ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ณัฐวัฒน์ บัวทอง , ธัญยธรณ์ พิพัฒนมงคลชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนมีหลายประการ ได้แก่ ความพร้อมทางกายภาพ เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ที่พักของนักศึกษา ฯลฯ และความพร้อมของอุปกรณ์ เทคโนโลยี และสิ่งอำนวยความสะดวก หรือทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น อุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องสมุด หนังสือ ตำรา สิ่งพิมพ์ วารสาร ฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้น แหล่งเรียนรู้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ สิ่งสนับสนุนเหล่านี้ต้องมีปริมาณเพียงพอ และมีคุณภาพพร้อมใช้งาน ทันสมัย โดยพิจารณาการดำเนินการปรับปรุงพัฒนาจากผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์

ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้

-  ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

-  จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน

-  กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมดที่สะท้อนการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน และส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล

เกณฑ์การประเมิน
0 1 2 3 4 5

• ไม่มีระบบ

• ไม่มีกลไก

• ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง

• ไม่มีข้อมูลหลักฐาน

• มีระบบมีกลไก

• ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีระบบมีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ

• มีระบบมีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน

• มีระบบมีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน

• มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
 

• มีระบบ มีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน

• มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

• มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน

ผลการดำเนินงาน

ระบบและกลไกสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

    1. ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรฯ ได้มีการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อสำรวจความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพิ่มเติม และได้ดำเนินการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ดังนี้

  • สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เป็นวัสดุ- ครุภัณฑ์ หลักสูตรฯ ได้ดำเนินการจัดซื้อผ่านงบประมาณบริหารจัดการสาขาวิชานิติศาสตร์ ประจำงบประมาณ ปี พ.ศ. 2563
  • กรณีที่สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ ไมโครโฟน ชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ หลักสูตรฯ ได้ดำเนินการแจ้งประธานหลักสูตรเพื่อประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบและดำเนินการแก้ไขต่อไป

     2. หลักสูตรได้มีการสำรวจความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่จำเป็นต่ออาจารย์และนักศึกษา เพื่อการจัดทำฐานข้อมูล เช่น ห้องอ่านหนังสือ คอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นข้อมูลประจำหลักสูตร รวมทั้งทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ตำรา หนังสือ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร

     3. หลักสูตรวิเคราะห์ความพึงพอใจสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของอาจารยและนักศึกษา

4. หลักสูตรได้มีมติจากที่ประชุมและจัดทำแผนงาน โครงการ เพื่อจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

5. หลักสูตรดำเนินการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้เพียงพอต่อความต้องการของอาจารย์และนักศึกษา

    6. หลักสูตรประเมินความพึงพอใจของอาจารย์และลักศึกษาที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่จัดให้

   7. หลักสูตรประชุมพิจารณาผลการประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของอาจารย์และนักศึกษา เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาหรือข้อเสนอแนะ รวมทั้งวิธีการดำเนินการและมอบหมายผู้รับผิดชอบ

2. จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน

     ในปีการศึกษา 2563 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส
โคโรนา (
COVID-19) ส่งผลให้หลักสูตรมีการวางแผนเพื่อรองรับในการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ ดังนั้นหลักสูตรจึงได้มีการประชุมเพื่อวางแผนและทบทวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ และรูปแบบปกติ โดยหลักสูตรได้มีการสำรวจความต้องการของนักศึกษา พร้อมทั้งวิเคราะห์และวางแผนงานสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในแต่ละรูปแบบ และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อจัดสรรงบประมาณประจำปีสำหรับการจัดซื้อตำราสื่อการเรียนการสอน โสตทัศนูปกรณ์ และวัสดุครุภัณฑ์อย่างเพียงพอ
เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา ทางหลักสูตรฯ ได้ “สำรวจ” ความพึงพอใจ ตลอดจนข้อเสนอแนะของนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนโดยใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ รวมถึงการสอบถามจากนักศึกษาและอาจารย์ประจำหลักสูตรโดยตรง จากนั้นจึงนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะมาประชุมพิจารณาเพื่อปรับปรุงต่อไป

       ทั้งนี้หลักสูตรภายใต้ระบบการบริหารงานของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งได้แก่

      1. ห้องเรียน ภายในห้องเรียนจะประกอบไปด้วยจอและเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ เครื่องขยายเสียง ไมโครโฟนพร้อมสำหรับอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน ทั้งยังมีโต๊ะเลคเชอร์ที่มีจำนวนเพียงพอแก่นักศึกษา ในส่วนการจัดสรรห้องเรียนนั้น ทางหลักสูตรฯ ต้องเป็นผู้จัดแผนการเรียนประจำภาคเรียน และนำเสนอต่อสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ซึ่งสำนักส่งเสริมฯ จะเป็นฝ่ายรับผิดชอบในการจัดสรรห้องเรียนให้ตามรายวิชา ช่วงเวลาจัดการเรียนการสอนและจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในวิชานั้นๆ แล้วจากนั้นสำนักส่งเสริมฯ จะแจ้งการจัดสรรห้องเรียนเพื่อยืนยันห้องเรียนต่อหลักสูตรฯ อีกทั้งสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนได้จัดให้ห้องเรียนสะอาดอยู่เสมอ ทำให้บรรยากาศเหมาะสมแก่การดำเนินการเรียนการสอน

      2. ศูนย์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการจัดห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ซึ่งในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ดังกล่าวประกอบด้วยคอมพิวเตอร์จำนวนประมาณ 200 เครื่อง พร้อมระบบอินเตอร์เน็ต เครื่องปรับอากาศ กระดานไวท์บอร์ด เครื่องขยายเสียง จอฉายโปรเจ็คเตอร์ เครื่องโปรเจ็คเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเหมาะแก่การจัดการเรียนการสอน

      3. ระบบอินเตอร์เน็ตไร้สาย ศูนย์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้ทำการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายทั่วบริเวณมหาวิทยาลัย นอกจากนี้หลักสูตรฯ ยังได้มีการจัดระบบอินเตอร์ไร้สาย เพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์เข้าถึงการบริการดังกล่าว พร้อมทั้งใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและจัดการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างสะดวก

      4. ห้องสมุดวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้มีบริการหนังสือและสื่อสารสนเทศต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์ได้ใช้ในการค้นคว้าและจัดการเรียนการสอน โดยห้องสมุดมีทั้งหมด 4 ชั้น และมีหนังสือหมวดหมู่ต่างๆ ที่สอดคล้องกับเนื้อหาของหลักสูตรฯ ทั้งยังมีคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายพร้อมบริการ

       5. ห้องพักอาจารย์สาขาวิชานิติศาสตร์ เป็นสถานที่ทำงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรฯและเป็นสถานที่ที่ให้นักศึกษาได้พบอาจารย์เพื่อแลกเปลี่ยนและปรึกษาทั้งด้านการเรียนและเรื่องต่างๆ ได้ตลอดเวลา โดยโต๊ะของอาจารย์แต่ละท่านจะมีเก้าอี้สำหรับให้นักศึกษานั่งเพื่อมาพบอาจารย์ ทำให้ห้องพักอาจารย์เป็นสถานที่ที่เหมาะสมต่อการดำเนินการดังกล่าว

       6. ศูนย์วิจัยเด็กและเยาวชน วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้จัดเก็บงานวิจัยและวารสารทางวิชาการเพื่อให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษาภายในวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้อาจารย์ได้ค้นคว้าและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรวมไปถึงพัฒนาผลงานทางวิชาการของอาจารย์ ทำให้อาจารย์ในแต่ละหลักสูตรมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

       7. ห้องสโมสรนักศึกษา เป็นสถานที่ที่ให้นักศึกษาในวิทยาลัยฯ ได้พบปะและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเพื่อพัฒนาความสามัคคีและทักษะต่างๆ ที่เพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียน

3. กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

     ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรได้มีทบทวนเกี่ยวกับการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2562 เพื่อนำมาสู่การปรับปรุง
ในปีการศึกษณา 2563 โดยมีผลการประเมินดังนี้

   1. การประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

 

ประเด็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ระดับ
ความพึงพอใจ

1. อาคารเรียน ห้องเรียนมีความพร้อม มีตำรา หนังสือ   อุปกรณ์เหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้และเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน

4.14

มาก

2. เทคโนโลยีสารสนเทศเหมาะสมต่อการเรียนการสอนออนไลน์

3.98

ปานกลาง

3.ระบบบริการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ฐานข้อมูล  ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่เหมาะสมเอื้อต่อการเรียนรู้และเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน

4.11

มาก

4. ห้องสมุดมีความเหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้และเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน

4.13

มาก

5. มีการดูแล รักษาสภาพแวดล้อม และทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.12

มาก

รวม

4.09

มาก

 

    ผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
(=4.09) ประเด็นที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ อาคารเรียน ห้องเรียนมีความพร้อม มีตำรา หนังสือ   อุปกรณ์เหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้และเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก
(
=4.14) ประเด็นที่มีความพึงพอใจน้อย คือ เทคโนโลยีสารสนเทศเหมาะสมต่อการเรียนการสอนออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง (=3.98)

เพื่อให้เกิดกระบวนการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต่อการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรจึงได้มีการนำข้อมูลที่ได้ประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2563 โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

ประเด็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ปีการศึกษา

2561

2562

2563

1. อาคารเรียน ห้องเรียนมีความพร้อม มีตำรา หนังสือ   อุปกรณ์เหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้และเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน

4.00

4.05

4.14

2. เทคโนโลยีสารสนเทศเหมาะสมต่อการเรียนการสอนออนไลน์

3.85

3.98

3.98

3.ระบบบริการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ฐานข้อมูล  ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่เหมาะสมเอื้อต่อการเรียนรู้และเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน

3.95

4.02

4.11

4. ห้องสมุดมีความเหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้และเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน

3.97

4.00

4.13

5. มีการดูแล รักษาสภาพแวดล้อม และทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.02

4.10

4.12

รวม

4.00

4.03

4.09

 

3.2 การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

 

ประเด็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ระดับ
ความพึงพอใจ

1. ความเพียงพอของอุปกรณ์การเรียนการสอน

4.13

มาก

2. สื่อ/เอกสารประกอบการสอนมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย

4.12

มาก

3. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เช่น ความสะอาด ความเงียบสงบ

4.20

มาก

4. ขนาดของห้องเรียนมีความเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน

4.14

มาก

5. ความสะดวกในการใช้ระบบการสืบค้นด้วยอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wifi)

4.02

มาก

6. ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ

4.11

มาก

รวม

4.12

มาก

 

     ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้พบว่าความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก(=4.12) ประเด็นที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เช่น ความสะอาด ความเงียบสงบ (=4.20) ประเด็นที่มีความพึงพอใจน้อย คือ ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ อยู่ในระดับมาก (=4.11)

นอกจากนี้หลักสูตรได้มีการดำเนินการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาและปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2563 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

 

ประเด็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ปีการศึกษา

2561

2562

2563

1. ความเพียงพอของอุปกรณ์การเรียนการสอน

3.70

3.82

4.13

2. สื่อ/เอกสารประกอบการสอนมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย

3.95

3.92

4.12

3. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เช่น ความสะอาด ความเงียบสงบ

4.02

4.03

4.2

4. ขนาดของห้องเรียนมีความเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน

3.98

4.03

4.14

5. ความสะดวกในการใช้ระบบการสืบค้นด้วยอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wifi)

4.03

4.07

4.02

6. ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ

3.85

3.90

4.11

รวม

4.01

4.04

4.12

 

     ผลจากการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรได้มีการดำเนินการจัดหาสื่อการเรียนการสอเพิ่มเติม
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าของนักศึกษาและการจัดการเรียนการสอนภายในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยหลักสูตรฯ ได้ขอความอนุเคราะห์จากคณาจารย์ในหลักสูตร สำนักพิมพ์ซีเอ็ดบุค หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งได้หาแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงการ
ห้องปฏิบัติการให้มีอุปกรณ์เหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้ และเพียงพอต่อความต้องการของนักศึกษา ทั้งนี้หลักสูตรฯ เห็นว่าควรนำความคิดเห็นดังกล่าวเข้าที่ประชุมและนำไปปรับปรุงแก้ไขในปีการศึกษาถัดไป โดยมีแนวทางดังนี้

   1. หลักสูตรประชุมเพื่อจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อสื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์การศึกษาที่เหมาะสมแก่การค้นคว้าและการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร

   2. หลักสูตรวางแผนขอความอนุเคราะห์จากวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้ตอบสนองความต้องการโดยตรงแก่นักศึกษาและอาจารย์ เพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง