การบริหารและพัฒนาอาจารย์ เริ่มต้นตั้งแต่ระบบการรับอาจารย์ใหม่ ต้องกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติอาจารย์ที่สอดคล้องกับสภาพบริบท ปรัชญา วิสัยทัศน์ของสถาบัน และของหลักสูตรมีกลไกการคัดเลือกอาจารย์ที่เหมาะสม โปร่งใส นอกจากนี้ต้องมีระบบการบริหารอาจารย์ โดยการกำหนดนโยบาย แผนระยะยาว เพื่อให้ได้อาจารย์ที่มีคุณสมบัติทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ มีการวางแผนและการลงทุนงบประมาณและทรัพยากรและกิจกรรมการดำเนินงาน ตลอดจนการกำกับดูแล และการพัฒนาคุณภาพอาจารย์
ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
- ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
- ระบบการบริหารอาจารย์
- ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมดที่ทำให้หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งในด้านวุฒิการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และมีการส่งเสริมให้มีการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของอาจารย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของหลักสูตร
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
• ไม่มีระบบ • ไม่มีกลไก • ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง • ไม่มีข้อมูลหลักฐาน |
• มีระบบมีกลไก • ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม |
• มีระบบ มีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม • มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน |
4.1 |
การบริหารและพัฒนาอาจารย์ |
ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ดำเนินงานตามระบบและกลไกบริหารและพัฒนาอาจารย์ดังนี้ 4.1.1 การดำเนินงานตามระบบและกลไกการรับอาจารย์และแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้นำระบบการรับอาจารย์และการแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มาเป็นหลักในการดำเนินการและได้ดำเนินการแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรตามระบบของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 1. หลักสูตรได้มีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเพื่อทบทวน วิเคราะห์จำนวนอัตรากำลังของอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตรซึ่งปัจจุบันหลักสูตรมีอาจารย์ประจำหลักสูตรจำนวน 8 คน ซึ่งเพียงต่อการจัดการเรียนการสอน 2. หลักสูตรได้มีการพิจารณา คุณวุฒิ และคุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานกำกับหลักสูตร และมีการคัดเลือกอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ หลักสูตรมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบตามจำนวน 5 คน และมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558
ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรได้การประชุมเพื่อทบทวนระบบกลไกการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรพบว่าระบบและกลไกดังกล่าวยังคงมีความเหมาะสม โดยการประเมินจากคุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตรทั้ง 8 คน 4.1.2 การนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ใช้ระบบกลไกการบริหารอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และดำเนินงานภายใต้ระบบการบริหารอาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองซึ่งเริ่มจาก
ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีการทบทวนการกำหนดอาจารย์ประจำหลักสูตรใหม่ โดยได้มีการกำหนดคุณสมบัติตามเกณฑ์ มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชานิติศาสตร์ พ.ศ. 2558 คือเกณฑ์คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรโดยพิจารณาจากคุณวุฒิที่ตรงกับสาขาวิชานิติศาสตร์ ซึ่งหลักสูตรได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาตามวงรอบ 4 ปี โดยได้มีการดำเนินการดังนี้
1) ด้านการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีการส่งเสริมด้านการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” จำนวน 1 คน โดยมีรายละเอียดดังนี้
2) ด้านการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรได้มีการส่งเสริมด้านการพัฒนาคุณวุฒิของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น จำนวน 1 คน คือ ผศ.วระเดช ภาวัตเวคิน ซึ่งได้รับการอนุมัติ
3) ด้านการพัฒนาฝึกอบรมและส่งเสริมด้านวิชาการ ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรด้านการพัฒนาฝึกอบรมและส่งเสริมด้านวิชาการ โดยได้มีการจัดสรรงบประมาณจำนวน 5,000 บาท/คน
ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรได้มีการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการดำเนินงานด้านการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ซึ่งได้มีการส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรพัฒนาตนเองอย่างเป็นรูปธรรม และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้มีการติดตามและประเมินผลการวางแผนการพัฒนาตนเอง ในด้านคุณวุฒิการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ การวิจัยและการพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดจนการเข้ารับการอบรมหรือศึกษาดูงานของบุคคลากรที่สอดคล้องกับคุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ส่งผลให้มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 1 คน คือ อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ณัฐวัฒน์ บัวทอง ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่ 786/2563 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2563
|
รหัสหลักฐาน | เอกสารหลักฐาน | |
---|---|---|
4.1 - (1) | วาระการประชุม ครั้งที่ 1/2563 | |
4.1 - (2) | คุณภาพอาจารย์ | |
4.1 - (3) | คำสั่งการอบรม |