ในช่วงปีแรกของการศึกษา ต้องมีกลไกในการพัฒนาความรู้พื้นฐานหรือการเตรียมความพร้อมทางการเรียนแก่นักศึกษา เพื่อให้มีความสามารถในการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีความสุข อัตราการลาออกกลางคันน้อย ในระหว่างการศึกษามีการจัดกิจกรรมการพัฒนาความรู้ความสามารถในรูปแบบต่างๆ ทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีกิจกรรมเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีที่มีจิตสำนึกสาธารณะ มีการวางระบบการดูแลให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ (ระดับปริญญาตรี โท เอก) ระบบการป้องกันหรือการบริหารจัดการความเสี่ยงของนักศึกษา เพื่อให้สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด รวมทั้งการส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักศึกษา การสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้ได้มาตรฐานสากล
ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
- การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี
- การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ แก่บัณฑิตศึกษา
- การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุขและมีทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในอนาคต
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
• ไม่มีระบบ • ไม่มีกลไก • ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง • ไม่มีข้อมูลหลักฐาน |
• มีระบบมีกลไก • ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม |
• มีระบบ มีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม • มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน |
การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา |
3.2.1 การควบคุมดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี ระบบและกลไกการให้คำปรึกษา สำหรับระบบและกลไกการให้คำปรึกษาจากเดิมปีการศึกษา 2562 เป็นระบบและกลไกที่อ้างอิงจากระดับคณะ เมื่อหลักสูตรได้ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาแล้ว พบว่าควรมีการปรับระบบและกลไก
มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงานดังนี้
(1) ทบทวนเกณฑ์พิจารณาแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา การจัดระบบการดูแลนักศึกษาของอาจารย์ในหลักสูตรเพื่อทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาในปี 2562 ที่ผ่านมา ใช้ระบบหมุนเวียน กล่าวคือ อาจารย์ทุกคนต้องมีนักศึกษาอย่างน้อย 1 หมู่เรียนอยู่ในความดูแลเป็นที่ปรึกษาหลัก หากอาจารย์คนใดที่นักศึกษาในความดูแลใกล้สำเร็จการศึกษา จะต้องพิจารณาอาจารย์ท่านนั้นก่อน เนื่องจากท่านที่เหลือยังมีนักศึกษาอยู่ในระบบ สำหรับการใช้ระบบการจัดอาจารย์ที่ปรึกษาในลักษณะนี้จากที่อาจารย์ในหลักสูตรหารือกันแล้วมีมติให้ใช้ระบบหมุนเวียนต่อไป ดังนั้น ในปีการศึกษา 2563 จึงใช้ระบบเดิม (2) ทบทวนความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา ในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา หลักสูตรได้จัดทำแบบประเมินการให้คำปรึกษา เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ผลการประเมินอยู่ใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38) เนื่องจากอาจารย์ในหลักสูตรให้ความใส่ใจแก่นักศึกษา และพยายามเพิ่มช่องทางการการให้คำปรึกษา (3) ทบทวนแนวปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา ในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา ใช้แนวปฏิบัติอ้างอิงจากคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษาของคณะฯ (4) ทบทวนเนื้อหา กิจกรรม และระยะเวลาในการให้คำปรึกษาในปี 2562 ที่ผ่านมา จากการสัมภาษณ์นักศึกษาและผลการประเมินความพึงพอใจในการให้คำปรึกษาพบว่า อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38) อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถให้คำปรึกษาและช่วยหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้ดีในเรื่องต่างๆ เช่น การลงทะเบียนเรียน การปรับตัวหากพบว่าผลการเรียนต่ำ ความเสี่ยงที่จะออกกลางคัน การสำเร็จการศึกษาล่าช้า การแก้ I แก้ E เป็นต้น (5) ทบทวนการมีส่วนร่วมของอาจารย์ในหลักสูตร ในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา พบว่าอาจารย์ในหลักสูตรมีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเป็นอย่างดี
ประธานสาขาวิชานิติศาสตร์ ได้มีการนำผลจากการประชุมร่วมกับคณะมาแจ้งรายละเอียดบทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาให้อาจารย์ประจำหลักสูตร อาทิ การพัฒนาศักยภาพทางการเรียน การลงทะเบียนเรียน การแก้ไขผลการเรียน I และผลการเรียน E การใช้ชีวิตที่มีคุณภาพการร่วมกิจกรรม การแต่งกาย การปรับตัว การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยกำหนดกิจกรรมพบอาจารย์ที่ปรึกษาทุกภาคการศึกษาในคาบโฮมรูม โดยอาจารย์จะได้รับ “คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา” จากคณะฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพบปะนักศึกษาในคาบโฮมรูม นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยยังได้มี “คู่มือนักศึกษา” ให้กับคณาจารย์ทุกท่าน ใช้อ่านประกอบการให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ ข้างต้น ผลจากการทบทวนด้านต่างๆ ในขั้นตอนการวางแผนดำเนินงานการให้คำปรึกษาของหลักสูตร ได้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ คือ คณาจารย์ในหลักสูตรเพิ่มช่องทางการให้คำปรึกษาผ่านทางไลน์กลุ่มห้องไลน์และเฟซบุ๊คส่วนตัว ทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการได้
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้ดำเนินการกำกับติดตามการดำเนินงานการให้คำปรึกษาจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า นักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาอาจารย์ได้สะดวกขึ้นเนื่องจากมีช่องทางการให้คำปรึกษาหลายช่องทางและสามารถปรึกษาทั้งในและนอกเวลาราชการได้ผ่านทาง Social Network
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีการนำผลการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา มาตรวจสอบ ทบทวนเพื่อปรับปรุงแก้ไข และนำไปใช้ในครั้งต่อไปดังนี้ (1) ความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ : นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับดี (2) ทบทวนเนื้อหา กิจกรรม : การดำเนินการให้คำปรึกษามีความเหมาะสม (3) ระยะเวลาให้คำปรึกษา : นักศึกษาสามารถเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาผ่านทางช่องทางต่างๆได้ (4) การมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตร : อาจารย์ในสาขาวิชาสามารถให้คำปรึกษาได้ทุกคน
จากการดำเนินขั้นตอนการให้คำปรึกษา ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรฯ ได้ดำเนินการประเมินกระบวนการดังนี้ (1) คณะจัดประชุมชี้แจงนโยบายแนวทางในการให้คำปรึกษาด้านวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา : มีความเหมาะสม (2) กำหนดตารางเวลาให้คำปรึกษาและช่องทางการให้คำปรึกษา : มีความเหมาะสม (3) อาจารย์ให้คำปรึกษา : มีความเหมาะสม (4) จัดทำบันทึกการปฏิบัติงานอาจารย์ที่ปรึกษา : มีความเหมาะสม
(5) นักศึกษาประเมินอาจารย์ : มีความเหมาะสม (6) สาขาวิชาประเมินและสรุปผลการให้คำปรึกษา : มีความเหมาะสม (7) สาขาวิชาพิจารณาและปรับปรุงกระบวนการให้คำปรึกษา : มีความเหมาะสม ซึ่งผลการประเมินอยู่ใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38) ซึ่งมีผลความพึงพอใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้มีการเพิ่มช่องทางการให้คำปรึกษาหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นการเข้าพบที่ห้องพักอาจารย์ประจำสาขาตามตารางการให้คำปรึกษา ทางโทรศัพท์ ทางเฟซบุ๊ก ทางไลน์กลุ่ม อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบเพิ่มเติมคือหากเป็นการขอคำปรึกษานอกเวลาราชการ นักศึกษาติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาไม่ได้ ดังนั้น คณาจารย์ในหลักสูตรจึงควรให้คำปรึกษาทาง Social Network นอกเวลาราชการได้ และควรมีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
จากผลการประเมินในข้อ 3 กระบวนการมีความเหมาะสม จึงไม่ได้มีการปรับปรุงกระบวนการ ยังคงดำเนินการตามกระบวนการเดิม ดังนี้ (1) คณะฯ จัดประชุมชี้แจงนโยบายและแนวทางในการให้คำปรึกษาด้านวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา (2) สาขาวิชาทำตารางการให้คำปรึกษาและช่องทางให้คำปรึกษานำเสนอคณะฯ (3) อาจารย์ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา (4) อาจารย์ที่ปรึกษาจัดทำบันทึกการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษา (5) นักศึกษาประเมินอาจารย์ (6) สาขาวิชาประเมินและสรุปผลการให้คำปรึกษา (7) สาขาวิชาพิจารณาและปรับปรุงกระบวนการให้คำปรึกษา
ผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2563 มีดังนี้ 1) นักศึกษาสร้างกลุ่มใน Facebook และ LINE สำหรับนักศึกษาแต่ละหมู่เรียนเพื่อเป็นช่องทางการขอคำปรึกษา 2) อาจารย์ที่ปรึกษาเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถปรึกษาได้ในเวลาและนอกเวลาราชการ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาให้นักศึกษาแอดไลน์และเบอร์โทรส่วนตัวเพื่อเป็นช่องทางในการให้คำปรึกษา 3) อาจารย์ที่ปรึกษาเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถปรึกษาได้นอกเวลาราชการผ่านช่องทาง facebook ส่วนตัวของอาจารย์, facebook กลุ่มหมู่เรียน, LINE ส่วนตัวของอาจารย์, LINE กลุ่มนักศึกษา ทางโทรศัพท์มือถือ 4) มีบอร์ดประชาสัมพันธ์หน้าห้องพักอาจารย์เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมนอกเหนือจาก Facebook และ LINE โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาในปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย 5 ประเด็น ที่ค่าเฉลี่ย 4.38 อยู่ในระดับมาก 3.2.2 การส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาตามแนวการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระบบและกลไก ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
การนำไปปฏิบัติ หลักสูตรฯ ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประจำปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มีการสำรวจความต้องการของนักศึกษาในการพัฒนานักศึกษาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จากนั้นได้มีการรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทั้งนี้ได้มีการมอบหมายให้ ผศ.ปรารถนา มะลิไทย และ ผศ. ดร.อลงกต แผนสนิท เป็นผู้รับผิดชอบ และได้มีการดำเนินการสำรวจความต้องการในการพัฒนาทักษะดังกล่าว ซึ่งผลจากการสำรวจพบว่า นักศึกษาต้องการพัฒนาทักษะด้านเสริมสร้างทักษะการใช้กลยุทธ์ทางด้านการบริหารงานภาครัฐ ด้านการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล โดยหลักสูตรได้รับความอนุเคราะห์จากที่ทำการปกครองอำเภออุทุมพรพิสัย โดยนายสุกิจ เหลืองสกุลไทย นายอำเภออุทุมพรพิสัย ได้มาบรรยายให้ความรู้สำหรับนักศึกษาเกี่ยวกับประเด็น นอกจากนี้หลักสูตรฯ ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเกี่ยวกับประเด็น “โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการศึกษาดูงาน ประจำปีการศึกษา 2563” จากการได้สอบถามความต้องการของนักศึกษาเกี่ยวกับสถานประกอบการที่ต้องการไปศึกษาดูงานพบว่า นักศึกษามีความต้องการไปศึกษาดูงาน บริษัท ปตท. จำกัด (โรงแยกก๊าซ) จังหวัดระยอง และโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา โดยได้ดำเนินการติดต่อเพื่อขอความอนุเคราะห์ศึกษาดูงานระหว่างวันที่ 19 -21 ธันวาคม 2563 แต่เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19)ทำให้หลักสูตรฯ ไม่สามารถนำนักศึกษาไปศึกษาดูงานได้ จึงได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านการการสอนออนไลน์ด้วย Google Classroom และ Zoom การนำทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรฯ ได้มีการนำทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย วิชาหลัก ทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะสารเสนเทศสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนดังนี้
การนำทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในการทำกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ
การประเมินระบบและกลไกการการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาตามแนวการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 1/2563 หลักสูตรฯ ได้มีการดำเนินการเพิ่มกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และได้มีการนำข้อมูลจากนักศึกษาเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ เพื่อนำปสู่การวิเคราะห์และจัดกลุ่มความต้องการของนักศึกษาที่มีความต้องการใกล้เคียงกัน ซึ่งมติจากที่ประชุมสรุปได้ว่านักศึกษาใความต้องการในการพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนหนังสือราชการ ระเบียบงารสารบรรณ/โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการบริหารสำนักงานภาครัฐ ในภาคการศึกษา 2/2563 หลักสูตรฯ ได้มีการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา “การเขียนหนังสือหนังราชการและการใช้โปรแกรมในสำนักงานภาครัฐ” โดยมีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญมาบรรยายให้ความรู้ ซึ่งกิจกรรมโครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพ รรวมทั้งเป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมอีกด้วย |
รหัสหลักฐาน | เอกสารหลักฐาน | |
---|---|---|
3.2 - (1) | การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา | |
3.2 - (2) | ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา | |
3.2 - (3) | คำสั่งที่ปรึกษา | |
3.2 - (4) | รายงานที่ปรึกษา1 | |
3.2 - (5) | รายงานที่ปรึกษา2 | |
3.2 - (6) | รายงานที่ปรึกษา3 | |
3.2 - (7) | รายงานที่ปรึกษา4 | |
3.2 - (8) | รายงานที่ปรึกษา5 | |
3.2 - (9) | รายงานที่ปรึกษา6 |