสตร์ การบริการวิชาการและน้อมนำแนวพระราชดำริ ที่ตอบสนองความต้องการพัฒนาของสังคมท้องถิ่น เพื่อการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัยกับการบริการวิชาการให้กับชุมชนและสังคม มีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จาการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาอาจารย์ นักศึกษา ชุมชน และสังคม คือ ชุมชนบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และ กำหนดพื้นที่การดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  ณ โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ  เพื่อให้สอดคล้องกับมาตราฐานประกันคูณภาพได้กำหนดไว้ ซี่งกิจกรรมพื้นที่เดิมปีการศึกษา 2561 ได้พัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พร้อมใช้งาน ปีการศึกษา 2562

2มีการส่งเสริม สนับสนุนปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น

มีการส่งเสริม สนับสนุนปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการสนับสนุนด้านบุคลากร ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา จากทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินกิจกรรมจำนวน 6 โครงการ ตามแผนการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2562 และมหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์พัฒนานโยบายจังหวัดศรีสะเกษ และชุมชนบ้านหนองสาด อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ เรื่อง การสร้างทีมงานการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง (3.1-4(1)) เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2563 เพื่อสร้างกลไกในการทำงานด้านการจัดการขยะมูลฝอย

3มีผู้นำชุมชนตัวอย่างที่เป็นผลผลิตมาจากการส่งเสริมสนับสนุนของมหาวิทยาลัย

มีผู้นำชุมชนตัวอย่างที่เป็นผลผลิตมาจากการส่งเสริมสนับสนุนของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดกิจกรรมโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา 2562 ณ ชุมชนบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และ กำหนดพื้นที่การดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  ณ โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ   พบว่า

3.1 ผู้นำชุมชนมีความแข็มแข็ง เป็นแบบอย่างในการพัฒนา ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านบริการวิชาการฯ (MOU)  ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อร่วมกันพัฒนาโรงเรียนบ้านหนองสาด ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และชุมชนบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นชุมชนยั่งยืน พึ่งพาตนเองได้ และมีความเข้มแข็งตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ มีการลงพื้นที่เพื่อการขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกันกับชุมชนเป็นระยะ ทำให้เกิดการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง

3.2 ผู้นำชุมชนบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และชุมชนบ้านโนนเจริญ ตำบลซำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จัดกิจกรรมโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 6 โครงการ ส่งผลให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ยั่งยืน เป็นแบบอย่างของชุมชนใกล้เคียง โดยมีผลการดำเนินงาน ตามรายงานผลการดำเนินโครงการติดตามความยั่งยืนอันเนื่องมาจากการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

4มีกลุ่มอาชีพ หรือวิสาหกิจชุมชนต้นแบบภายใต้การส่งเสริม สนับสนุนของมหาวิทยาลัย

มีกลุ่มอาชีพ หรือวิสาหกิจชุมชนต้นแบบภายใต้การส่งเสริม สนับสนุนของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดกิจกรรมโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา 2562 ณ โรงเรียนโรงเรียนบ้านหนองสาด ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และชุมชนบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น และมีการลงพื้นที่เพื่อติดตามความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง พบว่าชุมชนกลุ่มเป้าหมายเกิดความเข้มแข็ง และมีกลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชนต้นแบบภายใต้การส่งเสริมสนับสนุนของมหาวิทยาลัยตามแผนการบริการวิชาการแก่สังคมฯ ดังนี้

 

ที่

โครงการ

ผลการกำกับติดตามความยั่งยืนที่เป็นผลมาจากการโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1

โครงการ                ที่ปรึกษา             ทางอุตสาหกรรมวิสาหกิจชุมชน                 "ปลาร้า"                 บ้านหัวนา

- ได้ปลาร้าที่สะอาด ถูกหลักอนามัย

- วิสาหกิจชุมชนทราบต้นทุน กำไร ของการทำปลาร้า

คณะศิลปศาสตร์           และวิทยาศาสตร์

2

ค่ายพัฒนาทักษะการเรียนรู้ดนตรีและกีฬา

- ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมืองฝกีฬา อย่างน้อย 1 ชนิด

- ผู้เข้าร่วมโครงการได้แสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมือง/กีฬา

คณะครุศาสตร์

3

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม และการรวมกลุ่มอาชีพผู้ผลิตปลาส้มชุมชนบ้านหัวนา

- เกิดปลาส้มถูกสุขลักษณะ เป็นที่ต้องการของตลาด และกลุ่มผู้บริโภค
- เกิดสูตรกลางที่เป็นมาตรฐานในการผลิตปลาส้มที่ใช้ร่วมกัน


- มีโลโก้ของกลุ่มและบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ
- เกิดการรวมผู้ปลาส้มในชุมชน และจะมีการดำเนินการจดทะเบียนเป็น “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน” กลุ่มปลาส้ม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

4

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการตลาดออนไลน์และบัญชีต้นทุนเพื่อชุมชนเข้มแข็ง

- ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับคู่มือและสมุดจัดทำบัญชีควรเรือนคนละ 1 เล่ม
- ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการการจัดทำบัญชีต้นทุนเบื้องต้นการตลาดออนไลน์แก่ผู้อื่นได้
- ผู้เข้าร่วมอลนใจัดทำบัญชีต้นทุนและการตลาดออนไลน์ได้อย่างต่อเนื่อง

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

5

โครงการถอดบทเรียนองค์ความรู้และเขียนแผนพัฒนาชุมชน

- สรุปเล่มองค์รู้เป็นข้อมูลในการพัฒนาชุมชน

- ชุมชนมีแผนพัฒนาชุมชน

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

6

โครงการส่งเสริมการอ่าน

นักเรียนได้รับการฝึกทักษะในด้านการอ่าน ฟัง ดู และการสื่อสารโดยการพูดหรือเขียนตามความคิดของตนเอง และมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่านมากขึ้น ตลอดจนสามารถใช้แหล่งเรียนรู้ จากสื่อต่างๆ รอบตัวได้

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการแก่สังคม

 

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 ข้อ 5.00 คะแนน