ตัวบ่งชี้ที่ 1.8 ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พรศิริ วิรุณพันธ์ , ศิริกมล ประภาสพงษ์ , วิชุดา เติมสุข
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาชาติที่กำหนดให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม หลักสูตรจึงควรผลักดันให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรมโครงงานหรืองานวิจัยหรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม ที่กำหนดให้คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

จำนวนหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนหลักสูตรทั้งหมดในคณะ

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
หมายเหตุ

1. นวัตกรรมที่ชุมชนยอมรับโดยมีหลักฐานการใช้ประโยชน์จากชุมชน
2. ความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง นักศึกษามีการวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผล
3. นวัตกรรมดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในชุมชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

ผลการดำเนินงาน

   

     ผลการดำเนินการ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยทางคณะบริหารฯมีการประชุมและแบ่งกลุ่มทำงานให้อาจารย์แต่ละสาขาแบ่งไปเป็นที่ปรึกษาให้กับทุกกลุ่มเพื่อบูรณาการ กับการเรียนการสอนในรายวิชาทั้ง 8 สาขาวิชา โดยในแต่ละกลุ่มจะมีนักศึกษาแต่ละสาขาอยู่ในกลุ่มนั้นด้วย โครงการยุทธศาสตร์ฯ ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วม ในการทำกิจกรรมและนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนไปถ่ายทอดให้กับชุมชน  โครงการที่ได้รับทั้งหมด 10 โครงการ ซึ่งแต่ละโครงการจะมีสาขาหลักดูแลรับผิดชอบ ดังนี้

 

ชื่อโครงการ

สาขาวิชา

นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

โครงการส่งเสริมและพัฒนาตลาดออนไลน์-ออฟไลน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผักสดปลอดสารพิษชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง  บ้านคำเมย ตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

สาขาคอมพิวเตอร์ดิจิทัล

- นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ดิจิทัลเข้าไปร่วมสร้างช่องทางจำหน่ายทั้งการทำตลาดออนไลน์-ออฟไลน์ของกลุ่มชุมชนผักสดปลอดสารพิษ

โครงการพัฒนาอาชีพเสริมการเลี้ยงจึ้งหรีดโปรตีนเพื่อยกระดับรายได้ บ้านดูน ตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

สาขาคอมพิวเตอร์ดิจิทัล

- นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ดิจิทัลเข้าไปร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีดโดยทำน้ำพริก โปรตีนบาร์ และจิ้งหรีดอบแห้งรวมถึงเข้าร่วมพัฒนาการขายออนไลน์

โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยการผลิตของที่ระลึกชุมชนสบู่หอมแฟนซีเพื่อการท่องเที่ยวบ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

สาขาวิชาบัญชี

- นักศึกษาสาขาวิชาบัญชีเข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุมชนโดยทำสบู่หอมแฟนซี และมีส่วนถ่ายทอดการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุน

โครงการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูป ตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

 

สาขาคอมพิวเตอร์ดิจิทัล

- นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ดิจิทัลเข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูป รวมถึงเข้าร่วมพัฒนาการขายออนไลน์

โครงการส่งเสริมอาชีพการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นขนมทอดโบราณและน้ำพริกเพื่อเพิ่มมูลค่า (มันม่วงมันเหลือง เผือก มะพร้าว เห็ด) วัดบ้านแขว ตำบลห้วยใต้ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

สาขาวิชาบัญชี

- นักศึกษาสาขาวิชาบัญชีเข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมทอดโบราณและน้ำพริกและมีส่วนถ่ายทอดการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุน

โครงการยกระดับการเพิ่มมูลค่าก้อนเห็ดอินทรีย์สู่การตลาดยุคดิจิทัลแบบสมัยใหม่ บ้านหนองทุ่ม ตำบลศรีสำราญ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการ ค้าสมัยใหม่

- นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการ ค้าสมัยใหม่เข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกเห็ด ข้าวเกรียบเห็ด และเข้าร่วมการทำตลาดออนไลน์กับชุมชน

โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง ตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง

- นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลังเข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง กระเทียมโทนดองโซยุ และร่วมพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านออนไลน์

โครงการยกระดับและเพิ่มมูลค่าพริกของกลุ่มแปรรูปอาหาร ตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ การเงินการคลัง, สาขาการจัดการและสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมการ

- นักศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์ฯ ได้ร่วมถ่ายทอดการคำนวณต้นทุนการผลิต

- นักศึกษาการท่องเที่ยวและการโรงแรมได้มีส่วนถ่ายทอดองค์ความรู้ เช่น การแปรรูปพริกเป็นซอสพริก พริกกรอบ พริกแกงให้กับชุมชน

 - นักศึกษาสาขาการจัดการช่วยให้ความรู้การบริหารจัดการระบบการทำงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

โครงการส่งเสริมการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชะลอวัย (Anti-Aging) จากสารสกัดหอมแดงศรีสะเกษ วิสาหกิจชุมชนเกษตรแฟร์เทรดศรีสะเกษ ตำบลละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

สาขาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

- นักศึกษาสาขาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ การแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชะลอวัย (Anti-Aging) จากสารสกัดหอมแดง และร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานเพื่อส่งขายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โครงการแปรรูปสินค้าจากผ้าเบญจศรี ศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน บ้านโนนสว่าง ตำบลพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ

สาขาวิชาการตลาด

- นักศึกษาสาขาวิชาการตลาดเข้าร่วมพัฒนาการแปรรูปสินค้าจากผ้าเบญจศรี ศรีสะเกษ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายทั้งการขายออนไลน์ผ่านเพจผ้าแซ่ว          ศรีสะเกษฯ และร่วมทำศูนย์จำหน่ายสินค้าของชุมชน

 

          นอกจากนี้ทุกสาขาวิชาในคณะบริหารธุกิจและการบัญชีเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนและขยายผลวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อพัฒนา Soft Skills  นักศึกษาด้วยกระบวนการวิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัย

ชื่อโครงการ

สาขาวิชา

นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนและขยายผลวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อพัฒนา Soft Skills  นักศึกษาด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม

ตัวแทนทุกสาขาวิชาในคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

- ตัวแทนนักศึกษาทุกสาขาวิชาในคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี เข้าร่วมกระบวนการวิศวกรสังคมเพื่อศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ เชิงเหตุผล เห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย ให้เป็นนักคิดทักษะในการสื่อสารองค์ความรู้เพื่อการแก้ปัญหาให้เป็นนักสื่อสาร ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ระดมสรรพกำลัง ทรัพยากรเพื่อการแก้ปัญหาเป็นนักประสานงาน และมีทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม เป็นนักสร้างนวัตกรรมหลังจากนั้นนักศึกษาเข้าร่วมโครงการยุทธศาสตร์ฯ เพื่อเข้าร่วมสร้างและพัฒนานวัตกรรมให้กับชุมชนต่าง ๆ

 

          จากผลการดำเนินโครงการ พบว่า นักศึกษาการตลาดถ่ายทอดความรู้ด้านการทำตลาดออนไลน์และออนไซต์ เสนอแนะวิธีการขาย เช่น การโพสต์ขายในกลุ่มผ้าแซ่วศรีสะเกษฯ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล ได้มีส่วนสร้างเพจกลุ่มจิ้งหรีดโปรตีน กลุ่มผักสดปลอดสารพิษชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านคำเมย นักศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์ฯ ได้ร่วมถ่ายทอดการคำนวณต้นทุนการผลิต นักศึกษาการท่องเที่ยวและการโรงแรมได้มีส่วนถ่ายทอดองค์ความรู้ เช่น การแปรรูปพริกเป็นซอสพริก พริกกรอบให้กับชุมชน นักศึกษาสาขาการจัดการช่วยแนะนำการบริหารจัดการระบบการทำงานในชุมชน นักศึกษาการบัญชีได้มีส่วนถ่ายทอดการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนให้กลุ่มสบู่หอมแฟนซี และกลุ่มขนมทอดโบราณและน้ำพริก นักศึกษาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศมีส่วนช่วยเรื่องการทำสินค้าให้ได้มาตรฐานเพื่อจะสามารถส่งออกขายและนักศึกษาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ร่วมเสนอแนวคิดการขายน้ำพริกเห็ดและข้าวเกรียบเห็ดในร้านค้าปลีก

        นอกจากนี้โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนและขยายผลวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏ  ศรีสะเกษ เพื่อพัฒนา Soft Skills  นักศึกษาด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ซึ่งมีนักศึกษาทุกสาขาวิชาเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาทักษะนักการคิด นักแก้ปัญหา นักสื่อสาร และนักสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมในชุมชน

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
1.8 - (1)
1.8 - (2)
1.8 - (3)
1.8 - (4)
1.8 - (6)
1.8 - (7)
1.8 - (8)
1.8 - (9)
1.8 - (10)
1.8 - (11)
1.8 - (12)
1.8 - (13)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
10 5