ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วัชรา ทองวิเศษ , วรรณิดา ดวงมณี
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ความสามารถด้านดิจิทัลเป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถของบัณฑิตที่มีความรู้ และทักษะในการนำเครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหาการสื่อสาร ตลอดจนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อรู้เท่าทันการใช้งานและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ การสร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตัวบ่งชี้นี้ประเด็นการพิจารณาประกอบด้วยระดับความสามารถด้านดิจิทัลของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรีที่สอบผ่านตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการกำหนดนโยบาย และสร้างระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล
2 จัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3 จัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการกำหนดนโยบาย และสร้างระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการกำหนดนโยบายและสร้างระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล ดังนี้
1. มีการกำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ในการยกระดับด้านดิจิทัลที่เป็นรายลักษณ์อักษรโดยจัดทำเป็นประกาศ เพื่อเป็นทิศทางในการดำเนินงานให้กับทุกคณะเพื่อใช้ขับเคลื่อนพันธกิจด้านการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้บรรลุเป้าหมาย จำนวน 4 เรื่อง ดังนี้
     1.1 ประกาศ เรื่องนโยบายยกระดับมาตรฐานสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย (2.1-1(1))
     1.2 ประกาศ เรื่องการทดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2563 (2.1-1(2)) 
     1.3 ประกาศ เรื่องการรับ - จ่ายค่าธรรมเนียมการทดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล พ.ศ. 2563 (2.1-1(3))
     
1.4 ประกาศ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2563 (2.1-1(4))
2. มีการเผยแพร่นโยบายและประกาศให้กับคณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย ในเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (URL : ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (sskru.ac.th)(2.1-1(5))
3. มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ระดับสถาบันประจำปีการศึกษา 2564 (2.1-1(6)) เพื่อกำหนดกิจกรรมกรอบเวลาผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ
4. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 (2.1-1(7)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2564 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 2 ตัวบ่งชี้เฉพาะระดับหน่วยงานสนับสนุน ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

2จัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 (2.1-2(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่กำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2564 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 2 ตัวบ่งชี้เฉพาะระดับหน่วยงานสนับสนุน ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล
2. มีการจัดการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564
(2.1-2(2)) เพื่อพิจารณาโครงการ กิจกรรม แนวปฏิบัติในการส่งเสริมพัฒนานักศึกษา และจัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 (2.1-2(3), 2.1-2(4)) จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. มีการเผยแพร่แผนพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2562 – 2566) และแผนปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา  2564 ให้กับคณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมายในเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (URL : ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การส่งเสริมสมรรถนะ และทักษะด้านดิจิทัล (sskru.ac.th)(2.1-2(5))
4. มีการจัดโครงการและกิจกรรมตามระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล  โดยมีรายละเอียดโครงการตามแผน จำนวน 3 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ 3 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีรายงานผลการดำเนินโครงการ ดังนี้
    4.1. กิจกรรมอบรมการใช้งานกลุ่มโปรแกรม Microsoft (สำหรับอาจารย์) ภายใต้ โครงการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับอาจารย์ (2.1-2(6)) (จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 14-15 มกราคม 2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Microsoft teams) โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 32 คน พบว่า อาจารย์สามารถใช้งานโปรแกรม 1) Microsoft teams 2) การสร้างห้องเรียนเสมือนบน Microsoft teams 3) การสร้างข้อสอบและการนัดหมายการสอบ 4) การใช้งาน OneDrive for Business 4) การใช้งาน Word, PowerPoint, Microsoft Form ผ่านระบบคราวด์ของ Microsoft 5) การจัดการบัญชีอีเมล์ด้วย Outlook ออนไลน์ และตารางนัดหมายด้วย Calendar  ขั้นพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    4.2. กิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ (การเรียนออนไลน์) ภายใต้โครงการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา (2.1-2(7)) (จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2564  ณ ห้องประชุมกลุ่มย่อย ชั้น 3 อาคารบรรณราชนครินทร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยการอบรมผ่านระบบโปรแกรม Zoom โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 1,139 คน พบว่า นักศึกษาสามารถใช้งานโปรแกรม 1) Zoom cloud meeting, Google Meet, Google Classroom และจริยธรรมและมารยาทในการใช้ระบบเรียนออนไลน์
   4.3. โครงการทดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 (2.1-2(8)) (จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 4-26 มกราคม 2565 โดยการจัดสอบออนไลน์ โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 2,208 คน พบว่านักศึกษามีความรู้ 1) ด้านสิทธิและความรับผิดชอบ (Digital Right) 2) สิทธิและความรับผิดชอบ (Digital Right) 3) การสื่อสารยุคดิจิทัล (Digital Communication) 4) ความปลอดภัยยุคดิจิทัล (Digital Safety) 5) การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (MIL) 6) แนวปฏิบัติในสังคมดิจิทัล (Digital Etiquette) 7) สุขภาพดียุคดิจิทัล (Digital Health) 8) ดิจิทัลคอมเมิร์ซ (Digital Commerce) 9) กฎหมายดิจิทัล (Digital Law)
5. มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามระบบกลไกและแผนอย่างต่อเนื่องในรูปแบบการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านดิจิทัลระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา ครั้งที่ 1/2564 (2.1-2-(9)) เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 เพื่อรับทราบปฏิทิน คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงาน และพิจารณา (ร่าง) แผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล
3จัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล ดังนี้
1. ด้านงบประมาณ
   ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการส่งเสริม และพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลสำหรับบุคลากรและนักศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 1,216,000 บาท ตามรายละเอียด ดังนี้
    1.1 มีการจัดสรรงบประมาณในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (2.1-3(1)) และแผนพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 (2.1-3(2)) ภายใต้โครงการทดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 216,000 บาท
     1.2 มีการจัดสรรงบประมาณ ภายใต้โครงการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา จำนวน 1,000,000 บาท (2.1-3(3), 2.1-3(4)) ตามแผนโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
2. ด้านสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล
    2.1 ห้องอบรมและสืบค้น (2.1-3(5))
    2.2 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (2.1-3(6))
    2.3 จุดบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) (2.1-3(7))
    2.4 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) (2.1-3(8))
    2.5 ฐานข้อมูลออนไลน์ (2.1-3(9))
    2.6 บันทึกเช่าชุดข้อสอบ IC3 จำนวน 500 ชุด ปีการศึกษา 2564 (2.1-3(10))
    2.7 บันทึกเช่าชุดข้อสอบ IC3 จำนวน 500 ชุด ปีการศึกษา 2565 (2.1-3(11))
    2.8 ชุดข้อสอบ (Baseline) ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (https://ru.dlbaseline.com/) (2.1-3(12))
    2.9 ชุดข้อสอบ (IC3) IC3 DIGITAL LITERACY CERTIFICATION (https://www.certiport.com/) (2.1-3(13))
3. มีการประเมินความพึงพอใจในการให้บริการด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 3 ด้าน  โดยการแจกแบบสอบถามนักศึกษาจาก 5 คณะที่รับบริการ จำนวน 300 คน เพื่อนำข้อคิดเห็นจากนักศึกษามาพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการ (2.1-3(14)) พบว่า
     3.1 ด้านห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีความพึงพอใจในระดับ ปานกลาง   คะแนนเฉลี่ย 2.81
     3.2 ด้านฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีความพึงพอใจในระดับ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 2.87
    3.3 ด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (WI-FI) มีความพึงพอใจในระดับ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 2.72
    ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง  คะแนนเฉลี่ย 2.80
4มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป ดังนี้
1. มีการจัดการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2565 (2.1-4(1)) เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงาน และพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนและโครงการ/กิจกรรม (2.1-4(2)) และมีการรายงานผลการสอบวัดสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (URL: http://www2.sskru.ac.th/2021/wp-content/uploads/2022/07/2.1-4-3.pdf(2.1-4(3))

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุ

1. เพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ให้กับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ศรีสะเกษ

1.1 ร้อยละของโครงการ/กิจกรรมในการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลของนักศึกษาที่ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน ร้อยละ 100

ปีการศึกษา 2564 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศกำหนดโครงการตามแผน จำนวน 3 โครงการ และดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 3  โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100

บรรลุ

1.2 จำนวนหน่วยงานที่สนับสนุนระบบข้อสอบในการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษาไม่น้อยกว่า 1 หน่วยงาน

ปีการศึกษา 2564 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับสนับสนุนข้อสอบ จาก 2 หน่วยงาน คือ
1. บริษัท เออาร์ไอที จำกัด
2. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

บรรลุ

1.3 จำนวนสื่อ/นวัตกรรม/แหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ไม่น้อยกว่า 1 ชิ้น/แหล่ง

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ให้แก่นักศึกษา จำนวน 9 ชิ้น/แหล่ง ดังนี้
1 ห้องอบรมและสืบค้น
2 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3 จุดบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi)
4 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)
5 ฐานข้อมูลออนไลน์
6 บันทึกเช่าชุดข้อสอบ IC3 จำนวน 500 ชุด ปีการศึกษา 2564
7 บันทึกเช่าชุดข้อสอบ IC3 จำนวน 500 ชุด ปีการศึกษา 2565
8 ชุดข้อสอบ (Baseline) ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (https://ru.dlbaseline.com/)
9 ชุดข้อสอบ (IC3) IC3 DIGITAL LITERACY CERTIFICATION (https://www.certiport.com/)

บรรลุ

2. เพื่อยกระดับสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ให้กับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

2.1 ร้อยละของนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่เข้าทดสอบสมรรถนะและทักษะความสามารถทางด้านดิจิทัล
ไม่ต่ำกว่าที่เข้าร่วมร้อยละ 60

ปีการศึกษา 2564 มีนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย จำนวน 1,622 คนมีผู้เข้าสอบ จำนวน 1,446 คนคิดเป็นร้อยละ 89.15

บรรลุ

2.2 ร้อยละของนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่เข้าร่วมและผ่านเกณฑ์วัดระดับทักษะด้านดิจิทัล (IC3) หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดอย่างน้อยร้อยละ 60

ปีการศึกษา 2564 มีผู้เข้าสอบ จำนวน 1,446 คน สอบผ่านเกณฑ์วัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า) จำนวน 1,381 คน คิดเป็นร้อยละ 95.51

บรรลุ

2.3 จำนวน โครงการที่ส่งเสริมหรือพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรไม่น้อยกว่า 2 โครงการ

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีการจัดโครงการ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1. กิจกรรมอบรมการใช้งานกลุ่มโปรแกรม Microsoft (สำหรับอาจารย์)
2. กิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้(การเรียนออนไลน์)
3. โครงการทดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564

บรรลุ

2.4 จำนวน ของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ไม่น้อยกว่า 30 คน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้จัดกิจกรรม/กิจกรรมอบรมการใช้งานกลุ่มโปรแกรม Microsoft (สำหรับอาจารย์) เมื่อวันที่ 14-15 มกราคม 2565 เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านดิจิทัลสำหรับอาจารย์ มีผู้เข้าอบรม จำนวน 32 คนคิดเป็นร้อยละ 100

บรรลุ

2.5 จำนวนกิจกรรมที่พัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรอย่างน้อย 1 กิจกรรม

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้จัดกิจกรรมอบรมการใช้งานกลุ่มโปรแกรม Microsoft (สำหรับอาจารย์ จำนวน 1 กิจกรรม

บรรลุ

2. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีการนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแผนและกิจกรรม ดังนี้

ข้อเสนอแนะ
ผลการปรับปรุง
ผู้รับผิดชอบ
1.ควรรายงานผลการทดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการบริหาร และการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
1. ระยะเวลาดำเนินการ :
พฤษภาคม 2565
2. แนวทางการปรับปรุง :
มีการปรับแบบฟอร์มการรายงานผลการทดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลที่ครอบคลุม และตรงตามความต้องการของผู้บริหาร คณะ นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำไปใช้ประประโยชน์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

2. ควรกำหนดปฏิทินการทดสอบสมรรถนะทักษะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายไม่ให้ทับซ้อนกับนักศึกษาที่ออกฝึกประสบการณ์

1. ระยะเวลาดำเนินการ :
สิงหาคม 2565
2. แนวทางการปรับปรุง :
- มีการสำรวจข้อมูลนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่จะออกฝึก
ประสบการณ์จากทุกคณะ

- กำหนดปฏิทินการทดสอบสมรรถนะทักษะด้านดิจิทัล
ปีการศึกษา 2565 ที่ไม่ทับซ้อนกับนักศึกษาออกฝึกประสบการณ์

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

5มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการจัดสอบวัดสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า) มีผลการสอบ ดังนี้
ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน
การบรรลุเป้าหมาย
บรรลุ
ไม่บรรลุ
นักศึกษาที่เข้าสอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาปี
สุดท้าย
ปีการศึกษา 2564 มีนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย
จำนวน 1,622 คน มีผู้เข้าสอบ จำนวน 1,446 คน คิดเป็นร้อยละ 89.15
ü
 
มีนักศึกษาปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า)  ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของผู้เข้าสอบ
ปีการศึกษา 2564 มีผู้เข้าสอบ จำนวน 1,446 คน สอบผ่านเกณฑ์วัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า)
นวน 1,381 คน คิดเป็นร้อยละ 95.51
ü
 
และรายงานผลการสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2564 (2.1-5(1)) เสนอต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านดิจิทัล ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 1/2565 ในวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2565 (2.1-5(2)) และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันพุธที่ 22 มิถุนายน 2565 (2.1-5(3))  เพื่อพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะ
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5.00 คะแนน