✓ | 1 | มีสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นสัดส่วนสําหรับให้ผู้ใช้บริการศึกษาค้นคว้าเดี่ยวและกลุ่ม | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นสัดส่วนสำหรับให้ผู้ใช้บริการศึกษาค้นคว้าเดี่ยวและกลุ่ม ดังนี้
บริเวณชั้น 1 มีการจัดพื้นที่ให้บริการที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นสัดส่วน โดย จัดเป็นพื้นที่บริการเน้นสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย เมื่อมองผ่านกระจกออกไปเป็นการผ่อนคลายสายตากับต้นไม้สีเขียวซึ่งจัดโชนพื้นที่นั่ง จำนวน 24 ที่นั่ง เมื่อมองกลับมาภายในมีการจัดพื้นที่เป็นสัดส่วน ได้แก่ มุมนวนิยาย มุมเรื่องสั้น มุมหนังสือเยาวชน ที่มีวงล้อสีล้อมรอบ จำนวน 8 ที่นั่ง มุมวารสาร มุมหนังสือพิมพ์ มุมนิตยสาร และมุมนั่งอ่านทั่วไปตามอัธยาศัย ประกอบด้วย เก้าอี้ทรงกลมเล็ก จำนวน 1 ที่นั่ง เบาะนั่งทรงกลมใหญ่ จำนวน 3 ชุด ๆละ 6 ที่นั่ง เบาะเหลี่ยม 18 เบาะ จำนวน 112 ที่นั่ง โต๊ะสำหรับค้นคว้า 32 ที่นั่ง โต๊ะญี่ปุ่นจำนวน 40 ที่นั่ง ชุดโต๊ะวงกลม 9 ที่นั่ง ชุดโซฟาจำนวน 4 ที่นั่ง (2.3 – 1 (1))
บริเวณชั้น 2 มีการจัดพื้นที่ให้บริการที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นสัดส่วน โดย มีพื้นที่นั่งอ่านส่วนบุคคลจำนวน 10 โต๊ะ มีพื้นที่สำหรับค้นคว้าทั่วไป จำนวน 22 โต๊ะ 76 ที่นั่ง สำหรับหนังสือหมวด 000 - หมวด 600 (2.3 – 1 (2))
บริเวณชั้น 2 มีสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นสัดส่วน
|
ห้องคว้าเดี่ยว
|
ห้องคว้ากลุ่ม
|
พื้นที่นั่งอ่านทั่วไป
|
|
/
|
พื้นที่นั่งอ่านเฉพาะบุคคล
|
/
|
|
บริเวณชั้น 3 มีการจัดพื้นที่ให้บริการที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นสัดส่วน โดย มีห้องประชุมกลุ่มย่อยให้บริการจำนวน 6 ห้อง มีห้องหนังสืออ้างอิง มีห้องหนังสือวิทยานิพนธ์ มีห้องอบรม/สัมมนา และมีพื้นที่นั่งอ่านทั่วไป สำหรับการค้นคว้าหนังสือหมวด 700 หมวด 800 หมวด 900 และหนังสือ Text book (2.3 – 1 (3))
บริเวณชั้น 3มีสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นสัดส่วน
|
ห้องคว้าเดี่ยว
|
ห้องคว้ากลุ่ม
|
ห้องประชุมกลุ่มย่อย
|
|
/
|
ห้องหนังสืออ้างอิง
|
|
/
|
ห้องวิทยานิพนธ์
|
|
/
|
ห้องอบรม/สัมมนา
|
|
/
|
พื้นที่นั่งอ่านทั่วไป
|
/
|
/
|
บริเวณชั้น 5 มีการจัดพื้นที่ให้บริการที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นสัดส่วน โดย ห้องประชุมกลุ่มย่อยจำนวน 6 ห้อง มีห้องชมภาพยนตร์ ที่รองรับผู้เข้าชมได้ 50 ที่นั่ง และคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการ จำนวน 142 เครื่อง (2.3 – 1 (4))
บริเวณชั้น 5มีสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นสัดส่วน
|
ห้องคว้าเดี่ยว
|
ห้องคว้ากลุ่ม
|
ห้องประชุมกลุ่มย่อย
|
|
/
|
คอมพิวเตอร์สำหรับใช้สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต /อบรม/สัมมนา และเพื่อการเรียนการสอน
|
/
|
/
|
ห้องชมภาพยนตร์
|
|
/
|
พื้นที่สำหรับ Wifi
|
/
|
|
| |
✓ | 2 | มีการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน เช่น อาคาร/สถานที่/พื้นที่อํานวยความสะดวก มีการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่
สีเขียว และจัดการภูมิทัศน์ ให้ร่มรื่น สวยงาม เป็นต้น
| สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อเรียนรู้ โดยตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน แยกออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่
1. ด้านอาคารสถานที่ มีการจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ เหมาะสมต่อการเรียนรู้ มีมาตรการประหยัดพลังงานโดยมีการติดป้าย “ปิดไฟเมื่อเลิกใช้” ติดตามจุดสวิตซ์ไฟ บริเวณพื้นที่ให้บริการชั้น 2 บริเวณพื้นที่ให้บริการชั้น 3 และในห้องน้ำทั่วทุกชั้นบริการ (2.3-2(1)) ปรับอุณภูมิห้องให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้ มีมาตรการประหยัดพลังงานโดยกำหนดเวลาในการเปิดแอร์ เวลา 10.00 น. และ มีการปิดแอร์ในเวลา 15.30 น. และปรับอุณหภูมิแอร์อยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส รวมทั้งมีการเปิดหน้าต่างรับลม เพิ่มการถ่ายเทอากาศเข้ามาในตัวอาคารระหว่างช่วงเวลา 08.00 น. – 10.00 น. (2.3–2(2)) มีป้ายแนะนำจุดให้บริการต่างๆ ภายในห้องสมุด (2.3 – 2 (3)) มีการอนุรักษสิ่งแวดล้อมโดยการจัดแยกขยะอย่างถูกวิธีโดยใช้สีเป็นสัญลักษณ์บอกการทิ้งขยะ ดังนี้ ถังขยะสีแดงสำหรับขยะมีพิษหรือติดเชื้อ ถังขยะสีเหลืองสำหรับขยะรีไซเคิล ถังขยะสีเขียวสำหรับขยะมูลฝอยย่อยสลายได้ และถังขยะสีน้ำเงินหรือสีฟ้าสำหรับขยะทั่วไปและเป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ (2.3 – 2 (4))
2. ด้านพื้นที่อำนวยความสะดวก โดยจัดที่มีแอลกอฮอล์ให้บริการทั่วทุกจุดให้บริการ บริเวณชั้น 1 ทางเข้า เคาน์เตอร์ยืมคืน โต๊ะนั่งอ่านทั่วไป บริเวณชั้น 2 และบริเวณชั้น 3 (2.3 – 2 (5)) มีการจัดสวนหย่อมให้มีพื้นที่สีเขียวและจัดภูมิทัศน์ให้ร่มรื่น สวยงาม ภายในห้องสมุด (2.3 – 2 (6))
| |
✓ | 3 | มีแหล่งข้อมูลด้านการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เช่น ทรัพยากรสารสนเทศ/บริการคอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ต/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแหล่งข้อมูลด้านการศึกษา ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จำนวน 4 รูปแบบ ได้แก่
รูปแบบที่ 1 คือเว็บไซต์แหล่งข้อมูลด้านการศึกษาสำหรับสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศhttp://www.opac.sskru.ac.th/opac/ (2.3 – 3 (1))
รูปแบบที่ 2 คือแหล่งข้อมูลด้านการศึกษาที่เป็นเอกสารตำราวาที่เป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทตีพิมพ์ ให้บริการทั้งสิ้น จำนวนชื่อเรื่อง 47,446 เล่ม จำนวนทรัพยากร 101,575 เล่ม (2.3 – 3 (2 ))
รูปแบบที่ 3 คือแหล่งข้อมูลด้านการศึกษาที่เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้บริการในฐานข้อมูล Gale จำนวน 3,438 ชื่อเรื่อง (2.3 – 3 (3 ))
และรูปแบบที่ 4 คือแหล่งข้อมูลด้านการศึกษาที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการภายในห้องสมุด จำนวนทั้งสิ้น 181 เครื่อง โดยจัดให้บริการที่บริเวณชั้น 1 ใช้สำหรับการสืบค้น Opac จัดให้บริการบริเวณชั้น 3 ใช้สำหรับจัดฝึกอบรม สัมมนา และจัดให้บริการบริเวณชั้น 5 ใช้สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต /อบรม/สัมมนา และเพื่อการเรียนการสอน (2.3 – 3 (4))
นอกจากนี้ยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา (สธ) จำนวนทั้งสิ้น 232 เครื่อง (2.3 – 3 (5))
คอมพิวเตอร์ที่มีให้บริการณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา (สธ)
|
จำนวนเครื่อง
|
ห้อง 3302
|
20
|
ห้อง 3303
|
48
|
ห้อง 3305
|
34
|
ห้อง 3306
|
30
|
ห้อง 3401
|
50
|
ห้อง 3402
|
35
|
ห้อง 3408
|
15
|
รวม
|
232
|
และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีให้บริการ ณ อาคารพัชรกิติยาภา จำนวนทั้งสิ้น 190 เครื่อง (2.3 – 3 (6))
| |
✓ | 4 | มีการประเมินความพึงพอใจในเรื่องการดําเนินการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการประเมินความพึงพอใจในเรื่องการดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ดังนี้ มีการประเมินความพึงพอใจในเรื่องการดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยแบ่งการประเมินความพึงพอใจเป็นรายด้าน จำนวน 5 ด้าน (2.3 – 4 (1)) ดังนี้
- ด้านทรัพยากรและการเข้าถึงทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.57)
- ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.68)
- ด้านสถานที่ มีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.63)
- ด้านบริการ มีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.81)
- ด้านผู้ให้บริการ มีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.66)
- ด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ มีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.51)
| |
✓ | 5 | นําผลจากการประเมินมาดําเนินการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้นําผลจากการประเมินมาดำเนินการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ดังนี้ นำผลการประเมิน จากแบบสอบถาม 1) อยากให้มีกระถางต้นไม้ตรงบริเวณเสาเพื่อเกิดความสดชื่นมากยิ่งและเป็นที่ช่วยพักสายตาเวลาอ่านหนังสือนานๆ 2.) e journal nursing ควรมีเพิ่ม (2.3 – 5 (1) เข้าที่ประชุม คณะกรรมการบริหารสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (กบ.) ครั้งที่ 5/2565 ในวันพุธที่ 27 เมษายน 2565 เวลา 13.30 น. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรม Zoom Meeting ในการประชุม เพื่อรับทราบพิจารณาปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยในที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินการดังนี้ 1) มอบหมายแม่บ้านที่รับผิดชอบดูแลแต่ละชั้นจัดหาต้นไม้ประดับไว้ประจำตามจุดต่างๆ ได้แก่ หน้าลิฟท์ และตามเสา เพื่อเพิ่มบรรยากาศความผ่อนคลายให้แก่ผู้ใช้บริการ 2) มอบฝ่ายวิทยบริการและฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา สำรวจความต้องการทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ทุกคณะ เพื่อเตรียมจัดตั้งงบประมาณซื้อเพิ่มในปีงบประมาณ2566 (2.3 – 5 (2) ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับมอบหมายได้ดำเนินการดังนี้ 1) เพิ่มต้นไม้ประดับไปตามบริเวณชั้น 1 จำนวน 5 จุด บริเวณชั้น 2 เพิ่มต้นไม้ประดับ จำนวน 10 จุด และบริเวณชั้น 3 จำนวน 6 จุด (2.3 – 5 (3) มีการสำรวจทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน forms office 365 (2.3 – 5 (4) โดยเผยแพร่ฟอร์มสำหรับผ่านหน้าเพจ (facebook) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (2.3 – 5 (5)
ข้อเสนอแนะจากแบบสอบถาม
|
แนวทางการปรับปรุง
|
ผลการดำเนินงาน
|
ผู้รับผิดชอบ
|
1) อยากให้มีกระถางต้นไม้ตรงบริเวณเสาร์เพื่อเกิดความสดชื่นมากยิ่งและเป็นที่ช่วยพักสายตาเวลาอ่านหนังสือนานๆ
2.) e journal nursing ควรมีเพิ่ม
|
1) จัดหาต้นไม้ประดับไว้ประจำตามจุดต่างๆ ได้แก่ หน้าลิฟท์ และตามเสา เพื่อเพิ่มบรรยากาศความผ่อนคลายให้แก่ผู้ใช้บริการ
2) สำรวจความต้องการทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ทุกคณะ เพื่อเตรียมจัดตั้งงบประมาณซื้อเพิ่มในปีงบประมาณ2566
|
1) เพิ่มต้นไม้ประดับไปตามบริเวณชั้น 1 จำนวน 5 จุด บริเวณชั้น 2 เพิ่มต้นไม้ประดับ จำนวน 10 จุด และบริเวณชั้น 3 จำนวน 6 จุด
2) มีการสำรวจทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน forms office 365
|
1) แม่บ้านประจำชั้น 1,2,3
2) มอบฝ่ายวิทยบริการและฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
|
| |