ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การรับนักศึกษา

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ณัฐวัฒน์ บัวทอง , ธัญยธรณ์ พิพัฒนมงคลชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

คุณสมบัติของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตรเป็นปัจจัยพื้นฐานของความสำเร็จ แต่ละหลักสูตรจะมีแนวคิดปรัชญาในการออกแบบหลักสูตร ซึ่งจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของนักศึกษาที่สอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติของหลักสูตร การกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกต้องมีความโปร่งใส ชัดเจน และสอดคล้องกับคุณสมบัติของนักศึกษาที่กำหนดในหลักสูตร มีเครื่องมือที่ใช้ในการคัดเลือก ข้อมูล หรือวิธีการคัดนักศึกษาให้ได้นักศึกษาที่มีความพร้อมทางปัญญา สุขภาพกายและจิต ความมุ่งมั่นที่จะเรียน และมีเวลาเรียนเพียงพอ เพื่อให้สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด

ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้

- การรับนักศึกษา

- การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้ได้นักศึกษาที่มีความพร้อมที่จะเรียนในหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน
0 1 2 3 4 5

• ไม่มีระบบ

• ไม่มีกลไก

• ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง

• ไม่มีข้อมูลหลักฐาน

• มีระบบมีกลไก

• ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีระบบมีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ

• มีระบบมีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน

• มีระบบมีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน

• มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
 

• มีระบบ มีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน

• มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

• มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน

ผลการดำเนินงาน

การรับนักศึกษา

3.1.1 การรับนักศึกษา

การดำเนินการรับนักศึกษา

   ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีการการทบทวนกระบวนการรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา พบว่าจำนวนนักศึกษาที่รายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2562 นั้นมีจำนวน 100 คน (100%) ซึ่งไม่เป็นไปตามแผนการรับนักศึกษาตาม มคอ.2 คือ 125 คน ทั้งนี้ที่ประชุมกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ได้มีเสนอการปรับลดแผนการรับนักศึกษาลงจาก 125 คน เป็น 80 คน ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ เนื่องจากหลักสูตรได้มีพิจารณาจำนวนนักศึกษาที่รายงานตัวและขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2652 นั้น จำนวนนักศึกษามีจำนวน 56 และ 100 คนตามลำดับ

 

ปีการศึกษา

แผนการรับนักศึกษา

จำนวนรับเข้า

2561

125

56

2562

125

100

 

   ซึ่งที่ประชุมให้คงแผนการรับเดิมคือ 125 คน ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของจำนวนนักศึกษาที่ไม่เป็นไปตามแผนได้ดังนี้

  1. การคงแผนการรับนักศึกษา 125 คน ทำให้หลักสูตรมีผลการรับนักศึกษาที่ไม่บรรลุตามแผน
  2. ปัญหาด้านกระบวนการประชาสัมพันธ์การรับนักศึกษาที่มีช่องทางการประชาสัมพันธ์น้อย ไม่ทั่วถึง ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่กล่าวว่าการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยน้อย ไม่ทั่วถึง นักเรียนต่างอำเภอยังไม่รู้จักมหาวิทยาลัย ไม่เคยเห็นมหาวิทยาลัยมาก่อน

  จากปัจจัยดังกล่าวหลักสูตรจึงได้พิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหากระบวนการรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2563 ดังนี้

  1. ปรับแผนการรับนักศึกษาในปี 2563 จำนวน 100 คน เสนอต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
  2. เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์
  3. การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุก

 

 

   ดังนั้นหลักสูตรจึงได้มีการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการรับสมัครในปีการศึกษา 2563 ดังนี้

   1. มีระบบและกลไกการรับสมัครนักศึกษาใหม่ หลักสูตรได้พิจารณาดำเนินการรับสมัครนักศึกษาตามระบบและกลไกเดิมตามประกาศของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีแผนการรับนักศึกษาทั้งหมด 3 รอบ ได้แก่ รอบโควตา รอบทั่วไป และรอบเพิ่มเติม สำหรับกระบวนการรับนักศึกษาใหม่ มีดังนี้

ระบบ

กลไก

1. คณะกรรมการบริการวิชาการจัดทำแผนรับนักศึกษา

1.สาขาวิชาส่งแผนรับนักศึกษา

2. พิจารณาเห็นชอบ โดยกรรมการบริหารคณะ สภาวิชาการ และสภามาหาวิทยาลัย

2. ถ้าไม่เห็นชอบให้สาขาวิชาปรับแผนรับ

3. กำหนดเกณฑ์คุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกจำนวนนักศึกษาที่รับเข้าโดยคณะกรรมการวิชาการ

3. หลักสูตรฯ ส่งเกณฑ์คุณสมบัติของนักศึกษา

4. มหาวิทยาลัยประกาศรับสมัครและสอบคัดเลือก แต่งตั้งคณะกรรมแนะแนว การดำเนินงานด้านต่างๆ

4. หลักสูตรฯ พิจารณาเพื่อคัดเลือกอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นกรรมการคุมสอบคัดเลือก สัมภาษณ์ รับรายงานตัว และอาจารย์ที่จะออกแนะแนวการศึกษาต่อ

5. ดำเนินการรับสมัคร สอบคัดเลือก ประกาศผลสอบ รับรายงานตัว

5.อาจารย์ในหลักสูตรฯ เป็นกรรมการคุมสอบคัดเลือก สัมภาษณ์ และรับรายงานตัว

 

มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

   ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรฯ ได้ดำเนินการตามแผนและกระบวนการคัดเลือกนักศึกษาโดยมีการนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้

   (1) หลักสูตรได้นำเสนอแผนรับนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2563 ต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองเพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ซึ่งมีแผนรับ จำนวน 100 คน สภามหาวิทยาลัยเห็นชอบแผนรับนักศึกษาใหม่ จำนวน 100 คน

   (2) เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ  และการประชาสัมพันธ์หลักสูตรไปพร้อมกับการลงพื้นที่ให้บริการวิชาการตามโรงเรียนต่างๆ นอกจากนั้น หลักสูตรได้ทำการประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านโครงการบริการวิชาการธรรมาภิบาลสัญจร เป็นโครงการเปิดบ้าน (open house) ที่ทางวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์คณะและหลักสูตรต่างๆ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ เข้ามาร่วมทำกิจกรรม แข่งขันตอบปัญหา พัฒนาทักษะต่างๆ ได้เข้ามาเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ในภายในมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการเข้ามาศึกษาต่อภายในมหาวิทยาลัย

   (3) ใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก โดยลงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายคือ โรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยให้ทุกหลักสูตรได้มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร ให้อาจารย์ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแนะแนวเพื่อสร้างความเข้าใจ และให้นักเรียนเกิดความประทับใจ สามารถสอบถามแนวทางการประกอบอาชีพ การเติบโตในสายงานด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ชี้แนะช่องทางการขอรับทุนการศึกษาผ่านทางกองทุนกู้ยืมทางการศึกษา ทุนเรียนดี ทุนกีฬา หรือแม้แต่ช่องทางในการหารายได้พิเศษระหว่างเรียน

   (4) นำรุ่นพี่ออกแนะแนวการศึกษาโดยใช้เครือข่ายระหว่างรุ่นพี่ที่เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนส่งต่อข้อมูลให้แก่รุ่นน้อง

   (5) พิจารณาความเหมาะสมของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่สาขาวิชาต้องส่งรายชื่อเป็นกรรมการในการรับสมัคร/การสอบคัดเลือก/การสัมภาษณ์/การรายงานตัวของนักศึกษา เพื่อเป็นกรรมการในการดำเนินงานให้กับมหาวิทยาลัย โดยคัดเลือกจากอาจารย์ที่ไม่ติดภารกิจหรือติดราชการ

 

มีการประเมินกระบวนการ

   จากการปรับปรุงกระบวนการรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2563 พบว่าแผนการรับนักศึกษาที่ปรับจากเดิมตาม มคอ. 2 จำนวน 125 คน เป็น 100 คน เมื่อเทียบกับจำนวนนักศึกษาที่รับเข้ามาจำนวนในปี 2563 จำนวน 52 คน ซึ่งไม่บรรลุตามแผนใน มคอ.2 ดังนั้นหลักสูตรจึงต้องทำความเข้าใจกับกรรมการบริหารหลักสูตรและคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย เพื่อการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ทำให้นักเรียนได้รับข่าวสารการเปิดรับสมัคร ได้มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมชมสถานที่ สภาพ บรรยากาศ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทำให้เกิดความประทับใจ

   อย่างไรก็ตามผลจากการปรับปรุงกระบวนการรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2563 นั้นจำนวนนักศึกษาก็ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นหลักสูตรจึงได้นำประเด็นดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอีกครั้ง และที่ประชุมมีมติให้ปรับปรุงกระบวนการใหม่ โดยการเพิ่มกิจกรรมที่เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนให้มากขึ้น เช่น การให้อาจารย์ประจำหลักสูตรไปเป็นวิทยากรในเรื่องที่น่าสนใจในปัจจุบันให้กับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา การให้นักศึกษาในหลักสูตรจัดโครงการค่ายนิติศาสตร์ เพื่อให้หลักสูตรเป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อจำนวนนักศึกษาที่จะเพิ่มขึ้นในปีการศึกษา 2564 ต่อไป 

3.1.2 การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

การดำเนินการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

     ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรได้มีการจัดปรับปรุงอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ครั้งที่ 1/2563 ในวันที่ 20 เมษายน 2563 โดยกำหนดเนื้อหาในการเตรียมความพร้อมจากการสอบถามความต้องการจากนักศึกษาใหม่ ซึ่งในวันที่รายงานตัวของนักศึกษา หลักสูตรได้จัดทำแบบสำรวจความต้องการในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาต่อของสาขาวิชานิติศาสตร์ เพื่อเตรียมจัดโครงการเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาทำให้นักศึกษาสามารถปรับตัวในด้านต่างๆ ของการใช้ชีวิตในระดับอุดมศึกษาอย่างมีความสุข มีทัศนคติที่ดีต่อหลักสูตร เรียนอย่างมีความสุขและลดปัญหาการลาออก

     หลักสูตรประเมินนักศึกษาที่ต้องเข้ารับการเตรียมความพร้อมจากกระบวนการสัมภาษณ์ตามประเด็นที่หลักสูตรกำหนด โดยพิจารณาจากประเด็นการสัมภาษณ์ จากแฟ้มสะสมผลงาน เมื่อพิจารณาแล้วหลักสูตรเห็นว่ากิจกรรมการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่และประชุมผู้ปกครอง เป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นในการทำความเข้าใจกับนักศึกษาและผู้ปกครอง จึงได้มีการมอบหมายให้ ผศ. ว่าที่ร้อยตรี ดร. ณัฐวัตน์ บัวทอง ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมการเตรียมความพร้อม ซึ่งหลักสูตรได้จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาดังนี้

  • กิจกรรมการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่และประชุมผู้ปกครอง
    ทำให้เกิดความใกล้ชิดและรู้จักผู้ปกครองของนักศึกษาแรกเข้าทุกคน นอกจากนี้ยังมีการตั้งกลุ่มไลน์ผู้ปกครองเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างอาจารย์ นักศึกษาแรกเข้า
    และผู้ปกครอง กิจกรรมในโครงการปฐมนิเทศประกอบด้วย การแนะนำหลักสูตรและอาจารย์ในหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร แผนการเรียนตลอดหลักสูตร 4 ปี รวมทั้งมีการแนะนำความแตกต่างการปรับตัวระหว่างการเรียนมัธยมกับมหาวิทยาลัย ชี้แจงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
  • กิจกรรมการพัฒนาทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต ความรู้พื้นฐานด้านนิติศาสตร์ ความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยหลักสูตรฯ ได้เชิญรุ่นพี่
    1) นายอภิสิทธิ์ พิมพ์สมาน(ศิษย์เก่ารหัส 59)

2)  นางสาวจันทนา สมจันทร์(ศิษย์เก่า รหัส 58)

3) นางสาวอัจจิมา แย้มบู่(ศิษย์เก่า รหัส 58)

   ซึ่งศิษย์เก่าทั้ง 3 คน ได้ทำงานเป็นพนักงานราชการของกระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานของส่วนราชการมาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักศึกษาแรกเข้า นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคณาจารย์ นักศึกษารุ่นพี่และรุ่นน้องสาขาวิชานิติศาสตร์

การประเมินระบบและกลไกการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

     หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้ประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ครั้งที่ 3/2563 วันที่ 2 กรกฎาคม 2563 เพื่อทบทวนระบบการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา ซึ่งมติที่ประชุมเห็นว่าการดำเนินงานการระบบมีผลการเนินงานที่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้นระบบที่ดำเนินการอยู่มีความเหมาะสมสามารถส่งเสริมให้นักศึกษามีความพร้อมในการเรียนได้ตลอดหลักสูตร และมีข้อเสนอแนะว่าหลักสูตรมีการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาทางวิชาการเท่านั้น ในปีการศึกษาถัดไปจึงควรเพิ่มกระบวนการที่ทำให้นักศึกษาได้เห็นถึงลักษณะงานที่ครอบคลุมทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน

การปรับปรุงระบบและกลไกการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

     จากการทบทวนกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาดังกล่าวนั้น หลักสูตรได้มีการปรับปรุงระบบและกลไกในขั้นตอนการสร้างความเข้าใจในศาสตร์ทางด้านนิติศาสตร์ และวิชาชีพต่างๆ เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาและความต้องการจะทำงานในอนาคต หลักสูตรจึงได้มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีประสบการณ์ก่อนการทำงานในสถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีการจัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 

หลักฐาน